แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องของไหล


แผนการจัดการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา

หน่วยการเรียน เรื่อง ของไหล

หน่วยย่อย เรื่อง ความหนาแน่น ความดัน แรงดัน เวลา 4 ชั่วโมง

และความหนาแน่นของของไหล

กฎของปาสกาลและเครื่องอัดไฮดรอลิก แรงลอยตัว

และหลักของอาร์คิมีดิส พลศาสตร์ของของไหล

1. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1. สืบค้น ทดลอง วิเคราะห์และอธิบายความหมายของความหนาแน่น ความหนาแน่นสัมพัทธ์

2. นำความรู้เกี่ยวกับความหนาแน่นไปหาความหนาแน่นของสารต่าง ๆ ได้

3. สืบค้น ทดลอง วิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความดันเกจและความดันสัมบูรณ์ กฏของพาสคัล ความดันที่เพิ่มขึ้นภายในภาชนะปิดจะมีค่าเท่ากันทุก ๆจุด อัตราส่วนระหว่างแรงกด

4. ยกตัวอย่างประโยชน์ของความดันไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้

5. สืบค้น ทดลอง วิเคราะห์และอธิบายแรงลอยตัว เมื่อวัตถุอยู่ในของเหลวจะมีแรงกระทาต่อวัตถุนั้นกี่แรง การลอยและการจมของวัตถุในของเหลว และกฎของอาร์คิมีดิส

6. นำความรู้เกี่ยวกับแรงลอยตัวไปใช้ในการอธิบายสิ่งต่างในการดาเนินชีวิตได้

7. สืบค้น และอธิบาย ลักษณะเส้นการไหล เส้นกระแส และหลอดการไหลได้

8. สืบค้น วิเคราะห์ และอธิบาย สมการความต่อเนื่อง และสมการแบร์นูญลีย์

2. กรอบความคิดหลัก

ของไหลมีรูปร่างไม่คงตัวขึ้นอยู่กับภาชนะที่บรรจุ และสามารถไหลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ ของไหลมีสองชนิด คือของไหลที่อัดได้ ( แก๊ส)และของไหลที่อัดไม่ได้ (ของเหลว)สมบัติของของไหลได้แก่ ความหนาแน่น ความดัน ความตึงผิวและความหนืด พฤติกรรมของของไหลทั้งที่อยู่นิ่งและเคลื่อนที่อธิบาย ได้ด้วยหลักและกฎทางฟิสิกส์

3. สาระการเรียนรู้

ศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ความหนาแน่น ความหนาแน่นสัมพัทธ์ ความดัน ในของเหลว แรงดันเฉลี่ยด้านข้าง ความดันเกจ ความดันสัมบูรณ์ กฏของพาสคัล แรงลอยตัว แรงกระทาต่อวัตถุในของเหลว การลอย การจมของวัตถุในของเหลว และกฎของอาร์คิมีดิส ความหนืด การเคลื่อนที่ของวัตถุในของเหลว และกฎของสโตกส์ ความตึงผิว ปรากฏการณ์ ที่เกี่ยวกับความตึงผิว พลศาสตร์ของของไหล สมการความต่อเนื่อง และสมการแบร์นุญลีย์

4. รายละเอียดของกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

กิจกรรม ความหนาแน่น

ทักษะการเรียนรู้ที่ใช้ : ฟังบรรยาย ทักษะกระบวนการกลุ่มโดยการอภิปราย ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการวัด ทักษะการสังเกต

โจทย์ปัญหา

กิจกรรมการเรียนรู้

1. ครูนำเข้าบทเรียนโดยการถามนักเรียน

2. ครูบรรยายความรู้เกี่ยวกับความหนาแน่นของของแข็ง ของเหลวและแก๊ส

3. แบ่งกลุ่มเพื่อทำการทดลอง และขั้นตอนและอุปกรณ์ดังนี้

3.1 หลอดทดลองโดยจะต้องสามารถรู้ปริมาณที่แน่นอนของหลอดได้ โดยมี 4 ระดับ เล็ก กลาง ใหญ่ และใหญ่ที่สุด

3.2 น้ำ

3.3 เครื่องช่างน้ำหนักแบบ 3 คาน

โดยมีขั้นตอนดังนี้

3.1 แบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 3 คน

3.2 ทำการวัดปริมาณของหลอดทดลองทั้ง 4 หลอดแล้วบันทึกผลลงในตาราง

3.3 เติมน้ำให้เต็มหลอดทดลองทั้ง 4 หลอด และนำไปวัดน้ำหนักด้วยเครื่องช่างแบบ 3 คาน จากนั้นบันทึกผลการวัดลงในตาราง

3.4 คำนวณค่าความหนาแน่นของหลอดทดลงแต่ละหลอด

3.5 พล็อตกราฟกำหนดให้แกนนอนคือขนาดของหลอดทดลอง และแกนตั้งคือมวล ปริมาณและความหนาแน่น จากนั้นนำกราฟทั้งสามมารวมกันเป็นกราฟเดียวกัน แล้วอภิปรายผล

4. ครูสรูปสิ่งที่ได้จากการทดลองอีกครั้ง

กิจกรรม ความดันในของเหลว

ทักษะการเรียนรู้ที่ใช้ : ฟังบรรยาย ทักษะกระบวนการกลุ่มโดยการอภิปราย ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการวัด ทักษะการสังเกต

โจทย์ปัญหา

กิจกรรมการเรียนรู้

1. ครูนำเข้าบทเรียนโดยการถามนักเรียน

2. ครูบรรยายความรู้เกี่ยวกับความดันและความดันในของเหลว

3. แบ่งกลุ่มเพื่อทำการทดลอง และขั้นตอนและอุปกรณ์ดังนี้

อุปกรณ์

1. แมนอมิเตอร์

2. น้ำ น้ำเกลือและกรีเซอรอล

3. กระบอกตวง

การทดลองตอนที่ 1

1. จุ่มหลอดแก้ววัดความดันของแมนอมิเตอร์ลงในกระบอกตวงที่มีน้ำ แล้วเลือนหลอดแก้วให้ระดับน้ำในหลอดแก้วมีความลัก h ต่างๆ แต่ละครั้งบันทึกความดัน นำข้อมูลมาพล๊อตกราฟระหว่างความดัน P และ ความลัก h ในของเหลว

2. อภิปรายผล

การทดลองตอนที่ 2

1. วัดความดันน้ำ น้ำเกลือและกลีเซอรอล ที่ระดับความลัก h เดียวกัน แต่ละครั้งลันทึกความดันแล้วนำข้อมูลมาพล๊อตกราฟระหว่างความดัน P และ ความหนาแน่น

2. อภิปรายผล

4. ครูสรูปสิ่งที่ได้จากการทดลองอีกครั้ง

กิจกรรม กฎของปาสคาลและเครื่องอัดไฮโดรลิก จำนวน 1 ชั่วโมง

ทักษะการเรียนรู้ที่ใช้ : ฟังบรรยาย ทักษะกระบวนการกลุ่มโดยการอภิปราย ทักษะการคิดวิเคราะห์

โจทย์ปัญหา

กิจกรรมการเรียนรู้

1. ครูนำนักเรียนเข้าสู่บทเรียนโดยการเปิด VDO เรื่องหลักการทำงานของระบบไฮดรอลิก

2. นักเรียนอภิปรายการใช้เครื่องอัดไฮดรอลิกที่มีใช้ทั่วไปในการดาเนินชีวิตจากกลุ่มที่แบ่ง

3. นักเรียนแสดงความรู้ ความเข้าใจ โดยการอธิบายหรือบ่งชี้ปรากฏการณ์ที่แสดงว่าเครื่องอัดไฮดรอลิกเป็นเครื่องกลที่ช่วยผ่อนแรงให้กับมนุษย์

4. ครูบรรยาย เรื่องกฏของปาสคาลและเครื่องอัดไฮดรอลิค

5. ครูแสดงการคิดคำนวณโจทย์เรื่องกฎของปาสคาล และมอบโจทย์เป็นการบ้านให้นักเรียน

กิจกรรม แรงลอยตัวและหลักของอาร์คิมิดิส จานวน 1 ชั่วโมง

ทักษะการเรียนรู้ที่ใช้ : ฟังบรรยายอภิปรายแสดงความคิดเห็น ทักษะการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหา ทักษะการสังเกตองค์ความรู้จากสถานการณ์จำลอง

กิจกรรมการเรียนรู้

1. การนำความรู้เกี่ยวกับแรงลอยตัวไปใช้ในการดำเนินชีวิตและช่วยกัน แสดงความคิดเห็นว่าเหตุใดวัตถุบางชนิดจึงลอยน้ำได้และวัตถุบางชนิดจึงจมน้ำวัตถุบางชนิดมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำแต่ลอยน้ำได้ ศึกษาตัวอย่างจากสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่น

2. ครูบรรยาย และแสดงการคิดคำนวณโจทย์เรื่องแรงลอยตัวและหลักของอาร์คิมิดิส

3. นักเรียนทำความเข้าใจตัวอย่างการคำนวณ แสดงความเข้าใจโดยการทำใบทดสอบเรื่องแรงลอยตัวและหลักของอาร์คิมิดิส และมอบโจทย์เป็นการบ้านให้นักเรียน

กิจกรรม พลศาสตร์ของไหล จำนวน 1 ชั่วโมง

ทักษะการเรียนรู้ที่ใช้ : ฟังบรรยายอภิปรายแสดงความคิดเห็น ทักษะการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหา

กิจกรรมการเรียนรู้

1. ครูบรรยาย และแสดงการคิดคำนวณโจทย์เรื่อง พลศาสตร์ของของไหล

2. นักเรียนทำความเข้าใจตัวอย่างการคำนวณ แสดงความเข้าใจโดยการทำใบทดสอบเรื่อง พลศาสตร์ของไหล

5. สื่อการเรียนรู้

1. VDO เรื่อง หลักการทำงานของระบบไฮดรอลิก

2. ชุดการสาธิตเรื่องแรงลอยตัวและหลักของอาร์คิมิดิส

3 หลอดทดลองโดยจะต้องสามารถรู้ปริมาณที่แน่นอนของหลอดได้ โดยมี 4 ระดับ เล็ก กลาง ใหญ่ และใหญ่ที่สุด

4. น้ำ

5. เครื่องช่างน้ำหนักแบบ 3 คาน

6. แมนอมิเตอร์

7. น้ำ น้ำเกลือและกรีเซอรอล

8. กระบอกตวง

6. กระประเมินผล

กิจกรรม/พฤติกรรม/ ผลงานที่ต้องการประเมิน วิธีการ เครื่องมือ
1. ความรับผิดชอบ สนใจใฝ่รู้ ความซื่อสัตย์ การสังเกต แบบสังเกตพฤติกรรม
2. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และให้ความร่วมมือกับกลุ่ม การสังเกต แบบสังเกตพฤติกรรม
3. การปฏิบัติกิจกรรม การสังเกต แบบสังเกตพฤติกรรม
4. ผลงาน การตรวจผลงาน แบบบันทึกการตรวจผลงาน

7. สรุปผลการสอน

1)ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนและศักยภาพที่พัฒนาแล้ว

........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

2)การประเมินผลการสอนของตนเอง

จุดเด่น คือ..........................................................................................................................

..........................................................................................................................................

จุดด้อย คือ........................................................................................................................

..........................................................................................................................................

ควรปรับปรุงชั้น............คือ..............................................................................................

........................................................................................................................................

ลงชื่อ..............................................................

( …………………………. )

ครูผู้สอน และบันทึก

คำสำคัญ (Tags): #ของไหล
หมายเลขบันทึก: 579424เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2014 13:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2014 13:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท