Special Keynote การประชุมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพการสร้างเครื่องมือประเมินความสามารถด้านการคิด


พิธีเปิดการประชุมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพการสร้างเครื่องมือประเมินความสามารถด้านการคิด

บรรยายพิเศษ โดย นายธัชชเวชว์ จันทร์สุขศรี ผอ. สพม. 14

...การศึกษาทุกระยะต้องมีการปรับอยู่ทุกระยะมีเหตุการณ์ที่ต้องปรับ วันก่อนไปโรงเรียนของเรา (ใน สพม. 14) มีภาพคืนความสุขให้นักเรียน นี่คือหนึ่ง ที่ต้องปรับ คือ กลยุทธ์ สอง ต้องแก้ปัญหา ทีนี้เราย้อนดูปัญหาภาพรวมของทั้งหมดมีไรบ้าง มีสามถึงสี่ส่วน

หนึ่ง เศรษฐกิจ มีปัญหาไหม กระทบชีวิตเรา สังคม ผู้เรียนไหม เมื่อวานมีข่าว เศรษฐกิจภาคหนี้สิน...สามหมื่นกว่าบาทต่อคน เพิ่มเป็นแสน หนี้ที่ติด (หนี้) ต่อคนเฉลี่ยถึงสองแสน แสดงว่าอันนี้เป็นปัญหาเศรษฐกิจ บ้านมีปัญหาด้านพลังงานบ้าง ราคาพืชผลบ้าง หลายที่มีการโค่นต้นยางทิ้ง เศรษฐกิจนี้มีผลต่อไปทั่วไปโลก การศึกษาอยู่ในภาคของสังคม ถ้า คสช. แบ่งฝ่ายก็อยู่ในด้านสังคมวิทยา มีหลายด้าน ถ้าเราดูในโรงเรียนมีปัญหาหลายอย่างมาก เช่น ทะเลาะวิวาท ยาเสพติด ชู้สาว สื่อลามกอนาจาร ในระดับโลกนี้ก็มีโรคภัยไข้เจ็บ การเมืองของเราดีหน่อย คือ เงียบ นิ่งหน่อย โรงเรียนก็ค่อนข้างจะเงียบ นิ่งหน่อย ในเขตพื้นที่นี้ก็มีนโยบายการประชุมว่าต้องพยายามลด มีการสำรวจว่าในโรงเรียน ครูได้ทำงานในโรงเรียนกี่วัน ปีหนึ่งมีการทำงานในโรงเรียนกี่วัน ผลปรากฏว่า 200 วัน โรงเรียนขนาดเล็กนี้ครูได้ทำงานไม่ถึงครึ่ง (เล็ก (ประถม) นักเรียน 120 คนลงมา กลาง นักเรียน 500 คนขึ้นไปใหญ่ 1,500 คนใหญ่พิเศษ ก็ไล่ขึ้นไป อันนี้คือ ขนาดโรงเรียน) ทำงานในโรงเรียนไม่ถึงครึ่ง แล้วที่ไม่ถึงครึ่งนี้เพราะอะไร จำไม่ผิดคือ 98 วัน ถามว่าใน 200 วัน มีเวลาสอนเด็กเท่าไร ครูมีหลายหน้าที่ การเงิน พัสดุ แนะแนว ทั้งสอนปกติ และโรงเรียนขนาดกลางจะเพิ่มจำนวนคาบขึ้นไปตามจำนวนคน มีคำถามว่า “เอ๊ะ! ทำไมครูเนี่ยอยู่โรงเรียนน้อยกว่าผู้บริหาร” (โรงเรียนขนาดเล็กอยู่น้อยกว่าผู้บริหาร ขนาดกลางอยู่เท่า ๆ ผู้บริหาร) พอวัดผลออกมา โรงเรียนขนาดเล็กจะมีปัญหาเยอะ โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ครูจะมีเวลาทำงานมากที่สุด (ใหญ่พิเศษ นักเรียน 2,500 คนขึ้นไป) อันนี้คือสภาพปกติ ทีนี้สภาพผู้เรียนก็เป็นไปตามเวลาการทำงานของครู อยู่โรงเรียนน้อย ก็เหมือนเช่นเดียวกับผู้บริหารที่ไม่ค่อยอยู่โรงเรียน วันก่อน ที่กระบี่ มีกรรมการสหกรณ์ไม่เคยอยู่โรงเรียน (เป็นผู้บริหาร) มีครูเอาเรื่องมาให้เซ็น ก็มีคำถามว่า “เธอเป็นครูโรงเรียนไหน” ครูตอบ “โรงเรียนท่าน ผอ. นั่นแหละค่ะ” เพราะ ผอ. เป็นกรรมการต่าง ๆ เยอะมาก

สอง ปัญหาของสังคม ความเชื่อเป็นปัญหาหนึ่ง เรามีความโน้มเอียงต่อการเมือง ความเชื่อบางเรื่องก่อให้เกิดปัญหาสังคมเป็นไปตามแต่ละชุมชน เมื่อคืนดูข่าว น้องเขียว อายุ 12 ปี อยู่บ้านตั้งแต่สองขวบคนเดียว พ่อแม่ไม่อยู่บ้าน เพราะคนในหมู่บ้านไม่ให้เข้าหมู่บ้าน เพราะคนในหมู่บ้านบอกว่าเป็นปอบ ปรากฏว่าไปอยู่ชลบุรี ลูกอยู่บ้านคนเดียว เรียนหนังสือ หุงข้าว ช่วยตัวเองตลอด ครูเป็นผู้ช่วย ให้ข้าวให้อะไรมา จน 12 ปีมีคนไปพบ (ในหลวงทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์) วันนั้นไปทำบุญก็จะโอนเงิน แต่เห็นชื่อบัญชีเป็นออมสิน ก็เลยไม่ได้โอน เพราะไม่รู้มันไปขึ้นชื่ออะไร ความเชื่อที่ว่านี้ก่อให้เกิดการทิ้งลูกไป 12 ปี ความเชื่อนี้ก็ไม่รู้ว่าผิดหรือถูก มีอยู่ทั่วโลก

การศึกษา พอเวลาพูดถึงคุณภาพเด็กไม่ดี คนที่สะท้อนใจคือคนที่อยู่ในภาค ไม่ว่าคนในพื้นที่ โรงเรียน เราจะรู้สึกว่า เราจะเถียงว่า “เอ๊ะ! มันไม่ไม่ดีได้ไง” การจัดกันดับการศึกษา เราจะอยู่ท้าย ๆ แต่เราจะเถียงว่า...ไม่ใช่ พอเกิดปัญหาอะไรขึ้นมา ปัญหาจะอยู่กับครู อะไรที่เป็นปัญหา ก็คือ...เด็ก ที่มีข่าวว่า มีการรับจ้างทำการบ้าน มีจริงนะ ไม่ใช่เฉพาะในกรุงเทพ คือ รับทำการบ้านทาง LINE ให้พี่ให้น้อง แล้วมาเขียน พอครูตรวจการบ้าน พบว่า เด็กมันเก่ง แต่ที่จริงไม่ใช่ เด็กมันลอก ตอนที่ผมอยู่ราชบุรี สพม. 8 เด็กมันจับกลุ่มทำงานอยู่ เขาจะพูดถึงเรื่องการบ้านมารอบหนึ่งอยู่ว่า “เรียนที่บ้าน ทำงานที่โรงเรียน” (เขา คือ สพฐ.) มีการทดลองห้องหนึ่ง นักเรียนจับกลุ่มนั่ง เวลาทำงานมีโทรศัพท์ ใช้ LINE บ้างส่งถามพี่หรือใครก็แล้วแต่ สำนักติวก็แล้วแต่ งานนี้ก็เวลามีการบ้านใช้การลอกกัน ตอนนี้ก็เป็นรับจ้าง เมื่อวานมีคำสั่งของ สพฐ. ว่าให้ลดการบ้าน จัดระเบียบเรื่องการบ้าน ข่าวช่วงนั้นจะมี ก่อนที่จะ “เรียนที่บ้าน ทำงานที่โรงเรียน” มีการอ้างงานวิจัยว่า การบ้านไม่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้มากอย่างมีนัยสำคัญ อ้างของใครไม่รู้ วันก่อนประชุมผู้บริหาร หนึ่ง ครูอย่าเอาสบายเกินไป เช่น บางคนทำเล่มสวย พิมพ์มา แต่เกิดการจ้าง แต่การให้เขียนสั้นๆ นี่ก็ดี แต่ก็เกิดมีมาว่า “มีให้ทุกลายมือ” (555)นั่นก็คือส่วนหนึ่ง

ย้อนมาถึงเรื่องนโยบาย เกี่ยวกับเวลาเรียนและหลักสูตร คาดว่าจะปรับรื้อ นโยบาย คสช. ที่เกี่ยวกับการศึกษา มีสามเรื่อง

หนึ่ง การเรียนรู้ประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง (ครูบางคนก็ทราบแล้ว) ในคุณลักษณะอันพึงประสงค์มันมีรักชาติ แต่ท่านมา ปรากฏว่าเกิดความวุ่นวายทุกคนรักชาติแต่ก็เกิดความวุ่นวาย อีกอันคือ หน้าที่พลเมือง นโยบาย คสช.

สอง road map เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาหลายเรื่องที่ต้องทำ อีกส่วนคือ การปรับหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตร เพราะหลักสูตร 2551 ใช้มานาน มีการวิเคราะห์จากหลายสำนัก ไม่รู้จะเชื่อใครบ้าง เรียนมากแต่รู้น้อย ไม่รู้จะปรับแบบไหน อีกอย่างคือ ปรับโครงสร้าง แต่ในโรงเรียนไม่กระทบ

สาม คุณภาพการศึกษา ที่เราสะท้อนได้คือ ครูดี เด็กดี เพราะครูอยู่ใกล้ชิดผู้เรียนมากที่สุด และช่วยให้นักเรียนมีคุณภาพได้ เมื่อเช้าไปนั่งดื่มกาแฟ (ในหนังสือพิมพ์) หน้าสอง มี ดร. นิติภูมิ เนาวรัตน์ เขียนหนังสือ ผมบอกว่า นิติภูมิเป็นสำนักติวอยู่หน้าราม บ้านอยู่จันทบุรี เขามีความเชื่อว่า เด็กนี้พัฒนาได้ เขามีลูกอยู่หลายแม่ หญิงหนึ่ง ชายสอง (น่าจะประมาณนี้) ลูกอยู่ กทม. เขาจะส่งลูกไปบ้านนอก ไปโดดน้ำ ลูกเก่งภาษาทุกคน หลังจบ ป. หก เข้ามา กทม. สองปีเรียนภาษา เขียนได้ เป็นเลขาเขา อีกสองปีพูดได้ ไปเมืองนอกเมืองนาได้ ลูกนี้จะบ่นว่า ไม่ได้ไปโดดน้ำแก้ผ้าในคู ติดย่าที่บ้านนอก

หลักสูตรนี้ก็มีความคิดหลายเรื่อง วิเคราะห์ สร้างสรรค์ เคยได้ยินว่าสภาครองเกรสจะนำเรื่อนี้เข้าสภา เกี่ยวกับการพัฒนาทางความคิด ของไทยพอเข้าสภา ก็เป็นเรื่องการพัฒนาความคิดของอเมริกา สมองคนเรามีไว้สำหรับการเรียนรู้ ยิ่งเรียนสมองยิ่งพัฒนา อันนี้เป็นของอเมริกา ของเราก็มาแปลว่า “ต่อไปนี้สมองของใครมีราคามากที่สุด” ก็เรียงตามลำดับ 1 สมองของนักเรียน (ของอเมริกา) ในสภาครองเกสบอกว่า คนเราใช้สมองตั้งแต่เกิดถึงตายเพียงครึ่งเดียว มีการประมูลสมองกันของนักเรียน สองคือ ศิลปิน ครูนี่ไม่รู้อันดับที่เท่าไร สามคือ นักบริหารระดับ chief อะไรขึ้นไป คนที่ขายได้น้อยที่สุดคืออะไร (ไม่แน่ใจว่าอยู่ในนี้รึเปล่า) คือ นักการเมืองไทย คิดแต่อยู่เรื่องเดียว 555

ตอนเรียน การพัฒนาสมองเกี่ยวข้องกับการจำ นี่ lecture ตอนนี้รับฟังได้แค่ 5 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไปเรื่อย ๆ พูด 75 discuss พัฒนาได้ถึง 80 การทำกิจกรรมจะเพิ่มทักษะและการจำได้มากที่สุด 80 – 100 ย้อนกลับมาว่า เราพูดให้นักเรียนฟังนี่ก็จำได้นิดเดียว สู้ให้นักเรียนเถียงกันบ้างน่าจะดีกว่า เมื่อวานคุยถึงเรื่องว่า ที่ครูสอนนี่จำไม่ได้เลย และจำไม่ได้ว่าครูสอนอะไรบ้าง แต่ที่ครูให้ทำจะจำได้ตลอด นึกจำไปว่า ครูพาไปเข้าค่ายลูกเสือที่ไหน เราก็จะจำได้ ยิ่งทำผิดหรือเปิ่นนี่ยิ่งจำได้ เดินๆ สวยๆ แต่ไปเตะถ้วยกาแฟที่ไหน จะจำได้ตลอดชีวิต นี่มันโยงไปได้ (นี่พูดถึงกี่โมง – ถึงเบรก คราวหลังต้องบอกด้วยนะ555)

การแก้ปัญหา มีทุกระดับหลายระดับ ถามว่า ครูเรานี้จะแก้อย่างไร มีศาสตร์เยอะแยะจากเขตพื้นที่ สพฐ. ที่ ผอ. ถามว่า ประเด็นแก้ปัญหานี้ก็คือ คืนความสุขให้ผู้เรียนได้ นักเรียนก็ตอบว่า “นักเรียนนี้จะไม่อยากเรียน” การแก้ปัญหานี้ก็จะเป็นระดับ กระทรวง เขตพื้นที่ ภาคโรงเรียน แต่ภาคห้องเรียนมีผลกระทบน้อยสุด เพราครูมีโอกาสทำงานมากสุด มีหลายท่านที่เข้ามาในวันนี้ก็ถือว่าเป็นการพัฒนาและแก้ปัญหา ที่บอกเบื้องต้นที่ว่า เขตฯ ก็ตระหนักดีกว่า เขตฯ พยายามให้ครูอยู่ในโรงเรียนมากที่สุด พยายามหลีกการอบรมวันทำงาน มีคนถามว่า “เขตฯ อื่นมีการประชุมอบรมเยอะ เขตฯ เราไม่มีบ้างหรือ”

วันนี้ ก็นำความรู้ที่ได้ ไปใช้ประโยชน์ เครื่องมือก็เป็นอย่างหนึ่ง อีกอย่างคือ การเรียนการสอน จะพัฒนาคุณภาพของเด็กอย่างไร อย่าให้เขามาบอกว่า เด็กไทยนี้คิดไม่เป็น ทำไม่เป็น เรารู้ว่าควรจะทำอย่างไร ฝากบอกฝ่ายบริหารว่า การร่วมทำกิจกรรมก็เป็นส่วนหนึ่งให้เกิดการเรียนรู้ เราเป็นส่วนหนึ่งที่บอกกล่าวโรงเรียนได้ เราก็เป็นส่วนหนึ่งที่มาประชุม บางโรงเรียนมาคนเดียว ก็ทำได้เลยไม่ต้องรอใคร ก็ขอให้นำเอาไปใช้แก้ปัญหาการศึกษาที่ไม่สิ้นสุดนี้

ขอให้เรามีความสุข (กลับบ้านไหม) กระบุรีนี่กลับไหม ฟังให้รู้เรื่อง กินข้าวให้อิ่ม หลับให้สบาย งานที่ได้รับก็เอาไปใช้ประโยชน์มากที่สุด ขอบคุณครับ

รัชพล มาลาศิลป์

29 ส.ค. 2557

หมายเลขบันทึก: 575533เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2014 06:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กันยายน 2014 06:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มีประโยชน์มากเลยครับ

ขอเมล์หน่อย

จะส่งไฟล?หนังสือไปให้ครับ

ตามมาอ่านค่ะ   ขอบคุณค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท