บทคัดย่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ


ชื่องาน   วิจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

ผู้วิจัย      นางณฐมนแนวคำ

ปีการศึกษา    2554 - 2556

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียน ชุมชน วัดหนองค้อ2) ศึกษาบุคลากรบริหารแบบมีส่วนร่วม และ3)ศึกษาความพึงพอใจต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะระยะที่หนึ่งเป็นการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้เทคนิคMimi EDFR ( Ethnographic Delphi Futures Research )ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษาจำนวน 17 คนเพื่อนำมาร่างแนวทางนำร่องการบริหารแบบมีส่วนร่วม แล้วสร้างเป็นแบบสอบถาม เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนและคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง เพื่อ กำหนดแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในลักษณะการนำไปปฏิบัติในงานประจำ 4 งาน ของโรงเรียนระยะที่ 2ขั้นการศึกษาแนวทางนำร่องการบริหารแบบมีส่วนร่วมคือ การกำหนดแนวทางปฏิบัติในงาน 4 งานในลักษณะโครงการงานวิชาการ โครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้และโครงการนิเทศการศึกษา งานงบประมาณ คือ โครงการบริหารการเงิน และโครงการจัดสรรงบประมาณงานบริหารบุคคลคือโครงการบริหารการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ งานบริหารทั่วไปคือ โครงการบริหารดำเนินงานธุรการและโครงการ การบริหารส่งเสริมการประสานงานการศึกษาของบุคคล ชุมชน องค์กร หน่วยงาน และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนและคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง จำนวน 245 คนระยะที่สามเป็นการศึกษาผลของการบริหารแบบมีส่วนร่วมและความพึงพอใจต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างนี้ใช้ศึกษาได้แก่ผู้บริหารโรงเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง จำนวน 245 คน ที่ใช้ศึกษาคือ แบบสอบถาม 2 ฉบับ คือ แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการปฏิบัติการบริหารแบบมีส่วนร่วม และ แบบสอบถามความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)และการวิเคราะห์การสังเคราะห์ประเด็นสำคัญ บรรยายรายละเอียดของผลการบริหารแบบมีส่วนร่วม

ผลการศึกษาพบว่า

  • 1. แนวทางการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อโดยการบริหารงาน 4 งานคือ งานด้านบริหารวิชาการด้านการบริหารงบประมาณด้านการบริหารบุคคลและการบริหารทั่วไป โดยมีแผนดำเนินการแบบมีส่วนร่วมในโครงการ8 โครงการได้แก่โครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้โครงการนิเทศการศึกษาโครงการบริหารการเงิน โครงการจัดสรรงบประมาณโครงการบริหารการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการโครงการบริหารการดำเนินงานธุรการโครงการบริหารการส่งเสริมประสานงานการศึกษาของบุคคลชุมชนองค์กรหน่วยงานและสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา
  • 2.ผลการบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้านการวางแผนบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยรวมมีการปฏิบัติในระดับมาก คือ โรงเรียนส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษาครูรู้ บทบาทหน้าที่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการดำเนินบริหารแบบมีส่วนร่วม มีการปฏิบัติในระดับมาก คือโรงเรียนเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ด้านการประเมินผลการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากคือมีการชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประเมินผลโครงการโรงเรียนมีการประชุมคณะทำงาน มีการสร้างเครื่องมือประเมินผลการบริหารแบบมีส่วนร่วมในแต่ละกิจกรรมด้านความสำเร็จของการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีการปฏิบัติในระดับมาก คือ โรงเรียนมีการสื่อสารที่ดีสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ในการทำงานร่วมกันตลอดจนการเสริมสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุมชน นักเรียนมีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนส่วนด้านการประเมินผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมีการปฏิบัติในระดับมาก คือ ครูมีส่วนร่วมในการแนะแนวการศึกษาครูมีส่วนร่วมในการจัดประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียนครู คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนา ระบบประกันคุณภาพภายในตามลำดับ
  • 3.การศึกษาความพึงพอใจต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วม คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง
    • 3.1 ด้านการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมาก ( X = 3.97,S.D. = .13 )ด้านที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดคือการมีส่วนร่วมในการวางแผนงานด้านวิชาการ ( X = 4.48 ,S.D. = .67 )การมีส่วนร่วมในการจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา ( X = 4.07,S.D. = .25)และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ( X = 4.02 ,S.D. = 0.13 )
    • 3.2 ด้านการบริหารงบประมาณโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( X = 3.64 ,S.D. = .17 )ด้านที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด คือการมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ( X = 4.30 ,S.D. = 0.50 )การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษา ( X = 3.88 ,S.D. = .48 ) และการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบติดตามและรายงานการใช้งบประมาณและผลผลิตจากงบประมาณ ( X = 3.86 ,S.D. = .40 )
    • 3.3 ด้านการบริหารงานบุคคลโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.60 ,S.D. = .22 )ด้านที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด คือการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมวินัย คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับพนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษา ( X = 4.91 ,S.D. = .29 )การมีส่วนร่วมในการพัฒนาพนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษา การดำเนินการที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ( X = 4.82 ,S.D. = .38 )และการมีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ( X = 4.63 ,S.D. = .48 )
    • 3.4 ด้านการบริหารทั่วไปโดยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( X = 4.34 ,S.D.= 0.13 )ด้านที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดคือการมีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์งานการศึกษา ( X = 4.99 ,S.D. = .06 )การมีส่วนร่วมในแนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลงโทษนักเรียน( X = 4.80 ,S.D. = .40 )และการมีส่วนร่วมในการทัศนศึกษาดูงาน ( X = 4.55 ,S.D. =.50 ) ตามลำดับ
หมายเลขบันทึก: 574622เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2014 17:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กันยายน 2014 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท