กิจกรรมทำโรงเรียนให้เป็นปัจจุบัน


และเมื่อผู้ปกครองในชุมชน ผู้ซึ่งมีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นลูกค้าที่ใกล้ชิด เห็นโรงเรียนของลูกหลานเขา น่าอยู่น่าเรียนน่ามองอยู่เสมอ แม้เป็นช่วงปิดเทอม ความศรัทธาโรงเรียนและบุคลากรจะตามมา เป็นที่ไว้วางใจ ผ่านไปผ่านมาเป็นหูเป็นตาให้ เป็นภูมิคุ้มกันโรงเรียนได้เป็นอย่างดี

            ครั้งหนึ่งสมัยหนึ่ง มีโครงการทางการศึกษา ที่ว่าด้วยการทำโรงเรียนให้เป็นปัจจุบัน ผู้เขียนชอบคำนี้ พอมีโอกาสเปลี่ยนสายงานจากงานสำนักงานฯลงมาสู่โรงเรียน ก็เลยดื่มด่ำกับภารกิจที่ชอบสะสางและพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมให้สะอาด สวยงาม ร่มรื่น น่าอยู่น่ามองอยู่ตลอดเวลา ให้มีความต่อเนื่องอยู่เสมอ

             การทำโรงเรียนให้เป็นปัจจุบัน ที่เป็นนโยบายภาครัฐสมัยนั้น ลงทุนสูงมาก หนักไปในทางซ่อมสร้างอาคารเรียนและทาสี ซึ่งถ้าไม่คำนึงถึงงบประมาณมหาศาลที่ช่วยกระจายรายได้แล้ว ก็คงมองได้ถึงส่วนดี ที่ทำให้โรงเรียนสดใสมาถึงทุกวันนี้

            แต่การทำโรงเรียนให้เป็นปัจจุบัน อาจไม่ต้องใช้เงินมากมายนัก  โดยบุคลากรทางการศึกษา ทั้งผู้บริหาร คณะครู ลูกจ้างประจำ และนักเรียน วางแผนบริหารจัดการใช้ประโยชน์ในสิ่งที่มีอยู่ให้คุ้มค่า บำรุงรักษาและซ่อมแซมตามสมควร ยึดหลักความพอประมาณที่สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทโรงเรียน

            ผู้เขียน..มองความเป็นปัจจุบันของโรงเรียน ที่แหล่งเรียนรู้ตามหลักสูตร จะต้องพร้อมใช้ปฏิบัติการ ข้อมูลป้ายนิเทศทันสมัยใหม่เสมอ รวมทั้งต้นไม้ใบหญ้า ได้รับการดูแลรักษา ปรับปรุงตกแต่งให้สะอาด สบายตา สวยสดใส แต่ไม่ใช่มืดครึ้มหรืออึมครึม

            เคยได้ยินบางคน ให้ความเห็น เกี่ยวกับเรื่องนี้ ประมาณว่า โรงเรียนเล็กๆ ภารโรงก็ไม่มี จะไปอะไรกันมากมาย บ้างก็ว่าจะปิดเทอมแล้ว ปล่อยไปก่อนเถอะ เปิดภาคเรียนค่อยว่ากันใหม่

            ผู้เขียนกลับคิดว่า ช่วงเวลานี้แหละดีที่สุด ที่จะพัฒนาสิ่งแวดล้อมรอบด้าน เพื่อต้อนรับการมาเยือนของการปิดภาคเรียนที่ ๑  ลองคิดดูก็ได้ จริงอยู่..ที่ปิดภาคเรียน ไม่มีเจ้านายมานิเทศกำกับติดตามงานโครงการ ไม่มีใครในเขตพื่นที่มาตรวจเยี่ยม แต่อย่าลืมนะครับ สิ่งที่สำคัญที่สุด โรงเรียนเป็นสถานที่ราชการ และครูก็เป็นข้าราชการ ที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบในองค์กรอย่างมีศักดิ์ศรีและจรรยาบรรณ ได้มีโอกาสพัฒนาตน พัฒนางานและครอบครัวได้ ก็เพราะมีโรงเรียน ขณะเดียวกัน ครูต้องอยู่เวรยาม ดังนั้น การทำให้โรงเรียนให้เป็นปัจจุบัน สะอาด ร่มรื่น สวยงามและปลอดภัย คนที่สัมผัสและมีความสุขได้โดยตรง..ก็คือครู

            และเมื่อผู้ปกครองในชุมชน ผู้ซึ่งมีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นลูกค้าที่ใกล้ชิด เห็นโรงเรียนของลูกหลานเขา น่าอยู่น่าเรียนน่ามองอยู่เสมอ แม้เป็นช่วงปิดเทอม ความศรัทธาโรงเรียนและบุคลากรจะตามมา เป็นที่ไว้วางใจ ผ่านไปผ่านมาเป็นหูเป็นตาให้ เป็นภูมิคุ้มกันโรงเรียนได้เป็นอย่างดี

             ดังนั้น..หากเป็นไปได้.ผู้เขียนจึงคิดว่า..ผู้บริหารระดับสูงหรือผู้นำทางการศึกษา ก็น่าจะลองเปลี่ยนแนวคิดใหม่ มีห้องเรียนกลับทางได้ ก็ควรมีการบริหารที่ปรับเปลี่ยนไปบ้าง ไม่นิเทศกำกับติดตามแบบนั่งเทียนหรือฟังแต่ลิ้วล้อรอบข้าง ปรารถนาที่จะเห็นของจริง เชิงประจักษ์  ของบุคลากรและองค์กรในสังกัด ก็ลองลงไปดูที่โรงเรียนช่วงปิดเทอม อย่าไปจับผิด แต่ไปเยี่ยมเยือนครูเวร ไปบันทึกข้อมูลเพื่อถอดบทเรียนเพื่อเป็นข้อมูลในเชิงบริหารการจัดการในปีงบประมาณต่อไป

            อาจต้องทำใจบ้าง เพราะวัฒนธรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลง ณ วันนี้ ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ จึงมีให้เห็นภาพโรงเรียนบางแห่ง..ช่วงปิดภาคเรียน เงียบเหงาวังเวงและอื่นๆอีกมากมาย...... และอาจเป็นเช่นนี้ ๒ ครั้ง ตุลาคมและเมษายน ของปีการศึกษา

           สำหรับผู้เขียนแล้ว..ถือว่าการทำโรงเรียนให้เป็นปัจจุบัน เป็นมากกว่างาน ช่วยสืบสานวัฒนธรรมในองค์กร ช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบา และเป็นที่ที่แสวงหาความสุขได้ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่เป็นเหมือนวิมาน...ที่ทำงาน ก็เป็นสวรรค์บนดินที่ดีแห่งหนึ่ง..นั่นเอง

 

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๔ ตุลาคม ๒๕๕๗

                   

                                     

                                                  

หมายเลขบันทึก: 578138เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2014 14:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2014 14:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มาชื่นชม ผอ.ต้นแบบค่ะ

มีน้ำว่านหางจระเข้ จากยุวเกษตรกรบ้านอู่ตะเภา มาฝากจ้ะ....

นี่แหละปัจจุบันแน่แท้ละ....

ชอบใจการที่ทำให้โรงเรียนเป็นปัจจุบันครับ

มีความสุขกับการทำงานนะครับ

ตามมาให้กำลังใจครับ

อยากให้ ผอ อ่านบันทึกนี้ของคุณหมอวิจารณ์ เผื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมกับผู้ปกครองครับ

https://www.gotoknow.org/posts/578283

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท