บันทึกฝึกงานเรื่อง... " อีกครั้งหนึ่ง ตอนที่ 1 กว่าเราจะพบกัน "


ในการฝึกงานต่างจังหวัดรอบแรกของนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่3 ช่วงปิดเทอมฤดูร้อนสุดแสนหรรษาหลังเทศกาลสงกาานต์ที่ผ่านมานักศึกษาฝึกงานนามว่า ปพิชญา หรือ เบล นั่นเองคะ ได้เดินทางไปยังดินแดนล้านนาเพื่อหาประสบการณ์การในการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวช (ซึ่งผู้รับบริการจริงๆก็มีหลายประเภทนะคะ ตั้งแต่ผู้รับบริการเด็กและวัยรุ่น ผู้รับบริการที่มีความผิดปกติทางกาย ผู้รับบริการจิตเวช ผู้รับบริการวัยชราและชุมชน) ที่นี่เป็นรพ.จิตเวชค่อนข้างใหญ่ สำคัญและมีผู้ป่วยเยอะมากๆในภาคเหนือ ฟังดูแล้วต้องทั้งสนุกและได้อะไรเยอะแน่ๆเลยคะ

สัปดาห์แรกเป็นการสังเกตุการณ์ทั้งการประเมินความสามารถเบื้องต้นของผู้ป่วย การบำบัดโดยใช้กิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมเดี่ยวเฉพาะบุคคล กิจกรรมนันทนาการ หรือแม้แต่ค่ายส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ซึ่งเบลก็ได้รับประสบการณ์สำหรับสัปดาห์แรกมากมายเลยคะ ได้รู้ขั้นตอนการรับ บำบัดรักษา ตลอดจนส่งไปรักษาต่อหรือถ้าดีขึ้นก็ส่งคนไข้กลับบ้านเลย เทคนิคการทำกิจกรรมกลุ่มจริงๆ ได้พบเจอลักษณะอาการของผู้ป่วยที่อาการหนักๆมากๆจริงๆ ทราบผลกระทบการรักษาโดยการกระตุ้นไฟฟ้า อีกทั้งการเริ่มต้นมีปฏิสัมพันธ์เข้าไปพูดคุยกับเด็กน้อยแต่ละคน การปรับพฤติกรรม การนำกลุ่มเด็กๆเล่นกิจกรรมเพื่อกระตุ้นพัฒนาการ ได้เป็นครูเบลของน้องๆ ทั้งสนุก ได้ฝึกทักษะ แล้วยังได้มิตรภาพดีๆจากน้องๆอีกด้วย ถึงจะยังไม่ได้ลงมือช่วยพี่ๆรักษาแต่ก็ถือว่าทั้งสนุกสนานและอะไรเยอะแยะมากเลยทีเดียว แถมมีผู้ปกครองถามมาด้วยนะคะว่า

“ …ค่ายสนุกดีครับได้อะไรเยอะเลย เด็กๆอยากมาอีก จะจัดอีกไหม? เมื่อไหร่? บอกได้เลยนะครับ " แหม อย่างนี้ทั้งพี่ๆนักกิจกรรมบำบัดและครูเบลก็ปลื้มแย่เลยสิคะ

หลังจากสัปดาห์แรกผ่านไป เข้าสู่สัปดาห์ที่2 พี่ๆก็เริ่มให้ทำตารางงาน ร่างรูปแบบกิจกรรมในหนึ่งอาทิตย์กันเองเลยคะ และแล้วสิ่งสำคัญก็มาถึง “อาทิตย์นี้หนูเริ่มประเมินเลยน้า แล้วเดี๋ยวมาลองเลิกเคสกัน" อ่อ...CASE STUDY ห้ะ!!! ตั้งแต่อาทิตย์นี้เลยหรอคะพี่ การทำกรณีศึกษาต้องเลือกอย่างดีเลยนะคะ ทั้งการประเมินความสามารถ บำบัดรักษา การให้คำแนะนำแก่ผู้ดูแลที่บ้าน ตลอดจนการประเมินซ้ำสำคัญมากๆต้องคิดวิเคราะห์ ทำอย่างละเอียดเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดกับผู้ป่วยและเพื่อความสวยงามของเกรดเทอมนี้

(ซึ่งหน่วยกิจค่อนข้างหนักมากๆเลยคะ เพราะเป็นการนำทักษะที่เรียนมาใช้จริงๆ และใช้ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยต่อไป)

สัปดาห์แห่งการประเมินเบลประเมินผู้ป่วยได้ประมาณ 4-5 รายในช่วงเช้าของสัปดาห์นี้ มีทั้งการประเมินการทำกิจวัตรประจำวัน ความคิดความเข้าใจ ประเมินความสนใจ ประเมินความซึมเศร้า แต่ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่เข้ามาเพื่อปรับยาเข้ามาไม่นานก็อาการดีและกลับบ้านได้ หรือมีอาการทางจิตกำเริบไม่สามารถรับการรักษาทางกิจกรรมบำบัดได้จึงต้องเปลี่ยนเคสกันวุ่นวายเลย และสุดท้ายเราก็ได้เจอกับพี่บ๊วย(นามสมมุตินะคะ)กรณีศึกษาจริงๆของเบล

พี่บ๊วย เป็นหญิงชาวไทยเชื้อสายจีนที่เป็นคนเมือง(คนเหนือนั่นเอง)อายุราวๆ 50 ปีเป็นคุณแม่เบลได้แล้วคะเนี่ย อาศัยกับน้องสาวและน้องเขยที่บ้าน ไม่ค่อยได้ทำอะไรเลยทำแค่พับผ้าและเล่นกับแมว พี่บ๊วยมีอาการโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ OBSESSIVE-COMPUSSIVE DISORDER โดยจะทำขั้นตอนเดิมซ้ำๆ ขาดความมั่นใจ กังวล ในบางรายถามซ้ำๆ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าควรทำอะไรต่อ ส่วนรายพี่บ๊วยนี่ ละเลยการทำกิจวัตรประจำวันจำพวกการอาบน้ำ ทานข้าวไปเลย อาบน้ำอาทิตย์ละครั้ง ทานข้าววันละหน อย่างนี้น้ำหนักก็ลดห้วบเลยสิคะ ไม่ได้เข้ารับการรักษาที่นี่มาหลายรอบแล้ว อาการก็เริ่มจะคงที่ ประกอบกับที่บ้านเปิดบริษัททัวร์ ทำธุรกิจท่องเที่ยว ถ้าอาการไม่ดีแล้วไม่มีคนดูแลก็มักจะพากลับมาโรงพยาบาล ซึ่งถือว่าดีกว่าปล่อยพี่บ๊วยไว้คนเดียวแน่นอน เริ่มต้นด้วยประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต พวกอาบน้ำ แปรงฟัน กินข้าวกันก่อนเลยคะ ตามคาด โล่งเลยแทบไม่ได้ทำ ไม่เหมาะสมกับสุขอนามัยเบื้องต้นด้วย ตามมาด้วยการประเมินความคิดความเข้าใจ ทำขั้นตอนที่ซับซ้อนๆได้ตั้ง 5-7 ขั้นตอนความสามารถไม่ธรรมดาเลยนะคะ เอ๊...แล้วอะไรที่ขวางการดูแลตนเองของพี่บ๊วยกันแน่ ติดตามต่อตอนหน้านะคะ

ll BelL`★ ll

หมายเลขบันทึก: 579352เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2014 21:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2014 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท