การน้ำการเมือง__ เรื่องคงคา+บำบัดน้ำเสีย


ภาพ__ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา พาราณสี อินเดีย

.

ภาพ__ แม่น้ำคงคา ที่หริตวา

.

ภาพ__ แม่น้ำภากิราติ ที่กังโกตรี (คงคา มีสาขา และชื่อหลายชื่อ)

.

ภาพ__ แม่น้ำคงคา มาจากแม่คงคา (1) + แม่ยมุนา (2)

แล้วแยกเป็น 2 ซ้าย = ฮุกลี (ตะวันตก) ไปออกที่กัลกัตตา อินเดีย + ปัทมา (ตะวันออก) ไปออกที่บังคลาเทศ

.

บังคลาเทศ ได้รับน้ำจืด จากแม่น้ำ 2 สายหลัก = คงคา + พรหมบุตร

จีนสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำพรหมบุตรแล้ว ในเขตธิเบต

ถ้าอินเดียสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำคงคา... จะทำให้บังคลาเทศขาดน้ำจืดอย่างแรง

                                                

                                                

ดร.สุดา รามาจันดรัน (Dr. Sudha Rmachandran; นามสกุลน่าจะใกล้กับคำนี้ "รามาจันทรัน" แต่ออกเสียงแบบสันสกฤต), นักวิจัยจากบังกาลอว์ อินเดีย ตีพิมพ์บทความเรื่อง "ทำความสะอาดคงคา" ใน เดอะ ดิพโลแมท (Diplomat = นักการทูต), ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

ท่านนายกฯ นาเรนดรา โมดิ ประกาศนโยบาย จะทำความสะอาดแม่น้ำคงคา

ใช้เงิน 10,765 ล้านบาท ใช้เวลา 3 ปี

.

แม่น้ำคงคายาว 2,525 กม.

37% ของประชากรอินเดีย 1,200 ล้านคน = 444 ล้านคน อยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำ

ชาวฮินดู เชื่อว่า น้ำจากแม่น้ำสายนี้ บริสุทธิ์ 

เพียงดำลงไป ให้น้ำท่วมหัวชั่วอึดใจ ก็ล้างบาปได้

.

แม่น้ำสายนี้ มีของสารพัด... ไหลลงแม่น้ำ

มาตรฐานน้ำสะอาด นิยมวัดจากการปนเปื้อนเชื้ออี. โคลาย จากลำไส้ใหญ่ หรืออึ (อุจจาระ) คือ

  • ไม่เกิน 50 (ตัว) ต่อน้ำ 100 ซีซี / มิลลิลิตร = ดื่มได้
  • ไม่เกิน 500 (ตัว) ต่อน้ำ 100 ซีซี / มิลลิลิตร = อาบได้
  • ไม่เกิน 5,000 (ตัว) ต่อน้ำ 100 ซีซี / มิลลิลิตร = ใช้ทำการเกษตรได้

.

แต่น้ำขาออกจากเมืองพาราณสี มี อี. โคลาย = 100-200 ล้าน (ตัว)/ 100 มิลลิลิตร

= ไม่สะอาดพอที่จะใช้รดน้ำผัก หรือต้นไม้

ปัญหาใหญ่ของคงคา คือ น้ำทิ้ง หรือน้ำเสีย

= 2,723 ล้านลิตร/วัน จากเมืองใหญ่ 50 เมืองที่อยู่ใกล้ 2 ฝั่งแม่น้ำ

= 85% ของมลภาวะรวม ที่ไหลลงสู่คงคา

.

ภาพ__ โรงฟอกหนัง + ย้อมสี ที่มาราเกซ โมรอคโก

.

สารพิษหลักที่ไหลลงคงคา มาจากโรงฟอก-ย้อมหนัง (tanneries)

รองลงไปเป็นโรงทำกระดาษ

ศ.บราฮ์มา (= พราหมณ์) ดัทท์ ตรีปาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยบานาราส ฮินดู, พาราณสี กล่าวว่า 

ปริมาณน้ำขาเข้า (จากภูเขาหิมาลัย + 2 ฝั่ง) ที่น้อยลง ทำให้แม่น้ำทำความสะอาดตัวเองได้น้อยลง

.

ม.บานาราส พาราณสี มีทั้งพระ ทั้งโยม ไปเรียนกันมาก

มากจนมีหอพักนักศึกษาไทย

ท่าน (ศ.บราฮ์มา) แนะนำว่า ต้องทำ 3 ข้อนี้พร้อมๆ กัน

(1). มีการบำบัดน้ำเสีย

(2). รื้อถอนสิ่งก่อสร้างที่ขวางลำน้ำ

(3). ห้ามปลูกสร้างอาคารที่ใช้ทำกิจกรรม เช่น โรงงาน ฯลฯ ริมฝั่ง

.

ภาพ__ แม่น้ำคงคาช่วงจากเมืองพาราณสี ถึงแม่น้ำฮุกลี (ออกทะเลที่กัลกัตตา อินเดีย)

  • ภาพบน = พาราณสี (Varanasi) - กัลกัตตา (Kolkata)
  • ภาพล่าง = 1-2

.

ทว่า... ท่านนายกฯ ก็วางแผนจะสร้างเขื่อนไหม่ 16 แห่ง

ในช่วงพาราณสี - ฮุกลี ที่มีความยาว = 1,600 กม.

ข้อดีของเขื่อน คือ ช่วยกั้นน้ำ เก็บน้ำไว้ใช้ ปั่นไฟได้

.

ข้อร้าย (ข้อเสีย) ของเขื่อน คือ 

(1). ทำให้แม่น้ำ กลายเป็นสระน้ำ + ไหลเวียนช้าลง 

= โอกาสเกิดน้ำขัง น้ำเสีย มากขึ้น

(2). ทำให้บังคลาเทศ (ประเทศปลายน้ำ) มีน้ำจืด น้อยลง

= เพิ่มเสี่ยงน้ำทะเล ซึมกลับเข้าไปแม่น้ำลำคลอง

(3). ทำให้ไฟตก-ไฟดับ ที่พบบ่อยอยู่แล้ว พบบ่อยขึ้น

เนื่องจากโครงการขนาดยักษ์ ต้องใช้ไฟในการดำเนินการ

.

ท่านสุนิตา นาเรน ผอ.ทั่วไป ศุนย์วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ในเดลี กล่าวว่า

การลดมลภาวะในคงคา จะต้องทำ 3 อย่างพร้อมๆ กัน ได้แก่

(1). เพิ่มน้ำขาเข้า

(2). บำบัดน้ำเสีย

(3). ห้ามโรงงานปล่อยน้ำเสียลงไป 

.

งานนี้ท่าจะเป็นงานช้าง

มีคนนำเรื่องไปฟ้องต่อศาลสูง

ท่านว่า ให้ทบทวนโครงการใหม่

เพราะถ้าทำแบบนี้... 300 ปี (แม่น้ำ) ก็ยังไม่สะอาด

.

ภาพ__ ระบบบำบัดน้ำที่เดลี อินเดีย, ใช้เทคโนโลยีของบริษัท แอคไวซ์ (Aqwise), อิสราเอล ทำให้บำบัดน้ำได้ 163,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน โดยใช้พื้นที่เล็กกว่าบ่อบำบัดทั่วไปมาก

ความไม่ลับ อยู่ที่เจ้าตัวน้อย (สีขาว เขียว น้ำเงิน) ซึ่งมีพื้นที่ผิว = 650 ตารางเมตร/ลูกบาศก์เมตร

ขอให้สังเกตว่า อะไรๆ ในอิสราเอล หรือทำจากอิสราเอล มักจะมีสี "ขาว-น้ำเงิน" 

เพราะนี่เป็นสีธงชาติ

ส่วนสีเขียว เป็นสีที่บ่งชี้ถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติ (Green)

ไว้ถ้าคนไทยคิดค้น__ พัฒนาอะไรได้, ค่อยใส่สี "แดง-ขาว-น้ำเงิน" ได้เลย

.

เจ้าตัวน้อย 11 ลบ.ม. = ประมาณแท้งก์น้ำ 1 เมตร 11 ถัง, มีพื้นที่ผิว = สนามฟุตบอล = 105*68 ตารางเมตร = 7,140 ตร.ม.

วิธีเพิ่มพื้นที่ผิว (surface area) คือ

  • ด้านนอก = เกลียวเฉียง คล้ายทางเดินขึ้นบันไดเวียน
  • ด้านใน = มีเส้นแบ่งเป็น 4 ส่วน + หนามยื่นเข้าไปข้างใน

.

ภาพ__ ไมโตคอนเดรีย (mitochondria) = โรงสร้างพลังงานในร่างกาย

มีส่วนยื่นเข้าไปด้านใน เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิว

คนที่พัฒนาเจ้าตัวน้อย อาจได้ไอเดียจากไมโตคอนเดรีย

.

ภาพ__ บันไดเวียนที่อิตาลี

คนพัฒนาเจ้าตัวน้อย อาจได้ไอเดียจากบันไดเวียน หรือรหัสพันธุกรรม (DNA) ที่มีเกลียวเฉียง คล้ายบันไดเวียน

                                          

นักวิทยาศาสตร์รู้ว่า การทำปฏิกริยาทางเคมี เกิดมากที่สุดที่พื้นผิว (surface)

ถ้าเราเพิ่มพื้นที่ผิวได้ = เพิ่มพื้นที่ทำปฏิกริยาเคมี = เร่งอะไรๆ ให้เร็วขึ้นได้มาก

แบคทีเรีย จะจับที่ผิวของเจ้าตัวน้อย เกิดเป็นฟีล์มบางๆ (biofilm) 

ทำให้แบคทีเรีย ย่อยสลายได้เร็วขึ้นมาก

.

ภาพ__ ถังบำบัดแบบใช้ออกซิเจน (aerobic = ใช้แบคทีเรียแบบพึ่งพิงออกซิเจน ต้องเติมฟองอากาศ) 

  • 1 = ช่องน้ำเข้า > เติมเจ้าตัวน้อยเข้าไป เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในห้องแรก
  • เติมอากาศในห้องสอง
  • 2 = ทางน้ำออก
  • 3 = ทางออกของตะกอน

ภาพ__ ถังบำบัดแบบไม่เติมอากาศ (anaerobic = ใช้แบคทีเรียแบบ ไม่พึ่งออกซิเจน ไม่ต้องเติมฟองอากาศ)

  • 1 = ทางน้ำเสียเข้า
  • เจ้าตัวน้อยลอยอยู่ข้างใน
  • 2 = ได้แก๊สชีวภาพ นำไปเป็นเชื้อเพลิงได้
  • 3 = ทางออกน้ำที่ผ่านการบำบัด

ภาพ__ ถังบำบัดไฮบริด 2 ชั้น, ชั้นบนเติมฟองอากาศ (1 = aerobic), ชั้นล่างไม่เติมอากาศ (2 = anaerobic)

  • การบำบัด > นิยมผ่านจากระบบแอโรบิค-เติมอากาศ (1) ก่อน
  • น้ำที่ผ่านการบำบัด > จะผ่านเข้าสู่ระบบแอนแอโรบิค-ไม่เติมอากาศ (2)
  • ได้ไบโอแก๊ส / แก๊สชีวภาพ ที่นำไปเป็นเชื้อเพลิงได้ในบ่อ (2)

.

ข้อดีของระบบนี้ = บำบัดได้เร็วขึ้นมาก + ใช้พื้นที่น้อยลงมาก

ระบบแบบนี้ บอกเราว่า การทำระบบบำบัดน้ำเสีย ทำได้ โดยใช้พื้นที่น้อยกว่าที่คิด... มากมาย

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านมีสุขภาพดี

ขอให้แม่น้ำคงคา และแม่น้ำทั่วโลก มีน้ำดีไหลเข้ามากขึ้น มีน้ำเสียไหลเข้าน้อยลง

เป็นที่พึ่งของคน และสัตว์ทั้งหลายสืบไป

.

From The Diplomathttp://thediplomat.com/2014/09/cleaning-up-the-ganges/

หมายเลขบันทึก: 576587เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2014 21:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2014 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท