​แบบทดสอบคุณครู – คุณมีความรู้เรื่องศิลปะการเรียนรู้แค่ไหน?


มีหนังสือเล่มใหม่น่าสนใจนะครับ ชื่อว่า How We Learn โดยคุณ Benedict Carey และต่อไปนี้เป็นแบบทดสอบที่คัดมาจากเนื้อหาในหนังสือครับ ลองทำดูนะครับ (คำตอบอยู่ด้านล่างนะครับ)

1) คุณสั่งงานเขียนรายงานเกี่ยวกับการทำงานของเซลล์ประสาท ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องที่นักเรียนอ่าน แต่คุณรู้แก่ใจว่าเด็กๆ ต้องอึดอัด ขาดสมาธิ และอาจหาข้อมูลยากลำบาก คุณจะแนะนำเด็กว่าอย่างไร?

a) ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ ก้มหน้าก้มตาทำไป

b) ออกจากบ้าน ไปนั่งร้านกาแฟ หรือนั่งทำงานในสวน ห้องสมุดบ้าง หรือเปิดเพลงคลอ

c) จัดที่ทำงานให้เรียบร้อย และตั้งใจทำงาน

d) หยุดทำก่อน แล้วค่อยกลับมาต่อทีหลัง

2) สัปดาห์หน้าคุณจัดทดสอบภาษาต่างประเทศ และคุณจะต้องแนะนำวิธีการเตรียมตัวให้นักเรียน 4 ชั่วโมง แบบไหนถึงจะดีที่สุด?

a) จัดเต็ม 4 ชั่วโมงสามวันก่อนการทดสอบ

b) อยู่ดึก อัดคืนสุดท้ายคืนเดียว 4 ชั่วโมง

c) ใช้เวลา 1 ชั่วโมงสี่คืนติดต่อกันก่อนวันทดสอบ

d) ใช้เวลา 2 ชั่วโมง สองคืนก่อนสอบ

3) ลูกคุณกำลังทำการบ้านและติดอยู่กับโจทย์ข้อหนึ่ง ไม่สามารถคิดคำตอบได้ เขาขออนุญาตพักเล่นคอมพิวเตอร์แปบเดียว คุณจะตอบว่า?

a) ตั้งใจทำต่อให้เสร็จ

b) ลองโทรถามเพื่อนสิ

c) ตามใจลูก ให้ไปเล่นคอมแปบ

d) กลอกตาไปมา บ่นว่าในความสมาธิสั้นของลูก

4) นักเรียนของคุณกำลังเตรียมตัวนำเสนองานชิ้นสำคัญ และจำเป็นต้องท่องเนื้อหาให้ขึ้นใจ คุณจะแนะนำให้เขาเตรียมตัวอย่างไร?

a) ใช้เวลาหนึ่งในสามอ่านเนื้อหา และสองในสามฝึกท่องจำ

b) ใช้เวลาร้อยละ 90 อ่านเนื้อหา และร้อยละ 10 เพื่อฝึกท่องจำ

c) ใช้เวลาครึ่งหนึ่งอ่านเนื้อหา และอีกครึ่งหนึ่งฝึกท่องจำ

d) อ่านสองสามรอบก็พอแล้ว

5) เอาแบบทดสอบที่อ้างอิงจากหนังสือ How We Learn ที่ยังไม่เคยอ่านมาให้ทดลองทำ คุณคิดว่า?

a) เสียเวลาเปล่า

b) เจ้าเล่ห์ที่สุด

c) ก็แค่กิมมิค

d) ช่วยให้คุ้นเคยกับเนื้อหาได้ดี

ทำถูกกันกี่ข้อ ลองตรวจด้านล่างนะครับ

.

.

.

.

.

.

.

.

คำตอบ!

ข้อ 1: B งานวิจัยหลายชิ้นรายงานตรงกันว่าการเปลี่ยนบริบทของการเรียนรู้ เช่นสถานที่ เวลา อารมณ์ สิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่การเปิดเพลงคลอช่วยให้ทำงานได้นานขึ้น

ข้อ 2: D การเว้นวรรคช่วงเวลาการเรียน (spacing) สามารถเพิ่มความสามารถการจดจำได้เป็นสองเท่า สำหรับการทดสอบที่จะมาถึงในอาทิตย์หน้า การแบ่งการอ่านหนังสือเป็นสองช่วงก่อนสอบ โดยเว้นระยะหนึ่งหรือสองวันเป็นช่วงเวลาที่พอเหมาะ

ข้อ 3: C การหยุดพักสัก 15 – 20 นาทีช่วยให้สมองได้พัก ช่วยให้เห็นแง่มุมใหม่ งานวิจัยรายงานว่าเพิ่มโอกาสที่จะแก้ปัญหาได้ถึงร้อยละ 20 ทีเดียว

ข้อ 4: A งานวิจัยระบุว่าการทดสอบตัวเอง มีประสิทธิภาพกว่าการอ่านทบทวนด้วยสัดส่วน 2:1

ข้อ 5: D งานวิจัยใหม่พบว่าการทำ pre–test หรือการทำแบบทดสอบก่อนจะได้เห็นบทเรียน ช่วยให้สมองปรับตัวเข้าหาบทเรียนได้ดีกว่า กระบวนการคาดเดาคำตอบ (ในเนื้อหาที่ไม่เคยเห็น) ช่วยให้จดจำเนื้อหาได้ดีขึ้น

หมายเลขบันทึก: 575573เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2014 17:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กันยายน 2014 17:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท