๑๘๓. ​เครื่องมือสำหรับเตรียมตัวและทำงานถอดบทเรียนผ่านเวทีเวิร์คช็อป



ประเด็นหลัก โจทย์ และคำถามเพื่อการวิจัยและปฏิบัติการเพื่อศึกษาเรียนรู้ ‘ศิลปะกับสันติภาพ’
กับแนวทางของเวทีภาคเหนือ

ประเด็นและคำถามเหล่านี้ จะช่วยเป็นแนวการเตรียมตัวเอง เตรียมการมีส่วนร่วม และเตรียมใช้กระบวนการเวทีให้เป็นประโยชน์สำหรับการได้นั่งตกผลึกประสบการณ์การทำงาน หรืออื่นๆ โดยการได้ประเด็นและเห็นกรอบในการได้ครุ่นคิด กลั่นข้อมูลประสบการณ์ หาความแยบคายและตรวจสอบในกระบวนการคิดได้ด้วยตนเองก่อนอย่างสบายๆ สำหรับทุกท่านที่จะไปร่วมเวทีศิลปะกับสันติภาพ ที่บ้านสังคมศิลป์ บ้านห้วยส้ม สันป่าตอง เย็น ๑๙ - เที่ยง ๒๑ กันยายน ๒๕๕๗ นี้นะครับ ...............

  • ถักทอแนวคิดและเปิดสู่พรมแดนภูมิปัญญาปฏิบัติ

‘ศิลปะกับสันติภาพ’ ใช้เป็นกระบวนการเรียนรู้ สร้างแนวคิด ปฏิบัติการ ศึกษาเรียนรู้ พัฒนาการวิจัย พัฒนาคน พัฒนาตนเอง สร้างงานศิลปะและทำงานเชิงสังคม สำหรับสังคมไทย สังคมภูมิภาค และสังคมโลก เพื่อสามารถสร้างคนและพัฒนาสังคมให้บรรลุผลสู่จุดหมายที่ดี ในท่ามกลางความซับซ้อน หลากหลาย แยกส่วนมนุษย์กับธรรมชาติ จิตใจกับวัตถุ เทคโนโลยีกับวัฒนธรรม ภูมิปัญญาสากลกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ประโยชน์ของมนุษย์กับความสมดุลของธรรมชาติ ความต้องการของสังคมบริโภคยุคปัจจุบันกับโอกาสของคนรุ่นอนาคต ฯลฯ และมีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม ได้อย่างไรบ้าง ? สภาพการทำงาน ประสบการณ์และบทเรียนภาคปฏิบัติ เป็นอย่างไร ? การเผชิญกับอุปสรรคปัญหาต่างๆ เป็นอย่างไร การอยู่กับเงื่อนไขความเป็นจริงของสังคม บนพื้นฐานของชีวิตการงาน ที่มีความพอดี ที่ปัจเจก ชุมชน ประชาชนทั่วไป ทั้งในภาคเมืองและชนบท พอแปรไปสู่ปฏิบัติได้ด้วยการมีส่วนร่วมของตนเอง เป็นอย่างไร ?

  • ศิลปะส่องทางความรู้และการเรียนรู้

ศิลปะกับสันติภาพ ในทรรศนะของการปฏิบัติ การดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพและทำงาน ในสาขาการปฏิบัติที่แตกต่างกัน มีความหมายในการปฏิบัติ การสร้างแนวคิด และแนวการอธิบายความจริง ที่เหมือนและต่างกันอยู่อย่างไร ความเฉพาะและแง่มุมที่ให้ความซาบซึ้งแตกต่างกันเป็นอย่างไร เพิ่มพูนความหลากหลายและมีนัยสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างสุขภาวะสังคมในบริบทใหม่ๆของสภาวการณ์ปัจจุบันได้ในลักษณะใดบ้าง ความขัดแย้งที่มีอยู่โดยธรรมชาติพื้นฐานที่มีต่อกันเป็นอย่างไร เป็นระบบนิเวศเดียวกัน ส่งเสริมการการก่อเกิด การดำรงอยู่ การก่อให้เกิดพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง อย่างเป็นหนึ่งเดียวกันอยู่อย่างไร จากประสบการณ์ของคนทำงานในเชิงพื้นที่ต่างๆ มีแนวคิดและแนวปฏิบัติ ‘ศิลปะกับสันติภาพ’ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของสังคมสู่การจัดการความแตกต่างและความขัดแย้ง ในขอบเขตต่างๆ อย่างไร

ศิลปะเป็นกระบวนการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมความสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาคน พัฒนาชุมชน และสร้างความเคลื่อนไหวของสังคม ให้เกิดความริเริ่มและเกิดพลังการจัดการสร้างความเปลี่ยนแปลง เพื่อบรรลุสู่จุดหมายที่ดีในระดับต่างๆได้อย่างไร กระบวนการสร้างความรู้และสั่งสมภูมิปัญญาปฏิบัติ ในบริบทสังคมวัฒนธรรมของท้องถิ่นและสากลเป็นอย่างไร องค์ความรู้ ทฤษฎีภาคปฏิบัติการ กรณีตัวอย่าง ตัวอย่างผลงาน การทดลองสร้างผลงานเชิงสะท้อนความหมาย เป็นอย่างไร

  • ความรู้และการเรียนรู้ส่องทางศิลปะ

กระบวนการเรียนรู้และการสร้างความรู้ เป็นสภาพแวดล้อมความสร้างสรรค์ ตลอดจนเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการทำงานศิลปะ และเป็นกระบวนการทางศิลปะ เพื่อพัฒนาคน พัฒนาชุมชน และสร้างความเคลื่อนไหวของสังคม ให้เกิดความริเริ่มและเกิดพลังการจัดการสร้างความเปลี่ยนแปลงของสังคมแห่งการสื่อสารและเรียนรู้(Effective integration Communication and Learning Society)เพื่อบรรลุสู่จุดหมายที่ดีของปัจเจกและชุมชนระดับต่างๆได้อย่างไร กระบวนการเรียนรู้และการสร้างความรู้ สร้างแรงบันดาลใจทางศิลปะ และนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเชิงสื่อสะท้อนและสร้างความมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้ในลักษณะใด อย่างไร กระบวนการสร้างความรู้และสั่งสมภูมิปัญญาปฏิบัติ ในบริบทสังคมวัฒนธรรมท้องถิ่นและสากลเป็นอย่างไร องค์ความรู้ ทฤษฎีภาคปฏิบัติการ กรณีตัวอย่าง ตัวอย่างผลงาน การทดลองสร้างผลงานเชิงสะท้อนความหมายซึ่งกันและกัน เป็นอย่างไร ระเบียบวิธีและเทคนิคดำเนินการภาคปฏิบัติต่างๆเป็นอย่างไร

  • สังเคราะห์และศึกษาแง่มุมความเป็นศิลปะกินได้และร่วมสร้างสังคมได้

กระบวนการเรียนรู้ การสร้างความรู้ กระบวนการสื่อสาร สร้างปฏิสัมพันธ์และสร่างความเชื่อมโยงกับสังคม ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม อย่างมีความบูรณาการกับการสร้างศิลปะและมิติอื่นๆ ก่อให้เกิดผลกระทบ และผลสืบเนื่อง ต่อการสร้างคน และสร้างสุขภาวะของสังคมในด้านต่างๆในลักษณะใด ก่อเกิดขึ้นได้อย่างไร กรณีตัวอย่างจากภาคปฏิบัติ เป็นอย่างไรบ้าง ให้แนวคิดในบริบทของศิลปะกับสันติภาพอย่างไรบ้าง แนวทางสำคัญและที่น่าสนใจสำหรับใช้เป็นกระบวนการทำงานต่างๆเชิงพัฒนาสังคมในอนาคตต่อไปอีกในบริบทสังคมวัฒนธรรมไทย เป็นอย่างไร 

หมายเลขบันทึก: 576253เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2014 12:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2014 12:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • งานศิลปะ ไม่ว่าจะผลิตและเสพ ล้วนสร้างสรรค์ จิตใจ ความละเอียดอ่อน อ่อนโยน พิถีถิถัน เห็นหลายแง่มุมขึ้น จนพบชีวิต ความจริง ความสุข สงบ ในการอยู่ร่วมกัน สันติภาพ..
  • ลองคิดตามอาจารย์แล้ว ได้ประมาณนี้เองครับ(ฮา) 
  • ไม่เห็นอาจารย์นานมากๆเลย อาจารย์สบายดีนะครับ..
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท