การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 1

เรื่อง การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

นางสาวณัฐฏ์พัชรสร สมบัติ รหัสนักศึกษา 57D0103107 ระดับปริญญาโท ภาคพิเศษสาขา หลักสูตรและการสอน หมู่เรียนที่ 1

1.ความรู้ความเข้าใจที่ได้หลังจากได้รับการศึกษา

สังคมแห่งการเรียนรู้ ความหมายถึง สังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา ตระหนักถึงความสำคัญ ความจำเป็นของการเรียนรู้ที่ทุกคนและทุกส่วนในสังคมมีความใฝ่รู้และพร้อมที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นและมีความต่อเนื่องเป็นปกติวิสัยในชีวิตประจำวันของคนทุกคน ไปจนตลอดการสิ้นอายุขัย เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ในทุกเวลา ทุกสถานที่ ของคนทุกคนในทุกสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ความสำคัญของสังคมแห่งการเรียนรู้

คนจะพัฒนาตนเองได้ต้องแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ถ้ามีแหล่งความรู้ให้ศึกษาค้นคว้ามีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งทอดความรู้ มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้เข้าถึงความรู้และคนรู้จักวิธีแสวงหาความรู้ยิ่งสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้มากขึ้น เมื่อเรียนรู้ได้มากขึ้นก็สามารถสร้างความรู้ใหม่ได้มากขึ้น เมื่อนำมาบูรณาการระหว่างความรู้เก่ากับความรู้ใหม่ก็จะเกิดความรู้ใหม่ขึ้นมาอีก สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น เป็นวงจรที่ต่อเนื่องไม่สิ้นสุดที่เรียกว่า "วงจรแห่งการเรียนรู้"

องค์ประกอบที่สำคัญของสังคมแห่งการเรียนรู้

บุคคลแห่งการเรียนรู้

1.ตระหนักถึงความสำคัญ ความจำเป็นของการเรียนรู้

2.มีทักษะและกระบวนการในการคิด การวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา

3.มีความใฝ่รู้สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วย ตนเองและสามารถใช้ความรู้ได้อย่าง

ถูกต้อง เหมาะสม

4.มีโอกาสและสามารถเลือกที่จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดช่วงอายุแต่ละวัย ด้วยรูปแบบที่

หลากหลาย ยืดหยุ่นและมีคุณภาพตามความต้องการ ความสนใจและความถนัด

แหล่งการเรียนรู้

1.มีแหล่งเรียนรู้อย่างเพียงพอ หลากหลาย ทั่วถึง

2.มีระบบข้อมูล สารสนเทศ แหล่งการเรียนรู้ทุกประเภท

3.มีการจัดระบบเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งการเรียนรู้

4.มีการพัฒนาทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีอยู่ในสังคมให้เป็นแหล่งการเรียนรู้

5.องค์ความรู้

6.มีระบบการจัดหาและรวบรวมความรู้

7.มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดเก็บและค้นคว้าองค์ความรู้ได้อย่างรวดเร็ว

8.มีการสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก

9.และบริบทของสังคมไทย

10.มีการสร้างองค์ความรู้หรือเนื้อหาการเรียนรู้ที่สอดคล้องเหมาะสมกับศักยภาพและความ

11.ต้องการการเรียนรู้ของบุคคลกลุ่มหรือชุมชน

12.การจัดการความรู้

13.พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย

14.พัฒนาบุคคล องค์กร ผู้ดำเนินงานในการจัดการความรู้

15.พัฒนากลไก กระบวนการถ่ายทอดความรู้

16.การสร้างบรรยากาศเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้

17.มีการบูรณาการใช้ความรู้เป็นฐานในการแก้ปัญหาและการพัฒนาที่เหมาะสมกับสภาพของชุมชน

สังคมแห่งการเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการทางสังคมที่เกื้อหนุน ส่งเสริมให้บุคคล และสมาชิกในชุมชน สังคม ให้เกิดการเรียนรู้โดยผ่านทางสื่อ เทคโนโลยี สารสนเทศแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ จนสามารถสร้างความรู้ ทักษะ ระบบการจัดการความรู้และระบบการเรียนรู้ที่ดี มีการถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันทุกภาคส่วนในสังคมทำให้เกิดพลังสร้างสรรค์ และเกิดภูมิปัญญา ตระหนักถึงความสำคัญ ความจำเป็นของการเรียนรู้ที่ทุกคนและทุกส่วนในสังคมมีความใฝ่รู้และพร้อมที่ จะเรียนรู้อยู่เสมอตลอดชีวิตจนสิ้นอายุขัย เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ในทุกเวลา ทุกสถานที่ ของคนทุกคนในทุกสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เป็นการเรียนรู้เพื่อให้บุคคลในสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้าน อารมณ์ สังคม และสติปัญญาไปในทางที่ดีขึ้น

2.สะท้อนแง่คิดที่ได้หลังจากการเรียน

เราจะใช้ความรู้ไปพัฒนาสังคมการเรียนรู้ได้อย่างไร

การพัฒนาตนเองได้ต้องแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ถ้ามีแหล่งความรู้ให้ศึกษาค้นคว้ามีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งทอดความ รู้ มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้เข้าถึงความรู้และคนรู้จักวิธีแสวงหาความรู้ ยิ่งสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้มากขึ้น เมื่อเรียนรู้ได้มากขึ้น ก็สามารถสร้างความรู้ใหม่ได้มากขึ้น เมื่อนำมาบูรณาการระหว่างความรู้เก่ากับความรู้ใหม่ก็จะเกิดความรู้ใหม่ขึ้น มาอีก สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น เป็นวงจรที่ต่อเนื่องไม่สิ้นสุดที่เรียกว่า "วงจรแห่งการเรียนรู้"

สังคมในโลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว วิทยาการต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าไปอย่าง ไม่หยุดยั้ง การจัดการศึกษาในยุคปัจจุบันจึงต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยจะต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียน ให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คือ

1.เพื่อให้เป็นผู้สามารถพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลา ไม่ใช่เป็นเพียงบุคคลที่มีความรู้ หรือ สามารถจำข้อมูล ความรู้ได้เท่านั้น

2. เพื่อฝึกให้ผู้เรียนมีนิสัยใฝ่หาความรู้ รักที่จะเพิ่มพูนความรู้ ทักษะและเจตคติของตน รักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต

3. รู้จักปรับตนไปตามกระแสต่าง ๆ ในโลกซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา

4. เพื่อให้เป็นผู้เรียนเป็นผู้หมั่นแสวงหา หมั่นเรียน หมั่นรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ อยู่เสมอ

3.บรรยากาศในการเรียน

ประทับใจในวิธีถ่ายทอดความรู้ของอาจารย์ผู้สอนที่เข้าใจง่าย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ บอกวิธีคิดของแต่ละคนซึ่งมีหลากหลายแนวทางเป็นการสะท้อนความคิด สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประโยชน์ยิ่งขึ้น


หมายเลขบันทึก: 578672เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2014 00:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ตุลาคม 2014 00:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท