ผลตอบแทนที่ไม่เป็นตัวเงิน ที่ไม่ได้แสดงใน balance sheet ของสหกรณ์ ​ทำให้การตัดสินใจ ในการดำเนินงานของสหกรณ์ผิดพลาด


ผลตอบแทนที่ไม่เป็นตัวเงิน ที่ไม่ได้แสดงbalance sheet ของสหกรณ์
ทำให้การตัดสินใจ ในการดำเนินงานของสหกรณ์ผิดพลาด

balance sheet ของสหกรณ์ในโลกนี้แบ่งเป็นหลายค่าย แต่ค่ายหลัก ๆ ก็เห็นจะมีอยู่สองค่ายคือ ค่าย ส่วนเกิน – ส่วนขาด ( surplus- deficit ) กับ ค่ายกำไร – ขาดทุน ( profit - loss)

ตัวอย่างของการใช้ balance sheet แบบ ส่วนเกิน – ส่วนขาด( surplus - deficit )
ในประเทศไทย คือ Balance sheet ของสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
ในต่างประเทศ ก็มีให้เห็นมากมาย ยกตัวอย่างเช่น

http://greenbrenn.com/samplereports/SAMPLE_COOP-2.pdf

ใช้อย่างนี้ ไม่ต้องสนใจเรื่องกำไร ขาดทุน ทุนหมดก็ระดมเพิ่ม เพื่อมาทำดำเนินกิจกรรม ต่อไป ทุนเหลือ ก็จ่ายเฉลี่ยคืนไป ต้องการใช้ทุนก็ระดมใหม่ ทุนไปอยู่ที่สมาชิกทุกคน ไม่ต้องมากองรวมกัน

balance sheet จะออกมา มีส่วนเกินหรือส่วนขาดก็ไม่ต้องกังวล เพราะมีส่วนเกินถ้าไม่ขยายบริการสมาชิกเพิ่มก็เฉลี่ยคืนสมาชิกไป หากมีส่วนขาดก็ระดมทุนเพิ่มเข้ามาเพื่อให้บริการที่สมาชิกพึงพอใจยังคงอยู่ การจะขยายหรือพอเพียง สำหรับบริการสมาชิก ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของสมาชิกว่าจะร่วมมือ ร่วมใจกัน ด้วยวิธีการสหกรณ์ เพิ่มขึ้น ต่อไปหรือไม่ การตัดสินใจของคนเป็นสำคัญ

balance sheet แบบที่ประเทศไทยใช้กับสหกรณ์โดยทั่วไปในปัจจุบัน ใช้แบบ กำไร – ขาดทุน (profit – loss)
คนที่เป็นนักสหกรณ์ จะเข้าใจดี ว่า กำไร (profit) จาก balance sheet ของสหกรณ์ คือ ส่วนเกิน( Surplus) นั่นเอง

ขาดทุน ( Loss) นักสหกรณ์ก็ไม่ตกใจ เพราะทราบดีอยู่ว่า คือ ส่วนขาด(deficit) ที่ใช้อย่างนี้เพราะ จะหานักบัญชีที่เข้าใจเรื่องบัญชีมาช่วยดูบัญชีให้สหกรณ์ นักบัญชีที่มาทำบัญชีให้สหกรณ์ทำไปนานเข้าก็จะเข้าใจว่า ในบัญชีของสหกรณ์เป็นอย่างนี้นี่เอง

balance sheet แบบ กำไร – ขาดทุน (profit – loss) หากใช้ไปโดยที่ไม่เข้าใจเรื่อง หัวใจของการสหกรณ์ ก็จะทำให้การตัดสินใจของสมาชิก(เจ้าของสหกรณ์) ในการดำเนินของสหกรณ์ผิดพลาดได้ ว่าจะดำเนินการต่อไปดี หรือว่า จะเลิกสหกรณ์ดี ดั่งเช่นการที่สหกรณ์ ไม่มีผลกำไรที่เป็นตัวเงิน ให้เห็นภายใน 3 ปี แล้วนายทะเบียนจะสั่งเลิกสหกรณ์นั้น ผู้เขียนเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควร ด้วยสาเหตุ สองประการคือ

ประการที่ 1 การดำเนินกิจการของสหกรณ์บางสหกรณ์เป็นการลงทุนระยะยาว balance sheet ในปีแรก ๆ จะแสดงผลขาดทุน มากกว่า 3 ปี แต่อาจจะคืนทุน ในอีก 20 - 30 ปี ก็ได้

ประการที่ 2 ใน balance sheet แบบ กำไร – ขาดทุน จะมองแต่ ทั้งรายได้ที่เป็นตัวเงินเป็นสำคัญ ส่วนค่าใช้จ่ายก็มีที่ไม่เป็นตัวเงิน แล้วทำเฉลี่ยจ่าย balance sheet ก็จะออกมาเป็นกำไร เช่น ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน

ด้วยเหตุที่ไม่พยายามนำผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินมารวมในรายได้ ก็จะทำให้ balance sheet ออกมา มีกำไรน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้การตัดสินใจ ร่วมมือ ร่วมใจกันแบบสหกรณ์ และใช้ balance sheet แบบกำไร-ขาดทุน ส่งผลให้สมาชิกสหกรณ์ (เจ้าของสหกรณ์) ตัดสินใจผิดพลาด ที่จะดำรงคงการร่วมมือแบบสหกรณ์ หรืออาจตัดสินใจเลิกการร่วมมือแบบสหกรณ์ลงเสีย เมื่อ balance sheet แสดงผล ว่า ขาดทุน

ตัวอย่างของ เรื่องนี้ ผู้เขียน พบเจอจาก สหกรณ์สวนป่าภาคเอกชน จำกัด ซึ่งสมาชิกของสหกรณ์นี้ตัดสินใจ ร่วมมือ ร่วมใจกัน จัดตั้งสหกรณ์นี้ขึ้นมาเพื่อ แบ่งปันความรู้ความเข้าใจในการปลูกป่า ในที่ดินของตนเอง ร่วมมือกันจัดหาอุปกรณ์ ในการปลูกป่า ร่วมกันค้นหาวิธีในการดูแลรักษาป่าที่ปลูกขึ้น ถ่ายทอดความรู้เรื่องการปลูกป่า สู่ลูกหลาน สร้างเป็นเครือข่ายตามปรัชญาสหกรณ์ “ช่วยตน ช่วยกัน (self help – mutual help) “

ผลตอบแทนของการปลูกป่าในที่ดินของตนเอง คือ รายได้ที่เป็นตัวเงินจะเกิดขึ้นใน อีก 20– 30 ปีข้างหน้า (ไม้เมื่อครบอายุแล้วก็ต้องตัดและก็ปลูกทดแทน) ซึ่งจะเป็น มรดกสำหรับลูกหลานไทย แต่ผลตอบแทนที่ได้ตลอดเวลาของการปลูกป่าคือ การกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ และได้ออกซิเจนสำหรับชาวโลก ลดโลกร้อน ลดการเกิดภัยธรรมชาติในโลกนี้ ได้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้อยใหญ่ เป็นแหล่งเพาะพันธ์ของสัตว์ต่าง ๆ และแมลงที่จะช่วยผสมเกสรดอกไม้ ระบบนิเวศน์ที่ดีที่มนุษย์เราทุกคนปรารถนา ฯลฯ

เมื่อเราใช้ balance sheet แบบ กำไร-ขาดทุน ก็จะไม่ได้รวมสิ่งเหล่านี้ไป ดังเช่นการจะทำโครงการแล้วไม่ได้ ทำ EIAการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อังกฤษ: Environmental Impact Assessment ย่อว่า EIA หมายถึง การประเมินผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสุขภาพหรือความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบ รวมทั้งความเสี่ยงที่จะมีผลต่อสภาพความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อธรรมชาติ ซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่ภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรง)

สหกรณ์นั้นเป็นองค์การอิสระของบุคคลซึ่งรวมกันด้วยความสมัครใจเพื่อสนองความต้องการอันจำเป็น และความมุ่งหมายร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการดำเนินวิสาหกิจที่เป็นเจ้าของร่วมกัน และควบคุม ตามแนวทางประชาธิปไตย

สหกรณ์นี้จึงมีผลตอบแทนที่ไม่เป็นตัวเงิน ทั้งที่ผลตอบแทนไม่เป็นตัวเงินทางเศรษฐกิจ ผลตอบแทนไม่เป็นตัวเงินทางสังคม ผลตอบแทนไม่เป็นตัวเงินทางวัฒนธรรม ซึ่งไม่ได้นับรวมเข้าใน รายได้ และค่าใช้จ่ายของ Balance sheet แบบ กำไร – ขาดทุน ของสหกรณ์ จึงทำให้เมื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลหลักในการตัดสินใจ ของสมาชิกในวันประชุมใหญ่ผิดพลาดได้

ผู้เขียนจึงขอเสนอแนวทาง ไว้ 2 แนวทางคือ

1 ใช้ balance sheet แบบ ส่วนเกิน – ส่วนขาด (surplus – deficit) กับสหกรณ์ไทย

2 ใช้ balance sheet แบบ กำไร – ขาดทุน ( profit – loss ) คงเดิมให้นับรวมผลตอบแทนที่ไม่เป็นตัวเงิน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มานับรวมด้วย เพื่อจะได้เป็นข้อมูลที่ครบถ้วนในการตัดสินใจของสมาชิกสหกรณ์(เจ้าของสหกรณ์)

Peeraphong Varasen (Bobbie)
“สุดท้ายตายทุกคน"

9/9/2014

หมายเลขบันทึก: 575940เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2014 10:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2015 05:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท