​เรียนรู้พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมที่ออสเตรเลีย : ๑๐. Teaching and Learning Engagement


          วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๗ คณะดูงานไปดูงานที่ Institute for Teaching and Learning ของมหาวิทยาลัย ซิดนีย์

          ผมเคยเล่าการไปเยือนสถาบันนี้เมื่อ ๒ ปีที่แล้วไว้ที่นี่

          คราวนี้เราไปขอเรียนรู้เรื่อง Teaching and Learning Engagement ถือเป็นส่วนหนึ่งของการไปเรียนรู้ พันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม ด้านการเรียนรู้ โดยทางสถาบันคลังสมองแจ้งไปว่าขอเรียนรู้ ๓ เรื่อง คือ (1) Scholarship of Teaching and Learning (2) Professional Development for university teachers หรือการพัฒนาครู และ (3) Learning Outcome Assessment

          เขาจัดคนมาคุยกับเราถึง ๔ คน นำโดย Assoc. Prof. Simon Barrie ผู้อำนวยการสถาบัน และคนที่มีชื่อเสียงมากคือ Prof. Keith Trigwell ซึ่งท่านกรุณาส่งส่วนหนึ่งของหนังสือ University Teaching in Focus : A Learning Centered Approach คือบทที่ 15 Scholarship of Teaching and Learning ที่ท่านเป็นผู้เขียน มาให้ อ่านได้ ที่นี่

           ผมได้เข้าใจว่า คำว่า Scholarship ในความหมายของเขากับที่ผมหรือนักวิชาการไทยเข้าใจอาจไม่ตรงกัน ยิ่งคำว่า Scholarship of Teaching and Learning อาจยิ่งเข้าใจต่างกัน ส่วนที่ผมประทับใจคือเขามองความหมาย ของ scholarship ว่าเป็นกระบวนการพยายามทำให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งพัฒนาขึ้น เป็นเรื่องของการ ช่วยกันต่อยอดความรู้ขึ้นไป ดังนั้นปฏิสัมพันธ์ของคนในแวดวงเดียวกัน ที่เรียกว่า “วิทยสหาย” (academic peers) จึงมีความสำคัญยิ่ง จะเสนอผลงานหรือการริเริ่มใดๆ ต้องผ่าน peer review นี่คือจารีตของ scholarship หรือวิชาการ

          ผมคิดต่อเองว่า หากมองคำว่า scholarship แบบนี้ การส่งเสริม Scholarship of Teaching and Learning ก็ทำได้โดยส่งเสริมให้ “กระบวนการวิทยสหาย” (peer process) เข้มแข็ง ซึ่งในที่นี้หมายถึงกระบวนการ วิทยสหายของการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น ดังนั้น เป้าหมายที่แท้จริงของ Scholarship of Teaching and Learning คือการพัฒนาคุณภาพของการเรียนและการสอน ส่วนการได้รับ ผลประโยชน์ตอบแทนของอาจารย์ ในรูปของผลงานวิชาการ และการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งเป็นเป้าหมายรอง

          ที่มหาวิทยาลัย ซิดนีย์ มีหลักสูตร (๑ ปี) Graduate Certificate in Educational Studies (Higher Education) สำหรับให้อาจารย์เข้าเรียนได้ เป็นหลักสูตรปฏิบัตินำ เสริมด้วยทฤษฎี มีชั้นเรียนทฤษฎีครึ่งวัน ทุกๆ ๒ สัปดาห์ รับปีละ ๔๐ คน เน้นบริการอาจารย์ของมหาวิทยาลัย ซิดนีย์ แต่คนนอกก็สมัครได้ เป็นกรณีพิเศษ เป้าหมายลึกๆ ของหลักสูตร เพื่อเปลี่ยนความคิดด้านการเรียนและการสอน

          หลักสูตร Graduate Certificate in Educational Studies (Higher Education) ประกอบด้วยการเรียน 4 หน่วยคือ (1) University Teaching and Learning, (2) Reflection and Practice in University Teaching and Learning, (3) University Teaching Portfolios, (4) Scholarship of University Teaching and Learning

          วิธีเสนอผลงานด้านการเรียนการสอนเพื่อขอรับการเลื่อนสถานะ ทำโดยเสนอ “Teaching Case” เพื่อเป็นหลักฐานเข้ารับการพิจารณาความดีความชอบ เขาพิจารณาคุณภาพของการจัดการสอน ๕ ด้าน ได้แก่ (1) Performance ซึ่งดูที่ “appropriate planning and design, clear goals, effective presentation, instruction technique and online learning, appropriate assessment and feedback and evidence of appropriate use of student evaluations” (2) Research-led Teaching ดูที่ “encouraging imaginative student inquiry, sharing insights from research and scholarship with students and the use of primary sources and recent discoveries as part of teaching” (3) Student-focused Teaching ดูที่ “teaching that places emphasis on students’ perceptions and experiences and on the relation between students and subject matter as well as the teacher’s performance” (4) Scholarship in Teaching ดูที่ “systematic use of the best available evidence, including research evidence, to select and use teaching and assessment strategies. In some cases it may extend to original research in teaching methods, etc, in the field of study.” (5) Leadership in Teaching ดูที่ “the coordination and management of teaching teams and courses, curriculum and policy development and oversight, mentoring of junior staff (including acting as associate supervisor), external recognition of teaching expertise and benchmarking of teaching quality with other universities and agencies”

          มหาวิทยาลัย ซิดนีย์ ถือว่าการทำหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เป็นงานด้าน การเรียนการสอน

          กิจกรรมด้านการพัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอน แก่อาจารย์ใหม่ มีดังต่อไปนี้

  • Principles and Practice of University Teaching and Learning เป็นการอบรมภาคบังคับ ระยะเวลา ๒ วัน แก่อาจารย์ใหม่ทุกคน เนื้อหามีที่ส่วนการเรียนการสอนทั่วๆ ไป และที่จำเพาะต่อคณะวิชาที่ตนสังกัด
  • Foundations of Research Supervision บังคับแก่อาจารย์ที่จะต้องเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา
  • eLearning Fundamentals workshops
  • Just in time online resources – Teaching insights and videos

สำหรับอาจารย์ทั่วไป

  • An Introduction to Teaching – online program

    Just in time online resources – Teaching insights and videos

  • eLearning Fundamentals workshops
  • Principles and Practice of University Teaching and Learning

สำหรับอาจารย์วุโสปานกลาง

  • Graduate Certificate in Educational Studies (Higher Education)
  • Experienced Supervisors Development Network
  • Engaged Enquiry Course
  • eLearning Focus and Extension workshops
  • PhD and Masters
  • Curriculum Scholars’ Network มีหลายเครือข่าย เช่น Network on Community-Engaged Teaching and Learning, Network of Academics Interested in …., Network on Assessment

สำหรับผู้นำด้านการสอนและหลักสูตร

  • Associate Deans Learning and Teaching Group
  • Curriculum Scholars’ Network

สำหรับอาจารย์ทุกคน

  • Annual Teaching Colloquium ปีที่แล้วจัดเรื่อง Blended Learning
  • Teaching Awards workshops and support
  • Teaching Grants workshops and support
  • Promotions workshops
  • Individual consultations
  • Collaborative SoTL (Scholarship of Teaching and Learning) projects

สำหรับบางคณะวิชา ดำเนินการร่วมกับกิจกรรมพัฒนาอาจารย์ของคณะ


การประเมินผลการเรียน(Learning Outcome Assessment)

          เป็นเรื่องที่ท้าทายวงการศึกษา เขามีวิธีมองเป้าหมายของการประเมินแบบ assessment แตกต่างจากที่ใช้กันในวงการศึกษาไทย คือเขามองว่า Learning Outcome Assessment สนองเป้าหมายสำคัญ ๒ อย่าง ในภาษาอังกฤษที่งดงาม กล่าวว่า เพื่อ Report Learning และเพื่อ Support Learning ซึ่งหมายความว่า เขาเน้นที่ “การประเมินเพื่อพัฒนา” (Formative Assessment) มากกว่าประเมินได้-ตก

          เขาบอกว่า การประเมินเริ่มจากการกำหนดเป้าหมายการเรียนให้ชัด แล้วหาทางประเมินสิ่งนั้น ที่สำคัญอย่างยิ่งคือ อย่าประเมินเฉพาะการเรียนรู้ส่วนเนื้อวิชา ต้องประเมินการเรียนรู้รอบด้าน หรืออย่าง บูรณาการ

          เขาบอกว่า การประเมินในการศึกษาเชิงวิชาชีพง่ายกว่าการประเมินในการศึกษาทั่วไป เช่นการประเมินนักศึกษาประวัติศาสตร์ ยากกว่าประเมินนักศึกษาแพทย์ ในวิชาด้านประวัติศาสตร์ อาจประเมินโดยให้นักศึกษานำเสนอเรื่องราวเหมือนกับตัวเขาอยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ ในประวัติศาสตร์

          สิ่งที่ผมประทับใจมาก คือเขาบอกว่าต้องระมัดระวัง อย่าประเมินโดยใช้มาตรฐานปัจจุบันเป็นตัวตั้ง เพราะจะมีผลทำให้วิชาการด้านนั้นๆ หยุดนิ่ง ผิดธรรมชาติของความเป็นวิชาการ

          จะเห็นว่า เขาเน้นประเมินความคิด หรือการตีความ มากกว่าประเมินการท่องจำข้อเท็จจริง

          ข้อเรียนรู้สำคัญสำหรับผมในวันนี้ “วิชาการ” (Scholarship) หมายถึงกระบวนการยกระดับความรู้ ต่อเนื่องเรื่อยไป ไม่มีสิ้นสุด” กลไกขับเคลื่อนวิชาการ คือ peer review

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ก.ค. ๕๗

บนเครื่องบินการบินไทยจาก ซิดนีย์ กลับกรุงเทพ

หมายเลขบันทึก: 575692เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2014 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กันยายน 2014 14:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท