๕๒๑. น้ำ - ธรรมะ


น้ำ - ธรรมะ

"น้ำ - ธรรมะ"

"น้ำ" ให้ความชุ่มชื่นแก่ทุก "สรรพสิ่ง"

"ธรรมะ" ให้ความเย็นใจ...แด่..."ผู้มีธรรมะ" ทุกคน

...

...

ในช่วงเวลาที่ฉันเกิดมาบนโลกมนุษย์ใบนี้...

สิ่งที่ฉันเห็น ฉันได้เห็นถึงความแตกต่าง...

ของความเป็นมนุษย์ ๆ แต่ละคนมีความแตกต่างกัน

บนความเหมือน...

สิ่งที่แตกต่างกัน นั่นคือ "จิตใจ"

สังเกตได้ว่า...บางคนมีจิตใจดี งดงาม

คิดดี พูดดี และทำแต่ในสิ่งที่ดี ๆ...

คนประเภทนี้ เหมือนผู้ที่มี "ธรรมะ" ในจิตใจ...

...

...

บางคนมีจิตใจที่มุทะลุ ดุดัน...

พูดจา กระโชก โฮกฮาก...

บางครั้งทำสิ่งที่ให้คนรอบข้างไม่พอใจ...

ไม่รับรู้ ไม่สนใจผู้อื่น นอกจากตัวของตัวเอง...

คนประเภทนี้ เหมือนผู้ที่ไม่มี "ธรรมะ" ในจิตใจ

ถ้าเปรียบเทียบ ไฟกับน้ำ ประเภทแรกน่าจะเป็นน้ำ

ส่วนประเภทหลังน่าจะเป็นไฟ...

ความฉ่ำเย็นของน้ำ ใคร ๆ เห็น ใคร ๆ ก็ต้องการที่จะ

อยู่ใกล้ เพราะทำให้สบายใจ สบายกาย...

สำหรับไฟ...ใคร ๆ ก็ไม่ต้องการที่จะเข้าใกล้...

เพราะเวลาเข้าใกล้แล้วทำให้ร้อนทุกที...

ฉันใด "ธรรมะ" ก็เปรียบเหมือน "น้ำ"

มีความชุ่มฉ่ำ เย็นใจเสมอ...สำหรับคนที่ปฏิบัติ "ธรรมะ"

ถ้าใช้จิต พิจารณาดูจริง ๆ.

แต่ทำไม? มนุษย์เราจึงไม่ลองใช้จิตตนเอง

พิจาณาดูเองบ้างล่ะ? ว่าระหว่างน้ำกับไฟ

เราควรเลือกอะไร?...

...

...

...

ผู้ใดหมั่นพิจารณาจิต

ผู้นั้นจะพบธรรมแท้ สุขแท้

นั่นคือ ที่สุดของผู้หยุดวัฏฏะ...

วัฏฏะ คือความวน หรือความเวียน ตามหลักธรรมในพุทธศาสนา มีสามอย่างคือ

  • กิเลสวัฏฏะ วนคือกิเลส
  • กรรมวัฏฏะ วนคือกรรม
  • วิบากวัฏฏะ วนคือวิบาก ผลของกรรม

อันหมายความว่า กิเลสก็เป็นเหตุให้ทำกรรม กิเลสจึงเป็นเหตุ กรรมจึงเป็นผลของกิเลสและกรรมนั้นเอง ก็เป็นตัวเหตุ ให้เกิดวิบากคือผล กรรมจึงเป็นเหตุ วิบากจึงเป็นผล และวิบากนั้นเอง ก็เป็นตัวเหตุ ก่อกิเลสขึ้นอีก เมื่อเป็นดังนี้ วิบากนั้นก็เป็นเหตุ กิเลสก็เป็นผลของวิบาก

เพราะฉะนั้นกิเลส กรรม วิบาก จึงวนอยู่ดั่งนี้ ก็โดยที่บุคคลนี้เอง หรือจิตนี้เองที่วนอยู่ในกิเลส กรรม วิบาก แล้วก็กลับเป็นเหตุก่อกิเลส กรรม วิบากขึ้นอีก สัตว์และบุคคลจึงวนเวียนอยู่ในกิเลส กรรม วิบาก ทั้งสามนี้ เป็น วัฏฏะ

กิเลส(แปลว่าสิ่งเกาะติด) และตัณหา(หมายถึงความติดใจอยาก) เป็นสิ่งที่แฝงติดอยู่ในใจ แล้วทำให้ใจเศร้าหมองขุ่นมัว ตัณหาเป็นต้นเหตุทำให้เกิดทุกข์ เมื่อดับตัณหาเสียได้ ก็เป็นอันว่าหักวัฏฏะดังกล่าวได้ ดับกิเลส ดับทุกข์ทางจิตใจในปัจจุบัน และเมื่อดับขันธ์ในที่สุด ไม่เกิดอีก ดับรอบสิ้นทุกข์ด้วยประการทั้งปวง

...

...

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติเข้ามาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

บุษยมาศ  แสงเงิน

๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๗

หมายเลขบันทึก: 574617เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2014 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2014 16:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สาธุครับ..วันนี้ พี่มาในฐานะหลวงแม่เลยนะครับ  จริงครับ..เห็นด้วยตามนั้น วัฏฏะมีสองนัยครับคือ วัฏฏะทางจิต (กิเลส ตัญหา วิบากกรม) และวัฏฏะทางภพชาติ (เกิด ดับ เกิด ดับ--->)

ขอบคุณครับ

ขอบคุณค่ะ คุณ ส.  เป็นเพราะเราอายุมากขึ้น เรียนรู้ชีวิตมากขึ้น จึงทำให้เรารู้จักชีวิตมากขึ้นมากกว่าค่ะ :) ขอขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจด้วยค่ะ

ตอนที่กำลังอ่านคิดว่าอ่านคำสอนของพระท่านใดท่านหนึ่งอยู่นะครับ...ลึกซึ้งมาก...

คนมีธรรมะ มีลักษณะ "ชุ่มเย็น"  คนอยู่ใกล้ก็มีอาการ "ชื่นใจ" หรือ "อบอุ่นใจเย็นใจ" เปรียบเหมือนกับการสัมผัส "สายน้ำ" อยู่ตลอดเวลา...

คนขาดธรรมะ มีลักษณะ "ร้อนรน มักโกรธ ขี้โมโห" คนอยู่ใกล้ก็มีอาการ "ร้อนใจ"  "กระวนกระวายใจ" หรือ "ไม่สบายใจ"  เปรียบเหมือนกับการสัมผัสหรือเข้าใกล้ "กองไฟ" เลยนะครับ...

สาเหตุที่คนไม่รู้จักใช้จิตตนเองรับสัมผัสหรือปฏิบัติในทาง "ชุ่มเย็น" ก็เพราะว่า เขาเหล่านั้นมี "โมหะ" หรือ "อวิชชา" ความเขลา ความลุ่มหลง ความไม่รู้จริง ครอบงำอยู่ หรือเหมือนกับผู้ที่ได้ชื่อว่า "เห็นกงจักรเป็นดอกบัว" นั่นแหละ ความหมายก็คือ ความหลง หรือ ไม่รู้จริง เหมือนกัน...

เหมือนคนหลงทางในเวลากลางวัน(เคยไหมครับ)หาทางออกไม่เจอ มันตื้องงมืดไปหมด จับทิศทางไม่ถูกไม่รู้เหนือรู้ใต้เลยครับ...

อยากให้เขารู้เราในฐานะผู้รู้(ทิศ)แล้ว ต้องคอยชี้ทางหรือบอกทาง(ทิศ)ให้เขาเกิดความรู้ ความเข้าใจหรือความสว่าง จนร้อง "อ๋อ" นั่นแหละเขาถึงจะปฏิบัติตามได้...

ดังพระดำรัสของพระพุทธองค์ที่มักกล่าวตอนท้าย ๆ พระสูตรว่า "ดั่งเปิดของที่คว่ำให้หงาย...ดั่งจุดโคมไฟส่องทางในที่มืด...ดั่งบอกทางแก่บุคคลผู้หลงทาง...ฉะนั้น" 

ขอบคุณค่ะ คุณพี่หนาน... อาจเป็นเพราะเราอายุมากขึ้น ได้รับรู้ เรียนรู้กับสิ่งต่าง ๆ มากมายเข้ามาในชีวิตด้วยกระมังค่ะ จึงทำให้เรารู้และแยกแยะว่าสิ่งใดควร สิ่งใดไม่ควร...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท