วิธีเลือกหลอดไฟ__ ป้องกันตาเสื่อม+แมลงเฟรชชี่


ภาพ__ วัด (มันดีนร์) BAPS ศรี สวามีนารายัน, แอตแลนตา สหรัฐฯ

ภาพ__ ไฟเน้นงานศิลป์ พิพิธภัณฑ์วอร์ซอร์ โปแลนด์

 

ภาพ__ ไฟประดับคริสมาสต์ เมืองไฟเบิร์ก (Viborg, ออกเสียงตาม Google Translate), เดนมาร์ก

โปรดดูทางขวา... จะเห็นว่า ชาวเดนมาร์กนิยมใช้จักรยานกันมาก

 

ภาพ__ โบสถ์ลูมินารี เดอ กองหญ่า (ออกเสียงตาม Google Translate), เมืองเกนต์ เบลเยียม ปี 2555

.

ภาพ__ ถนนในฮอลลีวูด แคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ

  • ภาพซ้ายใช้หลอดไฟแบบเก่า สีออกเหลืองๆ
  • ภาพขวาใช้หลอดไฟแบบ LED สีขาว

 

ภาพ__ หลอด LED ที่ให้แสงสีขาวมากขึ้น ประหยัดไฟมากขึ้น เมื่อเทียบกับหลอดรุ่นเก่า

แม่สีแสง มี 3 สีหลัก (RBG = red, blue, green) ได้แก่

  • R = red = แดง
  • B = blue = ฟ้า น้ำเงิน
  • G = green = เขียว

.

แสง 3 สีหลัก (RGB) รวมกัน จะได้แสงสีขาว (W = white)

ถ้ารวมกัน 2 สี จะได้แสงสีรวม หรือสีผสม = CYM ดังนี้ 

  • Blue + Green = C / Cyan = ฟ้าเขียว (สีคล้ายน้ำทะเล)
  • Green + Red = Y / Yellow = เหลือง
  • Red + Blue = M / Magenta = ม่วงแดง

นักวิทยาศาสตร์ ทำ หลอด LED สีแดง กับเขียว ได้ก่อน

2 สีนี้ รวมกันเป็นสีเหลือง 

หลอด LED สีน้ำเงิน ทำได้ช้ากว่านั้นมาก 

ทำให้คนรุ่นเก่า เห็นแสงจากหลอด LED เพียง 3 สีได้แก่

  • สีแดง = Red
  • สีเขียว = Green
  • สีเหลือง = Red + Green = Yellow 

.

การค้นพบหลอดไฟ LED สีน้ำเงิน ทำให้รวมแสงสีทั้ง 3 = ได้สีขาว เป็นครั้งแรก

และ... วิศวกรชาวญี่ปุ่น ผู้ค้นพบ-ประดิษฐ์ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์

นิตยสาร "ป๊อปซายส์ (Popular Science / วิทยาศาสตร์ทั่วไป ยอดนิยม) ตีพิมพ์เรื่อง 'LED ดึงดูดแมลง', ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

คำ 'popular / พ็อพพูล่า / ป๊อบ' = ยอดนิยม

.

เพลงป๊อบ = เพลงยอดนิยม

วิธีจำศัพท์ใหม่ คือ ให้โยงกับ เรื่องเก่าที่ประทับใจ

  • เช่น 'popular / พ็อพพูล่า' ไม่ใช่ "ผีปอบ"
  • เช่น 'PopSci / พ็อพซาย' ไม่ใช่ "วิทย์ผีปอบ"

.

วิธีทำหลอด LED สีขาวตอนนี้ มี 2 วิธีได้แก่

(1). ใช้  LED หลายสีมาผสมกัน = R + G + B =  แดง_เขียว_น้ำเงิน

(2). ใช้ LED สีฟ้า (B) มาทาสารเรืองแสงสีเหลือง (yellow phosphor) ให้คายแสงสีเหลือง (Y = R + G) + ไม่ทาสารเรืองแสง ซึ่งจะให้แสงสีน้ำเงิน (B)

แสงสีเหลือง (R + G) + สีน้ำเงิน (B) รวมกัน = สีขาว (W = R + G + B)

ตาของแมลง ส่วนใหญ่ จะไวต่อแสงสีน้ำเงิน (B) มากกว่าตาคน

ทำให้ตาคนเรา เห็นแสงสีขาว กับสีเหลือง สว่างใกล้เคียงกัน

ตาแมลง ไวต่อแสงสีน้ำเงิน

เห็นสีน้ำเงิน "จ้า" หรือสว่าง มากกว่าที่ตาคนมองเห็น

.

การเปลี่ยนไฟถนน หรือไฟบ้าน

จากไฟสีเหลืองๆ เป็นสีขาว

ทำให้แมลงเห็นไฟสว่างขึ้นมาก

ล่อแมลงเข้าไปมากขึ้น

.

แสงไฟ... ยิ่งขาวมาก

ยิ่งมีสัดส่วนแสงสีน้ำเงิน มาก (มากกว่าแสงสีเหลือง)

การศึกษาใหม่ ทำโดยการเปรียบเทียบหลอดไฟส่องถนนแบบ LED สีขาว

กับหลอดไอโซเดียม (sodium vapor lamps) สีเหลือง (ที่มีความสว่างเท่ากัน)

พบว่า แมลง "บินเข้าหากองไฟ" แบบหลอดสีขาว มากกว่าหลอดสีเหลือง ถึง 48%

ผู้เชี่ยวชาญ สันนิษฐานว่า การใช้หลอดที่มีแสงสีขาว (daylight) ในเมืองมากขึ้น

จะทำให้แมลงบินแบบ "แมงเม่าเข้ากองไฟ"

หรือ บิน เข้าเมือง + เข้าบ้านมากขึ้น

.

อาจ ทำให้โรคติดเชื้อ ที่มีแมลงเป็นพาหะ หรือศัตรูพืช

เช่น ผีเสื้อกลางคืน (moth) ฯลฯ เข้าเมือง มากขึ้น

แมลงที่รบกวนคน เช่น แมลงเฟรชชี่ หรือแมลงก้นกระดก ฯลฯ อาจพบบ่อยขึ้นเช่นกัน

แมลงชนิดนี้ มีของเหลวที่มีฤทธิ์ ระคายเคือง ทำให้เกิดอาการแสบร้อน เจ็บ คัน รวมกัน

ภาพ__ แมลงเฟรชชี่ หรือแมลงก้นกระดก (งอนขึ้น)

แมลงนี้ชอบมุดมุ้ง หรือมุ้งลวด

ตัวก็เล็ก (เทียบกับเหรียญทางขวามือบน)

ชื่อ "เฟรชชี่ (freshy)" มาจาก แมลงนี้พบบ่อยช่วงเปิดเทอมฝรั่ง

.

ช่วงเปิดเทอม เป็นช่วงที่ "เฟรชชี่" ย้ายของเข้าหอพัก

"เฟรชชี่" = นักศึกษามหาวิทยาลัยปี 1

fresh / เฟรช = ใหม่ สด เสมอ

ช่วงนักศึกษาปี 1 เข้าหอพัก มักจะมีแมลงเฟรชชี่ เข้าหอบ่อยเช่นกัน

น้ำในตัวแมลง (paederin / สารพีเดริน) จะทำให้ผิวหนัง

บวม แดง ร้อน แสบ เจ็บ คัน... รวมกัน

รอยโรค มักจะเป็นเส้นตรง ตามแนวการเกา

ถ้าขยี้ตา, เปลือกตา ก็จะอักเสบได้ เช่นกัน

.

หลอดที่มีแสงสีขาวมาก (แสงสีน้ำเงินมาก), ล่อแมลงมาก คือ 

(1). LED = แอลอีดี สีขาว

จอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต รุ่นใหม่ๆ นิยมใช้จอ LED เช่นกัน

(2). fluorescent =  หลอดฟลูออเรสเซนท์ หรือที่คนไทยเรียกว่า "หลอดนีออน"

.

หลอด LED สีขาว ทำได้ 2 วิธี คือ

(1). ใช้ไฟ 3 สีผสมกัน = RGB

(2). ใช้ LED สีน้ำเงิน + LED สีน้ำเงินที่ทาสารเรืองแสงสีเหลือง (yellow phosphor) ไว้รอบๆ

แสงสีน้ำเงิน (B) + สีเหลือง  (ํY = G+B) =  สีขาว (W = RGB)

.

การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า 

การได้รับแสงสีน้ำเงินขนาดสูงตอนกลางคืน ไม่ค่อยดีกับสุขภาพหลายอย่าง

.

วิธีที่น่าจะลดอันตรายจากแสงสีน้ำเงิน คือ

(1). ใช้หลอดสีเหลือง แทนสีขาว (LED หรือนีออน) สำหรับไฟกลางคืน

ถ้าใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ในบ้าน 

กลางวัน เลือกใช้หลอดที่สีออกไปทางขาว

.

เช่น เดย์ไลท์ (daylight) = สีใกล้เคียงแสงแดด

กลางคืน เลือกใช้หลอดที่มีสีออกไปทางเหลือง เช่น

  • คูลไวท์ (cool white) = สีขาวเย็นตา (เจือเหลือง แดง จางๆ)
  • วอร์มไวท์ (warm white) = สีขาว ปนเหลือง

.

(2). ไม่เปิดไฟจ้า ตอนกลางคืน

แสงจ้ากลางคืน ทำให้นาฬิกาชีวิต สับสน ตีรวน

เวลากลางวัน อาจจะสลับกับกลางคืน เช่น

  • กลางวัน ง่วง เหงา ซึม เซา
  • กลางคืน นอนหลับยาก ตื่นง่าย ฝันร้าย

.

วิธีที่ดี คือ

  • ตื่นขึ้นมา ล้างมือด้วยสบู่ บ้วนปาก ดื่มน้ำ 
  • เช้าๆ ออกไปนอกบ้าน เดินเล่นกลางแจ้ง รับแสงแดดอ่อน
  • ตอนค่ำ ให้ออกไปนอกบ้าน เดินเล่นกลางแจ้ง อีกรอบ
  • กลางคืน ไม่เปิดไฟจ้า

เพื่อตั้งเวลา นาฬิกาชีวิต ให้ตรงเวลาใหม่ ทุกวัน (reset)

.

(3). ไม่เปิดไฟใกล้ตัว

ยิ่งใกล้... ยิ่งล่อแมลงมาใกล้ตัวเรา

(4). ไม่เปิดไฟนอน + จัดห้องนอน ให้มีแสงรบกวนน้อยที่สุดตอนนอน

.

(5). ถ้าใช้คอมพิวเตอร์กลางคืน... น่าจะปรับสีจอ

  • ลด ความจ้า
  • ลด แสงสีน้ำเงิน (B) ให้น้อยลง

.

(5). อย่าลืม... พักสายตา อย่างน้อยทุกๆ 1/2-1 ชั่วโมง/ครั้ง

  • ให้ลุกขึ้นยืนสลับนั่ง หรือเดินไปมา
  • มองไปไกลๆ หลายๆ ทิศทาง ช้าๆ
  • หลับตา เป็นพักๆ

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

From PopSci > http://www.popsci.com/article/technology/who-loves-led-lights-nobel-committee-and-flying-insects?dom=PSC&loc=recent&lnk=3&con=who-loves-led-lights-the-nobel-committee-and-flying-insects

From Wikipedia > http://en.wikipedia.org/wiki/Light-emitting_diode

From Wikipedia > http://en.wikipedia.org/wiki/Paederus_dermatitis

หมายเลขบันทึก: 579244เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2014 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ตุลาคม 2014 12:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท