ค่านิยม ๑๒ ประการ ของคนไทย (คสช.)


หากใครกำลังทำหน้าที่หรือมีอุดมการณ์ที่จะพัฒนาคน หรือพัฒนาการเรียนรู้ของเยาวชน เพื่ออนาคตของ "มหาชน" หรือ "คนไทย" ต่อไปในภายหน้า คงจะรู้ว่า อะไรคือ ค่านิยมที่พึงประสงค์ของ "คนไทย" ที่ คสช. ประกาศให้เป็นแนวทางร่วมกันในการ "ฟื้นฟู" ประเทศ

ผม ขอคัดลอก ค่านิยมหลัก ๑๒ ประการ ที่หัวหน้า คสช. ได้ประกาศไว้ และเผยแพร่ทั่วไปในสื่อสิ่งพิมพ์ ดังนี้ (ขอบคุณหนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ ที่นี่)

1.รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงาม-เพื่อส่วนรวม

3.กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์

4.ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียน

5.รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม

6.มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน

7.เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง

8.มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักเคารพผู้ใหญ่

9.มีสติ รู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติ ตามพระราชดำรัสพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

10.รู้จักดำรงตนอยู่ โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

11.มีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำหรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา

12.คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมและต่อชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

และนำมาเสนอเป็นภาพดังนี้

ถ้า ลองแบ่งค่านิยมทั้ง ๑๒ ประการ ออกเป็น ๓ ส่วน ที่เกี่ยวข้องกับ ๓ ฐาน ของการเรียนรู้และแสดงพฤติกรรมของมนุษย์ ได้แก่ ฐานใจ ฐานคิด และฐานกายหรือ ใช้คำให้ง่ายขึ้นว่า "จิต" "คิด" และ "ทำ" จะสังเกตได้ว่า ค่านิยมที่เกี่ยวข้องกับ "จิต" ซึ่งเป็น "ระดับบุคคล" ซึ่งคนไทยทุกคนต้องมี "ประจำตน" ไว้ ขยายความออกมาจาก "พุทธธรรม" ทั้งหมด

  • มีสติ (สติรู้ตัว สติรู้คิด สติรู้ทำ)
  • กตัญญู (ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี)
  • หิริโอตัปปะ (ละอายและเกรงกลัวต่อการทำบาป)
  • ฆารวาสธรรม ๔
    • สัจจะ = ความซื่อสัตย์ การรักษาความสัตย์
    • ทมะ = การข่มใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ
    • ขันติ = ความอดทน
    • จาคะ = การเสียสละ
  • ใฝ่เรียนรู้

ส่วนระดับ "ชุมชน" หรือ "สังคม" ที่เน้นการอยู่ร่วมกัน เน้น ๒ ประการคือ

  • เคารพกฎระเบียบ และมีวินัย
  • เข้าใจเรียนรู้ประชาธิปไตยที่ถูกต้อง

และในระดับ "ประเทศ" หรือ "ชาติ" ซึ่งเน้นเป็นพิเศษ เรื่อง การเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว และการรักษาวัฒนธรรมไทย รักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

ทั้งหมดทั้งมวล รวมลงตรง "รอยเท้าช้าง" คือ การรู้จักดำรงตนอยู่ในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง

หรือเรียกให้สั้นๆ ว่าอุปนิสัย "พอเพียง" นั่นเอง ....

หมายเลขบันทึก: 576145เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2014 23:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กันยายน 2014 23:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท