หลักสูตรเพื่อนบ้างใน AESAN


1.การเตรียมตัวล่วงหน้า สิ่งที่อยากรู้ แนวทางและความสำคัญของกระบวนการจัดการความรู้ เพื่อพัฒนาองค์กรหรือหน่อยงานให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ อย่างถูกต้อง เพื่อให้เกิดการบูรณาการความรู้ให้เกิดขึ้นในการศึกษา
2. ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับ เนื่องจากอาทิตย์นี้ผู้สอนได้ให้เข้าฟังการเสวนา ความรู้ เรื่อง หลักสูตรและการสอนของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ประกอบด้วย เวียดนาม สิงค์โปร กัมพูชา และฟิลิปปินส์ เริ่มจาก เวียดนาม ภาษาประจำชาติคือภาษาเวียดนาม

การศึกษาของเวียดนามปัจจุบันเวียดนามแบ่งลักษณะของการจัดการศึกษาไว้ 5 ระดับ

  • 1.การศึกษาระดับประถมวัย (Pre-School Education)ประกอบด้วย 2 ส่วน ๆ สำหรับเด็กอายุ 6 เดือนถึง 3 ปี เป็นลักษณะฝากเลี้ยง ดูแลเด็กที่พ่อแม่ไม่มีเวลาดูแล ส่วนอนุบาลสำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี ไม่เน้นกรเรียนเน้นการฝึกทักษะชีวิตและร่างกาย เน้นการเล่นและร้องเพลง

2. การศึกษาสามัญ (5 - 4 – 3) ระดับประถมศึกษาเป็นการศึกษาภาคบังคับ 5 ปี ชั้น 1-5 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คือชั้น 6-9 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คือชั้น 10-12

3. การศึกษาด้านเทคนิคและอาชีพมีเทียบเคียงทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย

4. การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นระดับอนุปริญญา (Associate degree) และระดับปริญญา

5. การศึกษาต่อเนื่องเป็นการศึกษาสำหรับประชาชนที่พลาดโอกาสการศึกษาในระบบสายสามัญและสายอาชีพการศึกษาสามัญ 12 ปี (General Education) ของเวียดนามนั้นเวียดนามมีวัตถุประสงค์ที่จะ ให้ประชาชนได้มีวิญญาณในความเป็นสังคมนิยม มีเอกลักษณ์ประจำชาติ และมีความสามารถในด้านอาชีพ

สิงค์โปร ภาษาประจำชาติมี 4 ภาษา คือ อังกฤษ จีนกลาง มาเลย์ และทมิฬ

การศึกษาของสิงคโปร์

ระบบการศึกษาของสิงคโปร์แบ่งออกเป็นระดับประถมศึกษา 6 ปี ระดับมัธยมศึกษา 4 ปี ซึ่งรวมแล้วเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 10 ปี นักเรียนที่เรียนจบมัธยมศึกษาสามารถเลือกเรียนต่อเพื่อศึกษาต่อมหาลัยหรือเลือกเรียนอาชีวะ2-3 ปี เมื่อเรียนจบจะได้ใบประกาศผลการเรียนแต่ไม่มีใบปรีชญาบัตร ผู้ที่จะเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยจะต้องศึกษาขั้นเตรียมมหาวิทยาลัยอีก 2 ปีการศึกษาภาคบังคับของสิงคโปร์จะต้องเรียนรู้ 2 ภาษาควบคู่กันไป ได้แก่ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก และเลือกเรียนภาษาแม่ อีก 1 ภาษา คือ จีน มาเลย์ หรือทมิฬ (อินเดีย) รัฐบาลสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการศึกษามาก โดยถือว่าประชาชนเป็นทรัพยากรที่สำคัญ และมีค่าที่สุดของประเทศ ในการนี้ รัฐบาลได้ให้การอุดหนุนด้านการศึกษาจนเสมือนกับเป็นการศึกษาแบบให้เปล่า โรงเรียนในระดับประถม และมัธยมล้วนเป็นโรงเรียนของรัฐบาลหรือกึ่งรัฐบาล สถานศึกษาของเอกชนในสิงคโปร์ มีเฉพาะในระดับอนุบาล และโรงเรียนนานาชาติเท่านั้นเมื่อจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาแล้ว ผู้ที่สนใจเรียนสายวิชาชีพเทคนิค หรืออาชีวศึกษา ก็สามารถแยกไปเรียนตามสถาบันต่างๆ ได้ส่วนผู้ที่จะเรียนต่อในมหาวิทยาลัยก็จะเข้าศึกษาต่อใน Junior College อีก 2 ปี เมื่อจบแล้วจะต้องสอบ GCE “A” Level เพื่อนำผลคะแนนไปตัดสินการเข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย ผู้ที่เข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ก็อาจศึกษาในสายอาชีพ หรือหางานทำต่อไป ปีการศึกษาของสิงคโปร์จะแบ่งออกเป็น 4 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 10 สัปดาห์ เริ่มเปิดการศึกษาตั้งแต่วันที่ 2 มกราคมของทุกปี ช่วงระหว่างภาคเรียนที่ 1 กับที่ 2 และที่ 3 กับที่ 4 จะมีการหยุด 1 สัปดาห์ ระหว่างภาคเรียนที่ 2 กับที่ 3 หยุด 4 สัปดาห์ และมีช่วงหยุด 6 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา

กัมพูชาระบบการศึกษาของกัมพูชาการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และเศรษฐกิจสังคม นำไปสู่การปฏิรูปด้านการศึกษาของกัมพูชา กระทรวงศึกษาฯ ได้มีการพัฒนาระบบการศึกษา มีการปฏิรุปหลักสูตร มีการพัฒนาตำราเรียนใหม่และนำเทคนิคการสอนใหม่ๆ มาให้กับครูเพื่อเตรียมสำหรับการนำระบบการศึกษาแบบ 12 ปีมาใช้ (6+3+3) ในปีการศึกษา 2539 – 2540 โดยระบบใหม่นี้ จะแบ่งเป็นการศึกษาก่อนประถมศึกษา 3 ปี ประถมศึกษา 6 ปี มัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี มัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี และระดับอุดมศึกษา 4 – 7 ปี ส่วนการจัดการศึกษาด้านอาชีวะและเทคนิคจัดให้ตั้งแต่ 1 ปี ไปจนถึง3 – 5 ปีการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษานี้ บางสถาบันการศึกษาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรสาธารณสุขหรือแรงงาน การจัดการศึกษานอกระบบจะเน้นการฝึกทักษะ ให้กับประชาชน

ฟิลิปปินส์ระบบการศึกษาของประเทศฟิลิปปินส์มีทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยการศึกษาแบบที่เป็นทางการนั้นมีลำดับขั้นตอนของการเรียนอยู่สามระดับนั่นคือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา ในระดับประถมศึกษานั้นจะใช้เวลาศึกษาภาคบังคับหกปีที่โรงเรียนของรัฐบาลหรือเจ็ดปีในโรงเรียนของเอกชนนอกเหนือจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยซึ่งนักเรียนสามารถเลือกเรียนได้ โดยการศึกษาระดับนี้รวมไปถึงการเรียนชั้นอนุบาลและอาจเป็นหลักสูตรเตรียมประถมศึกษาก็ได้ นักเรียนที่มีอายุระหว่างสามหรือสี่ปีจะเข้าเรียนในสถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนจนกระทั่งมีอายุครบ 5-6 ปี จึงจะเลื่อนขึ้นชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่ง

การศึกษาระดับมัธยมศึกษาใช้เวลาสี่ปีโดยนักเรียนต้องเรียนจบชั้นประถมศึกษาตอนปลายก่อน นักเรียนส่วนใหญ่ที่เรียนชั้นมัธยมศึกษาจะมีอายุ 12 ปีและเรียนจบเมื่ออายุ 15 ปี ส่วนระดับอุดมศึกษานั้น นักเรียนส่วนใหญ่จะมีอายุประมาณ 16 ปี การศึกษาระดับนี้แบ่งเป็นระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกในหลากหลายสาขาวิชา นอกจากนั้น การศึกษาระดับหลังมัธยมศึกษายังรวมไปถึงหลักสูตรอาชีวศึกษาแบบสองหรือสามปีที่อาจไม่มีการมอบปริญญาก็ได้ ระบบการศึกษาในประเทศฟิลิปปินส์ใกล้เคียงกับระบบการศึกษาแบบเป็นทางการของสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ระบบการศึกษาของประเทศอื่นๆ ในทวีปเอเชียมักจะได้รับอิทธิพลจากประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือเนเธอร์แลนด์

ตารางระบบการศึกษา

Education system

Singapore Vietnam Philippine Cambodia
Nursery school Age 3-6three years Age 3-6three years Age 3-6three years Age 3-6three years
Primaryschool Age 7-12grade 1-6 Full day morning till evening Age 7-12grade 1-5 Study half day morning class7:00 am-11:00 Afternoon class 14:00 -18:00 Age 7-12grade 1-6 Full daymorning till evening Age 7-10grade 1-3 Age 11-13grade 4-6 7:00- 11:00

14:00-

Junior high school Age 13-15grade 7-9 Full day morning till evening Age 13-15grade7-9 Study half day morning class7:00 am-11:00 Afternoon class 14:00 -18:00 Age 13-15grade 7-10 Full daymorning till evening Age 13-15grade7-9 7:00- 11:00 14:00-18:00
Senior high school Age 16-18grade 10-12 Full day morning till evening Age 16-18grade10-12 Study half day morning class7:00 am-11:00 Afternoon class 14:00 -18:00 Age 16-18grade 11-12 Full daymorning till evening Age 16-18grade10-12 7:00- 11:00 14:00-18:00
3. จะนำไปประยุกต์ใช้

จากการฟังเสวนาทำให้เห็นถึงข้อดีระบบการศึกษาของประเทศเพื่อนบ้านเรา และเห็นถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้ากสู่ประชาคมอาเซียน ระหว่างฟังการเสวนาเราก็จะเห็นถึงการอภิปรายแลกเปลี่ยนของผู้บรรยายกันอยู่ตลอดเวลา

คำสำคัญ (Tags): #AESAN
หมายเลขบันทึก: 578089เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2014 23:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ตุลาคม 2014 23:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท