ฝึกเป็น Reflective teacher 5: การสะท้อนกลับในการเรียนรู้จากผู้เรียน


เริ่มแรกรู้สึกว่าเป็นวิชาที่ไม่มีอะไรมากมาย แต่เมื่อลองคิดตามที่อาจารย์พูด ก็เริ่มจะซับซ้อนและไม่สามารถคิดตามโจทย์ที่อาจารย์ถามได้รวมถึงตอบตัวเองไม่ได้ว่าทำไมตอบโจทย์นั้นๆไม่ได้ จึงทำให้วิชานี้น่าสนใจยิ่งขึ้น

การทำห้องเรียนกลับทางนั้นสิ่งที่สำคัญมากๆ คือ การต้องฝึกสะท้อนกลับ หรือ Reflection ทั้งผู้เรียนและผู้สอนจนให้เกิดเป็นวัฒนธรรมค่ะ

ยิ่งโดยเฉพาะว่าดิฉันสอนวิชา KM แล้วด้วยย่ิงต้องทำให้เกิดวัฒนธรรมนี้ขึ้นให้ได้ค่ะ เพราะคน KM นั้นต้องรู้อยู่แล้วว่า AAR หรือ After Action Review เป็นเครื่องมือ KM ที่ต้องใช้อย่างยิ่งค่ะ

การสะท้อนกลับของดิฉันเองนั้นสามารถอ่านได้จากบันทึกซีรีย์ “ฝึกเป็น Reflective Teacher” ใน GotoKnow ค่ะ เมื่อผู้อ่านอ่านไปก็เห็นความรู้ที่ฝังอยู่ในบันทึกนะคะ เช่น เทคนิคการสอน ปัญหาที่เจอ ความสำเร็จที่ได้รับ เป็นต้นค่ะ

ส่วนนักศึกษาเองดิฉันก็ได้เริ่มให้ฝึกเขียนแล้วค่ะ จริงๆ แล้วตั้งเป้าไว้ว่าจะให้เวลา 10 นาทีฝึกทำ reflection กันในกลุ่ม แต่ดิฉันเองก็ยังจัดการเวลาได้ไม่เก่งนักจึงยังไม่ได้เริ่มค่ะ

แม้ยังไม่มีโอกาสได้ทำ reflection กันในห้องเรียน ดิฉันก็ฝากให้นักศึกษาไปคิดและเขียนลงใน “บันทึกการเรียนรู้” ใน ClassStart ค่ะ โดยดิฉันได้ตั้งคำถามไว้ประมาณ 5 คำถามดังต่อไปนี้ค่ะ

  1. คุณเข้าใจอะไรแล้วบ้างในการเรียนวิชานี้
  2. อะไรบ้างที่คุณยังไม่เข้าใจ
  3. คุณคิดว่าคุณอยากรู้อะไรเพิ่มเติม แล้วคุณคิดว่าจะต้องทำอย่างไรถึงจะรู้สิ่งนั้น
  4. คุณรู้สึกอย่างไรกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของตนเอง
  5. การเรียนในวิชานี้ สร้างแรงบันดาลใจหรือจุดประกายอะไรให้คุณบ้าง

อย่างไรก็ตาม การ reflection จะไม่จำเป็นหากไม่เกิดการพัฒนาปรับปรุงค่ะ ไม่ใช่ให้นักศึกษาเขียนอยู่เรื่อยๆ อย่างนั้นแล้วไม่เห็นการพัฒนาการอย่างนี้ก็ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ นะคะ

มาลองดูคำตอบของนักศึกษาสักสองคนนะคะ

คำตอบของนางสาว ก.

1.คุณเข้าใจอะไรแล้วบ้างในการเรียนคลาสนี้

จากการเรียนในคลาสนี้ ทำให้ทราบว่า KM มีความสำคัญในการลำดับ จัดเก็บความรู้ ซึ่งทำให้สามารถรักษาความรู้ที่เรามีอยู่ที่เรายังไม่ได้เขียนออกมา ได้เห็นเป็นความรู้ที่สามารถแชร์ให้คนอื่นรู้ได้ง่ายขึ้น เพราะการที่เราจะบันทึกหรือคัดกรองความรู้ใดๆออกมมาก็ย่อมต้องผ่านกระบวนการจัดเรียง ให้หลักตรรกะ เหตุผล

2.อะไรบ้างที่คุณยังไม่เข้าใจ

การเปรียบเทียบสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ กับ Data ,information,knowledge

3.คุณคิดว่าคุณอยากรู้อะไรเพิ่มเติม แล้วคุณคิดว่าจะต้องทำอย่างไรถึงจะรู้สิ่งนั้น

อยากรู้ว่าคนหรืองค์กรที่ประสบความสำเร็จกับการทำ KM เป็นอย่างไร และข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดจากการที่คนหรือองค์กรประเภทเดียวกันไม่ทำ KM ในชีวิตประจำวัน และต้องการที่จะฟังจากประสบการณ์จริงจากคนหรือองค์กรจริงๆ

4.คุณรู้สึกอย่างไรกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของตนเอง

รู้สึกว่าพฤติกรรมการเรียนรู้ของเรายังขาดการจัดเก็บที่ดี ไม่ได้สร้างนิสัยในการบันทึก ทำให้สิ่งที่รู้มาแต่ไม่ได้ใช้ในขณะนั้น หายไป และยังมีวิธีการหาความรู้ที่แคบ ไม่ค่อยหาแหล่งความรู้ที่หลากหลาย

5.การเรียนในคลาสนี้ สร้างแรงบันดาลใจหรือจุดประกายอะไรให้คุณบ้าง

สร้างแรงบันดาลใจในการที่อยากจะแชร์ความรู้ให้คนอื่นมากขึ้น เรื่มที่จะมองเห็นช่องทางและวิธีการแชร์ และโดยส่วนตัวก็เริ่มเป็นการสร้างนิสัยในการจัดเก็บข้อมูลความรู้ต่างๆให้อยู่เป็นระบบระเบียบ เพื่อง่ายต่อการเรียกมาใช้มากขึ้น

คำตอบของนาย ข.

1.คุณเข้าใจอะไรบ้างแล้ว?

  • เข้าใจความแตกต่างระหว่าง Data Information และ Knowledge

  • explicit knowledge คือความรู้ที่เห็นได้ชัดแจ้ง หาได้ทั่วไปจาก หนังสือ internet เป็นต้น

  • tacit knowledge คือความรู้ที่ซ่อนอยู่ในตัวบุคคล ที่เกิดจากการปฏิบัติ คิด คุย แลกเปลี่ยน จนเกิดความชำนาญ ความรู้ประเภทนี้จะถ่ายทอดได้ยากเพราะ อาจจะเป็นการหวงในความรู้ ไม่สามารถเรียบเรียงเป็นคำพูดได้ หรือไม่รู้ว่าตัวเองรู้อะไร

  • KM Foundation ได้แก่ KM Technologies, KM Infrastructure, KM Mechanisms

2.อะไรบ้างที่ยังไม่เข้าใจ?

  • เมื่อมีการหมุนวนพนักงาน หรือพนักงานเดิมจะลาออกจากบริษัท(จากหัวข้อแรงผลักดันในการทำ KM คลิปที่ 1) อยากทราบถึงวิธีการดึงเอา Tacit Knowledge ออกจากตัวพนักงานได้อย่างไร จะทราบอย่างไรว่าเขาจะไม่โกหก หากไม่ได้รับความร่วมมือจะพนักงาน จะมีวิธีการอะไรบ้างในการรับมือจากปัญหาส่วนนี้

3.คุณอยากจะรู้อะไรเพิ่มมากกว่านี้ และมีวิธีการเรียนรู้ได้อย่างไร?

  • 3.1 Wisdom คืออะไร

มีวิธีการคัดเลือกความรู้อย่างไร ทราบอย่างไรว่าแหล่งข้อมูลที่ได้มานั้นเป็นความจริง และสามารถนำไปใช้ได้

  • 3.2 สามารถเรียนรู้ได้จาก Search Engine ต่างๆ และสอบถามผู้มีประสบการณ์

4.คุณรู้สึกอย่างไรกับพฤติกรรมการเรียนรู้ในวิชา KM ?

เริ่มแรกรู้สึกว่าเป็นวิชาที่ไม่มีอะไรมากมาย แต่เมื่อลองคิดตามที่อาจารย์พูด ก็เริ่มจะซับซ้อนและไม่สามารถคิดตามโจทย์ที่อาจารย์ถามได้รวมถึงตอบตัวเองไม่ได้ว่าทำไมตอบโจทย์นั้นๆไม่ได้ จึงทำให้วิชานี้น่าสนใจยิ่งขึ้น

5.คุณมีแรงบรรดาลใจอะไรกับวิชานี้บ้าง

  • บางอย่างผมคิดว่าผมทราบแล้ว แต่เมื่อมาเจอในสถานการณ์จริงๆ อาจจะไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลยก็ได้หากไม่ได้มีการคัดเลือกหรือมีการจัดเก็บที่ดี( ลืม/สับสน เช่น เขียน C# อยู่แต่เขียนโครงสร้างเป็น JAVA เป็นต้น) จึงทำให้เกิดความสนใจว่าจะทำอย่างไรให้ความรู้ที่มีอยู่มีความสัมพันธ์กัน และสามารถนำความรู้ส่วนนั้นไปใช้ได้จริง
หมายเลขบันทึก: 575688เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2014 10:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กันยายน 2014 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

คุณมีแรงบรรดาลใจอะไรกับวิชานี้บ้าง ... ตรงนี้ดีมากๆๆ นะคะ

กระบวนการน่าสนใจมากครับ ;)...

นำบุญมาฝากอาจารย์จันด้วยจ้ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท