โครงการสานเสวนาพัฒนาศูนย์กลางทางการเงินของขบวนการสหกรณ์ไทย


โครงการสานเสวนาพัฒนาศูนย์กลางทางการเงินของขบวนการสหกรณ์ไทย

เข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)

1. หลักการและเหตุผล

สหกรณ์ เป็นองค์การอิสระของบุคคลซึ่งรวมกันด้วยความสมัครใจเพื่อสนองความต้องการอันจำเป็น และความมุ่งหมายร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการดำเนินวิสาหกิจที่เป็นเจ้าของร่วมกัน และควบคุม ตามแนวทางประชาธิปไตย
ในการที่สหกรณ์ที่สมาชิก ร่วมมือ ร่วมใจกัน ก่อตั้งขึ้น จะสามารถตอบสนองความต้องการอันจำเป็น ด้านเศรษฐกิจได้ก็ต้องมีเงินทุน ไว้สำหรับให้บริการสมาชิกสหกรณ์ โดยใช้ทุนที่สมาชิกร่วมกันถือหุ้น
และได้มาจากภายนอกสหกรณ์ หรือกรณีที่สหกรณ์มีเงินเหลือ ก็สามารถแบ่งปันไปช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์อื่นภายใต้ความร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์ (หลักการสหกรณ์ ที่ 6) การที่สหกรณ์จะรับความช่วยเหลือ และแบ่งปันกันได้ ก็จะต้องมีศูนย์กลางทางการเงิน
บรรพชนสหกรณ์ไทย ดำริที่จะมีศูนย์กลางทางการเงินในรูปธนาคารเพื่อการสหกรณ์ (Bank for Cooperatives) จัดตั้งศูนย์กลางทางการเงินโดย ได้ มีพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการสหกรณ์ ขึ้นในปี พ.ศ. 2486 และได้มีการจัดตั้ง ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ (Bank for Cooperatives) ชื่อย่อของธนาคารคือ “ธ.ก.ส. “ ขึ้นในปี พ.ศ. 2490 ธนาคารเพื่อการสหกรณ์สามารถให้บริการขบวนการสหกรณ์ไทยในรูปศูนย์กลางทางการเงินได้เป็นอย่างดี
ในปี พ.ศ. 2509 ได้มีการควบรวมและเปลี่ยนเป็น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และยังคงใช้ชื่อย่อของธนาคารว่า “ ธ.ก.ส." ดังเดิม แต่การให้บริการ ครอบคลุมเพียงสหกรณ์ภาคเกษตร สหกรณ์นอกภาคการเกษตรถูกตัดออกไปจากบริการของ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.)ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
จนในปี พ.ศ. 2549 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในชื่อเดิม ก็ขยายการให้บริการครอบคลุม ทั้งสหกรณ์ในภาคเกษตรและ สหกรณ์นอกภาคเกษตรด้วยดังเดิมเหมือนตอนเป็นธนาคารเพื่อการสหกรณ์

เพื่อเป็นการเตรียมการในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของ ขบวนการสหกรณ์ในประเทศไทย
ในระยะแรกต้องใช้บริการของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ซึ่งเป็น ธนาคารเพื่อการสหกรณ์
(Bank for Cooperative) รัฐบาลถือหุ้นส่วนหนึ่งเพื่อช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์ เป็นศูนย์กลางทางการเงินไปพลางก่อน

จากนั้นจึงสร้างทางเลือกใหม่ คือ ธนาคารสหกรณ์ (Co-operative Bank) ขึ้นโดยให้ขบวนการสหกรณ์ไทย ร่วมมือ ร่วมใจ ร่วมทุนกัน จัดตั้งขึ้นซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการเงินหลักของขบวนการสหกรณ์ไทย และเปลี่ยนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ( Bank for Cooperatives) เป็นศูนย์กลางทางการเงินของขบวนการสหกรณ์ไทยในที่สุด เพราะธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) เป็นธนาคารเพื่อส่งผ่านความช่วยเหลือจากภาครัฐไปสู่เกษตรกร และสมาชิกสหกรณ์ แต่ธนาคารสหกรณ์ (Cooperatives Bank) เป็นธนาคารที่ขบวนการสหกรณ์ไทยเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง และให้บริการสหกรณ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย และสำหรับเชื่อมโยงทางการเงินกับขบวนการสหกรณ์ในอาเซียน และนานาชาติ เพื่อแบ่งปัน อย่างสร้างสรรค์ในทางการเงินกับเพื่อนอาเซียน ตามปรัชญาสหกรณ์ ช่วยตัว ช่วยกัน (Self -help Mutual help)


2. วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้สหกรณ์ เป็นองค์การอิสระของบุคคลซึ่งรวมกันด้วยความสมัครใจเพื่อสนองความต้องการอันจำเป็น และความมุ่งหมายร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ของสมาชิกสหกรณ์

2.เพื่อให้ขบวนการสหกรณ์ไทยใช้บริการของศูนย์กลางทางการเงินของขบวนการสหกรณ์ในปัจจุบันในรูปแบบธนาคารเพื่อการสหกรณ์ (Bank for Cooperatives) ซึ่งก็คือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ซึ่งได้รับการสนับสนุนผ่านมาจากรัฐบาลให้มากยิ่งขึ้น

3.เพื่อกำหนดแนวทางในการจัดตั้งศูนย์กลางทางการเงินหลักแห่งใหม่ในรูป ธนาคารสหกรณ์ (Co-operative Bank) ซึ่งเป็นของขบวนการสหกรณ์เอง เป็นการพึ่งพาตนเองของขบวนการสหกรณ์ไทยเอง

3. เป้าหมายโครงการ เมื่อสิ้นสุดโครงการ

1. ผู้เข้ารับร่วมการสานเสวนา ได้ใช้บริการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในรูปศูนย์กลางทางการเงินในการส่งผ่านเชื่อมโยง เงินในระหว่างขบวนการสหกรณ์ด้วยกัน

2. ผู้เข้าร่วมสานเสวนา มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางในการจัดตั้งศูนย์กลางทางกรเงินแห่งใหม่ ในรูปธนาคารสหกรณ์ (Co-operative Bank) เพื่อให้บริการทางการเงินในการเชื่อมโยง เงินในขบวนการสหกรณ์ทั้งในประเทศและ เชื่อมโยงกับภายนอกประเทศ

3. ขบวนการสหกรณ์มีความภาคภูมิใจในกิจการของขบวนการเอง ในการที่จะพึ่งพาตนเอง และช่วยเหลือกัน (Self-help Mutual help)

4. วิธีการดำเนินงาน

1. จัดสานเสวนาในการให้บริการเชื่อมโยงทางการเงิน1.1 ในปัจจุบัน ใช้บริการผ่าน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 1.2 ในอนาคต ร่วมมือ กันจัดตั้งธนาคารสหกรณ์ (Co-operative Bank)

2. ประชาสัมพันธ์ ให้ขบวนการสหกรณ์ และผุ้เกี่ยวข้องเข้าร่วมสานเสวนาโดยพร้อมเพรียงกัน3. เผยแพร่ผลการสัมมนาให้ขบวนการสหกรณ์ และผู้เกี่ยวข้องได้ทราบอย่างทั่วถึง

5 เป้าหมายของการสานเสวนา

ผู้เข้าร่วมสานเสวนา จำนวน 100 คน จาก ขบวนการสหกรณ์ , สถาบันการศึกษา , ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธ.ก.ส. , ค.ส.ช. นายทะเบียนสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

6. เวลาดำเนินการ

วันที่ .................................

7. งบประมาณ ค่าอาหารกลางวัน - บาท

ค่าเอกสาร - บาท

รวมเป็นเงิน - บาท

8. หน่วยงานรับผิดชอบ

สมาคมเศรษฐศาสตร์สหกรณ์แห่งประเทศไทย

9. หน่วยงานสนับสนุน

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงบประมาณ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด ชุมนุมร้านสหกรณ์แห่งประเทศไทย จำกัด ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนียนแห่งประเทศไทย จำกัด ชุมนุมสหกรณ์บริการแห่งประเทศไทย จำกัด ชุมนุมสหกรณ์ธนกิจไทย จำกัด บริษัทสหประกันชีวิต (มหาชน) จำกัด ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำกัด ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ไทยไอซีที จำกัด ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทย จำกัด ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจแห่งชาติ จำกัด บริษัททีเจซี เคมี จำกัด สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ของสหกรณ์สมาชิกชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย หนังสือพิมพ์เกลียวเชือก ฯลฯ

10. ประโยชน์ของโครงการ

1. ขบวนการสหกรณ์ไทยใช้บริการของศูนย์กลางทางการเงินของขบวนการสหกรณ์ในปัจจุบันในรูปแบบธนาคารเพื่อการสหกรณ์ (Bank for Cooperatives)คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ซึ่งได้รับการสนับสนุนผ่านมาจากรัฐบาลให้มากยิ่งขึ้น

2. แนวทางในการจัดตั้งศูนย์กลางทางการเงินหลักแห่งใหม่ในรูป ธนาคารสหกรณ์ (Co-operative Bank) ซึ่งขบวนการสหกรณ์ไทยเป็นเจ้าของ เป็นการพึ่งพาตนเองของขบวนการสหกรณ์ไทย ตามปรัชญาสหกรณ์ ช่วยตัว ช่วยกัน (Self -help Mutual help)

_____________________________

Peeraphong Varasen
17 August 2014

หมายเลขบันทึก: 574699เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2014 08:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2014 17:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท