nui
นาง เสาวลักษณ์ พัวพัฒนกุล

โรงเรียนอะไรกันนี่ _ตอนที่ ๒_นักเรียน ป.๑ ที่ถูกไล่ออกจากโรงเรียน



          เด็กหญิงโต๊ะโตะจัง ชั้น ป. ๑ เพิ่งเข้าเรียนไม่กี่วัน แล้วถูก “ไล่ออกจากโรงเรียน” เพราะชอบยืนดูโน่นนี่นั่นข้างหน้าต่าง และทำสิ่งที่ “รบกวนชั้นเรียน” ครูเชิญแม่โต๊ะโตะจังไปพบแล้วขอให้ย้ายไปเรียนที่อื่น

          แม่พาโต๊ะโตะจังนั่งรถไฟไปโรงเรียนขบวนรถไฟ ครั้งแรกที่โต๊ะโตะจังพบครูใหญ่ เป็นอย่างนี้

          “คุณเป็นคุณครูใหญ่ หรือ เจ้าหน้าที่สถานีรถไฟกันแน่คะ”

          “เป็นครูใหญ่ครับ”

          “ดีจัง หนูขอร้องอะไรหน่อยเถอะค่ะ คือหนูอยากเข้าโรงเรียนนี้”

          ครูใหญ่หันไปพูดกับแม่ว่า “ผมมีเรื่องจะพูดกับหนูคนนี้ ขอเชิญคุณกลับไปก่อนเถอะนะครับ”

          แม่ของโต๊ะโตะจังออกไปแล้ว ครูใหญ่ลากเก้าอี้มาใกล้โต๊ะโตะจัง นั่งลงตรงหน้า

          “เอาละ มีอะไรจะพูดกับครูก็ว่าไปเลย พูดทุกอย่างที่อยากพูดเลยนะ”

..................

         โต๊ะโตะจัง เล่าตั้งแต่เรื่องที่นั่งรถไฟมาโรงเรียน โรงเรียนเก่า คุณครู สุนัขที่บ้าน เรื่องที่เอากรรไกร

เข้าไปขยับกิ๊บกั๊บในปากแล้วถูกครูดุ พ่อว่ายน้ำทะเลเก่ง ฯลฯ

         ครูใหญ่หัวเราะไปบ้าง  พยักหน้ารับหงึกๆ บ้าง  ถามว่า “แล้วไงอีก” บ้าง  พอโต๊ะโตะจังหยุดพูด

ครูใหญ่ก็ถามว่า “หมดแล้วหรือ”

          โต๊ะโตะจังนึกเรื่องใหม่ เรื่องเสื้อผ้าตัวเองที่ขาดวิ่นกลับบ้านทุกวัน ฯลฯ

          พอโต๊ะโตะจัง ไม่มีเรื่องพูดอีกแล้ว ครูใหญ่ก็ลุกขึ้น วางมือใหญ่ๆ และอบอุ่นไว้บนศีรษะโต๊ะโตะจัง

พูดว่า “เอาละ หนูเป็นนักเรียนโรงเรียนนี้แล้วนะ”

         ครูใหญ่นั่งฟังโต๊ะโตะจังพูดพูดนานถึง ๔ ชั่วโมง

         ผู้เขียนบรรยายความรู้สึกของโต๊ะโตะจังว่า

         "ตั้งแต่เกิดมา เธอเพิ่งได้พบคนที่ถูกใจจริงๆ วันนี้เอง เพราะไม่เคยมีใครฟังเธอพูดนานขนาดนี้ แล้วยังไม่ง่วงเหงาหาวนอน หรือทำท่าเบื่อหน่าย แต่ชะโงกหน้ามาฟังเรื่องของเธออย่างตั้งอกตั้งใจ"

............................


          การที่ครูใหญ่นั่งฟังเด็กเล็กๆ ที่มาสมัครเข้าโรงเรียนนาน ๔ ชั่วโมง ย่อมไม่ใช่ครูใหญ่ธรรมดาแน่ๆ

          คุโรยานางิ เท็ตสึโกะ (ผู้เขียน) บอกแก่ผู้อ่านชาวไทยว่า

         “ดิฉันตั้งใจนานแล้วว่า จะเขียนเรื่องจริงเกี่ยวกับโรงเรียนประถมศึกษา และครูใหญ่ที่แสนวิเศษ ให้คนทั่วไปได้รับรู้ในขณะที่ดิฉันยังจำเรื่องราวนั้นได้อยู่...”

         “ครูใหญ่ที่แสนวิเศษ” คนนั้นชื่อ คุณครูโคบายาชิ โซซาขุ.

เสาร์ที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๗

เขียนที่เชียงใหม่ เมืองที่ร้อนอ้าวยิ่งกว่ากรุงเทพฯ

อ้างอิง: คุโรยานางิ เท็ตสึโกะ. โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง. แปลโดย ผุสดี นาวาวิจิตร. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์กะรัต , ๒๕๒๗

หมายเลขบันทึก: 576149เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2014 07:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2014 08:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ดิฉันมีหนังสือรักมาก เก็บอย่างทะนุถนอมอยู่ 3-4 เรื่อง  'โต๊ะโตะจัง' เป็นชุดหนึ่งในจำนวนนี้ ลูกสาว 2 คนชอบมาก เล่าได้บรรทัดต่อบรรทัด เธอทั้งสองเป็น โต๊ะโตะจังในวัฒนธรรมไทยค่ะ

"ยายธี..เพิ่งมีคน..ที่รับฟัง..นานๆๆได้ตอนเลยวัยกลางคนไปแล้ว".....และเขาก็จากไป...เลยไม่มีคนรับฟังได้อีก..เลย.(ต้องหัดเขียน....ก็มีคน..อ่านบ้างเป็นต้นว่าคุณnui...จ้าาา)...

นึกเห็นภาพลูกสาว ๒ คนของคุณดารนี ชัยอิทธิพร ค่ะว่าจะน่ารักแค่ไหน

คุณดารนีเล่าเรื่องหนังสือ ๓-๔ เล่มสิคะ  อยากอ่านค่ะ

ยายธี คะ  ดิฉันขอเป็นแฟนานุแฟนยายธีไปนานๆ เชียวค่ะ  เว้นแต่ช่วงงานยุ่งเหยิง และป่วยค่ะ 

อยากแนะนำคุณยายลองอ่านเรื่อง โต๊ะัโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง ค่ะ  แล้วจะหลงรักหนังสือเล่มนี้จริงๆ นะ ไม่หลอก

ขอบคุณค่ะอาจารย์  Wasawat Deemarn ที่แวะมาอ่าน

ครูใหญ่แสนวิเศษจริง ๆค่ะ มีเด็กช่างคุยช่างซักถามแบบนี้ครูใหญ่คงสนุกกับงานยิ่งขึ้น ขอเดาก่อนไปซื้อหนังสือมาอ่านค่ะ

อาจารย์ GD อ่านแล้วมาเล่าด้วยนะคะว่าคิดอย่างไร  บทท้ายๆ ดิฉันอ่านแล้วน้ำตาซึมค่ะ

ขอบคุณที่แวะมาอ่านค่ะคุณ Yanyong-P

  • นักวิทยาศาสตร์บางท่าน ช่วงเรียนตอนเด็กๆ ก็ตกอยู่ในสภาพเดียวกับโต๊ะโตะจัง..ฉะนั้นเหตุการณ์อย่างนี้ ก็น่าจะเกิดขึ้นกับเด็กอีกหลายๆคน(ที่เราไม่รู้) ไปเรียบร้อยแล้ว.. 
  • ที่เคยรู้ โรงเรียนใหญ่ๆ(แย่งกันเข้าเรียน) แค่เด็กคนใดเกรดไม่ดี ก็ถูกเชิญให้ไปหาที่เรียนใหม่แล้ว.. น่าเศร้าใจครับ 
  • ขอบคุณพี่Nuiครับ

จริงทีเดียวค่ะอาจารย์ ธนิตย์ สุวรรณเจริญ บุคคลที่ประสบความสำเร็จในภายหลังไม่น้อยก็ถูกโรงเรียนปฏิเสธมาแล้ว  พี่ว่าอ่านเรื่องนี้แล้วน่าจะช่วยให้ผู้ใหญ่มองเด็กนอกกรอบในมุมดีๆ นะคะ  

เท็ตสึโกะ (ผู้เขียน) ก็พูดไว้ดีค่ะในตอนท้ายเรื่องว่า  ถ้าเธอไม่มีแม่ที่เข้าใจ เธออาจไม่มีวันนี้

ขอบคุณความเห็นนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท