deawche
เดี่ยวเช คมสัน deawche หน่อคำ

เสียดายวิชาภาษาไทย


แตกประเด็น เสียดายวิชาภาษาไทย โดยมีดสองคม

เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2557 หรือวันภาษาไทยแห่งชาติ คนไทยต้องตะลึงกับข่าวเด็กชาย ยาซ่านักเรียนชั้นประถมปีที่ 3 โรงเรียนอรุณเมธา ผู้ถือสัญชาติพม่าชนะเลิศการการประกวดคัดลายคัดลายมือภาษาไทย ทำให้คนไทยจำนวนมากต้องกลับมาย้อนดูว่าลูกหลานชาวไทยละเลยการศึกษาไปแค่ไหน โดยเฉพาะวิชาภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติไทยที่มีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ที่มีรูปแบบและแบบแผนอย่างชัดเจนและถูกคิดค้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงซึ่งภาษาเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ ภาษาเป็นสื่อใช้ติดต่อกันเเละทำให้วัฒนธรรมอื่นๆ เจริญขึ้น เเต่ละภาษามีระเบียบของตนเเล้วเเต่จะตกลงกันในหมู่ชนชาตินั้น ภาษาจึงเป็นศูนย์กลางยืดคนของทั้งชาติ ดังนั้นภาษาก็เปรียบได้กับรั้วของชาติ ถ้าชนชาติใดรักษาภาษาของตนไว้ได้ดี มีความบริสุทธิ์ทางภาษา ก็จะได้ชื่อว่า รักษาความเป็นชาติ

แต่ระบบการศึกษาในปัจจุบันกับมุ่งแน้นให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีจนเกินไป จากความสะดวกสบายที่ใช้เพียงปลายนิ้วสัมผัสกลายเป็นความเคยชินฝังรากลึกจนลูกหลานเยาวชนมองข้ามคุณค่าของภาษาไทย ในอดีตการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย เด็กๆทุกคนจะต้องรู้จัก อ่านและเขียน ตัวอักษรไทย,สระและวรรคยุกต์ทุกตัวได้ ซึ่งเป็นรากฐานของภาษาไทย โดยคุณครูจะให้เด็กๆท่องอักษรหรือกลอนต่างๆภาษาไทย ก่อนกลับบ้านทุกวัน เสียงเด็กๆท่อง สระอะ สระอา กลายเป็นกิจวัตรประจำวันก่อนเลิกเรียนทุกวัน ทำให้สามารถอ่านออกและเขียนภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง ซึ่งแตกต่างกับเด็กไทยในยุคสมัยที่เทคโนโลยีล้ำสมัยก้าวหน้าอย่างมาก คอมพิวเตอร์กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการเรียนการสอนที่ความสามารถช่วยอำนวยความสะดวกแบบครอบจักรวาล ไม่ว่าจะเป็นการเขียน-การอ่านหนังสือ ก็สามารถทำแทนได้อย่างง่ายดาย ทำให้เยาวชนละเลยหรือมองไม่เห็นความสำคัญของภาษาไทยไป

สำหรับตัวผู้เขียนเองได้มีโอกาสพบเจอคุณครูภาษาไทยหลายท่าน ซึ่งแต่ละคนก็ได้แต่บ่นด้วยความเป็นห่วงลูกศิษย์ว่า “เด็กๆในสมัยนี้ แม้จะเรียนระดับมัธยมแล้วยังเขียนหนังสือไม่ถูกต้อง บางรายอาการหนักอยู่ในระดับอ่านหนังสือยังไม่ถูกต้องเลย บอกให้ฝึกให้เขียนให้อ่านก็เถียง อ้างว่าวิชาการเรียนมีเยอะจะทำรายงานส่งไม่ทัน” ทำให้เราจะต้องย้อนมองไปยังวิธีการใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันของคนส่วนมาก ที่แบ่งปันเวลาให้กับการสื่อสารในโลกโซเชียลมากเกินไป นับตั้งแต่การใช้ภาษาแบบผิดๆกลายเป็นแบบอย่างที่ลอกเรียนแบบกัน ยิ่งนานวันเข้าคำสะกดที่ผิดๆก็จะกลายคำสะกดที่ถูกต้องหรือการพิมพ์แบบข้อความสั้นสร้างความเข้าใจแบบผิดไม่สนใจความหมายที่สื่อออกมา ซึ่งการปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปภาษาไทยคงจะผิดเพี้ยนอย่างมากขึ้น สงสารครูบาอาจารย์ที่อุตสาห์สอนสั่งมาอย่างดี วันนี้คงจะต้องทบทวน สังคายนาในเรื่องการใช้ภาษาไทยกันหรือเราถึงจะมีความภูมิใจในรากเง้าของเรา ดังที่กล่าวกันเล่นๆว่า “อีกไม่นานคนไทย ต้องให้ฝรั่งตาน้ำข้าวมาสอนภาษาไทยเสียแล้ว”.................

หมายเลขบันทึก: 573580เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2014 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 กรกฎาคม 2014 10:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ถึงเวลาแล้วหรือยัง.....ที่่ครูผู้สอนภาษาไทยในระดับประถมศึกษาต้องหันหน้ามาช่วยกัน หาวิธีสอน

ภาษาไทย  ให้เด็กประถมอ่าน และเขียนได้อย่าง  " รักษ์ภาษาไทย"  เหมือนสมัยปู่ ย่า ตา ยาย อย่าง

แท้จริง    ประถมศึกษา คือบันไดข้้นแรกของการเรียน  หากบันไดขั้นนี้  ผุ  กร่อน  ก็อย่าหวังเลยว่า 

บันไดขั้นต่อ ๆ ไปจะมั่นคง  แข็งแรง  ต่อให้รณรงค์ให้มีจิตสำนึกรักภาษาไทย  ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง

เพียงใด  ก็ไม่มีวันจะปลูกจิตสำนึกให้กับเด็กไทย  และคนไทยได้อย่างครบถ้วนเลย   ครูผู้สอนจะทราบ

ดีถึงปัญญาในการสอนอ่านสอนเขียน  ถ้าหากครูได้มีส่วนในการแก้ปัญหานี้อย่างจริงจังทุกกระบวนการ

ของการศึกษาอย่างจริงจัง ( ไม่ใช่ชั่วครั้งชั่วคราวอย่างเดี๋ยวนี้ )  ....  ความหวังเรื่องการแก้ปัญหา

การอ่านการเขียนภาษาไทย ก็คงลดน้อยถอยลงไปได้อย่างเป็นรูปธรรม...แม้จะใช้เวลานานแต่ก็ดีกว่า

รณรงค์ให้เด็กอ่านออก  เขียนได้ในพริบตา....เหมือนที่ผ่านมา ......

เห็นด้วยครับ จิตสำนึกเริ่มต้นที่เด็กประถม เหมือนที่ครูมะเดื่อสะท้อนครับ ไม่ใช่ให้เด็กตามนโยบายเจ้ากระทรวงศึกษาฯ แต่ละยุคมาทดสอบความคิดทฤษฎีขงอคนว่าจะได้ผลไหม...เหนื่อยกับครูที่จะต้องปฏิบัติตาม แต่ก็ไร้ผล และไม่มีความรับผบชอบใดๆ ผลคือ เด็กของชาติจึงโง่จมสื่อถาวร ไม่รู้ผู้ใหญ่โง่หรือเปล่าจึงสะท้อนมาที่เด็กครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท