บัณฑิตที่พึงประสงค์


"การสร้างจิตสำนึกดี บุคลิกภาพดี เพื่อเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์มันต้องปลูกฝังจากครอบครัว โรงเรียนอย่างจริงจังและยั่งยืน"

         ไม่น่าเชื่อว่าสังคมปัจจุบันที่เรากำลังชื่นชม  เป็นเพียงผิวที่เรามองว่าสวยงาม   แต่หากเจาะลึกๆลงไปแล้วสังคมเยาวชนไทยดูแล้วน่าเป็นห่วง จริงไม่จริงก็มีข้อมูลจากวิทยากรว่าเดี๋ยวนี้  สตรีไทยดื่มเบียร์เก่งกว่าชายไทย   และอายุที่เริ่มต้นอยู่ที่อายุ 18 

         การจัดสัมมนาเพื่อพิจารณาทบทวนคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของม.ขอนแก่น   โดยฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์  เมื่อวันที่ 1 พ.ย. ที่ผ่านมา  แม้ว่าคนจะเข้าร่วมน้อย  แต่ก็มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้บริหาร  และภาคเอกชน กลุ่มสายสนับสนุนและศิษย์เก่า   และที่ขาดไม่ได้คือกลุ่มของนักศึกษา

       เรื่องนี้เราพูดกันมานานแต่การนำลงสู่การปฏิบัติยังไม่จริงจัง   เราต้องยอมรับความจริงว่า  สถานศึกษาทุกแห่งต้องการผลิตนักศึกษาให้ เก่งงาน  เก่งคน  และเก่งวิชาการ   แต่การที่จะเก่งสิ่งเหล่านี้ต้องมี "จิตสำนึก" หากขาดจิตสำนึกแล้วทุกคนคงลืมบทบาทหน้าที่จนหมดสิ้นไม่ว่าจะเป็นบทบาทหน้าที่ของนักศึกษาที่ต้องมีชีวิตในสถานศึกษาอย่างน้อย 4  ปี

       แต่เชื่อไหมว่าเรื่องนี้ไปสอดคล้องกับ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์   ที่จะจัดหลักสูตร พัฒนาบุคลิกภาพและศักยภาพของมนุษย์ขึ้น  หากหลักสูตรนี้เกิดขึ้นมาจริงเปรียบเสมือนยาที่ใส่ในแคปซูล มาเยียวยาสังคม   แต่อย่าลืมความจริงหากจะให้ได้ผลในเรื่องนี้ HR เราต้องให้ความรู้แก่นักศึกษาหรือให้นักศึกษามีส่วนรู้ส่วนเห็นมากกว่าที่เราจะเขียนออกมา ว่า นักศึกษาต้องมีจิตสำนึก  บุคลิกภาพดี  และเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ และก็เวียนหนังสือให้ทราบกันเท่านั้น  

       เชื่อไหมว่า  มีคำถามกลับมาว่า  ในเมื่อเราต้องการบัณฑิตที่พึงประสงค์  และอาจารย์หรือบุคลากรมหาวิทยาลัยที่พึงประสงค์เป็นอย่างไร?   ไม่แตกต่างกับเรื่องแม่ปูกับลูกปูที่พยายามเรียนรู้ซึ่งกันและกัน  หากไม่รีบแก้ไขเชื่อได้ว่าสิ่งดีๆสำหรับนักศึกษาและเยาวชนไทยคงหมดไปจากวัฒนธรรมความเป็นไทย 

       ในที่นี้ผมขอสรุปผู้แทนของนักศึกษา(นายวิวัฒน์) อดีตประธานสภา ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาการจัดการ  บอกว่าอยากเห็ฌนนักศึกษา เก่งดี  มีสุข  นอกจาก 12 ข้อที่มหาวิทยาลัยกำหนดแล้ว  ต้องเพิ่ม ทักษะการกล้าแสดงออกและความเป็นผู้นำ  พร้อมด้วยทักษะการรักองค์กรและท้องถิ่น  ซึ่งก็สอดคล้องกับความคิดเห็นของภาคเอกชน ที่อยากรับคนเข้าทำงานไม่ใช่แค่เรียนเก่งแต่ตำรา  แต่ต้องสามารถนำมาประยุกต์ใช้

       แต่บทบาทของศิษย์เก่าและสายสนับสนุนที่อยากเห็นคือความมีจิตสำนึกและบุคลิกภาพดี แต่การสัมมนาครั้งนี้มีแนวทางกลุ่มย่อยอีก 3 กลุ่ม  โดยสรุป                   กลุ่มที่ 1ผู้บริหารและภาคเอกชน  มองว่าบัณฑิตที่พึงประสงค์  ต้อง 3 เก่ง  เก่งคน  เก่งงาน  เก่งวิชาการ   และในที่นี้เก่งคนต้องมีส่วนของเรื่อง บุคลิกภาพ  มาเกี่ยวข้อง         กลุ่มที่ 2  สายสนับสนุนและศิษย์เก่า  ฟันธงไปที่เรื่อง บุคลิกภาพ  เป็นหัวใจในการนำไปสู่บัณฑิตที่พึงประสงค์ 

            กลุ่มที่ 3 นักศึกษา  สรุปแนวทางอยู่ 8 ข้อ  สาระสำคัญ  เช่น มีความภาคภูมิใจในมหาวิทยาลัย มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ทั้งร่างกาย-จิตใจ   และอื่นๆ

      โดยความคิดเห็นส่วนตัวแล้วเราอย่าโยนปัญหาเหมือนเล่นลูกช่วง  การสร้างจิตสำนึกดีบุคลิกภาพที่ดี เพื่อเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์  มันต้องปลูกฝังจากครอบครัว  โรงเรียนอย่างจริงจังและยั่งยืน  ก่อนที่จะมาเป็นนักศึกษาเพื่อเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์

        ท่านคิดอย่างไรกับเรื่องนี้ช่วยกันShareหรือเขียนเป็นข้อๆ  หากมีการสรุปของเวทีนี้ที่ชัดเจนจะได้มาแลกเปลี่ยนเรีนรู้กันต่อไป

ชำนาญ  บัวทวน

  

 

                   

หมายเลขบันทึก: 57298เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2006 20:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 11:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
การเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ (ของใคร?) มันเป็นคำถามที่น่าสนใจนะครับ ถ้าเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของบริษัทเอกชนของแต่ละสาขาวิชาชีพ หรือถ้าเป็นองค์กรใหญ่ ๆ ที่นำเรื่อง Competency มาใช้เขาก็จะตอบได้ทันทีเลยว่า บัณฑิตที่จบออกไปแล้วไปร่วมงานกับบริษัทในตำแหน่งอะไร เขาจะมี Competency ให้ชัดเจน แต่ถ้าบริษัทเอกชนที่ยังไม่ได้นำเรื่องนี้มาใช้จะอธิบายได้อย่างไร เพราะยังไม่ได้รวบรวมไว้อย่างเป็นหลักเป็นฐาน เพราะฉะนั้นมันต้องมีกระบวนการในการหา กระบวนการทางการวิจัยเพื่อหาออกมาให้ได้ว่าบัณฑิตที่พึงประสงค์มีอะไรบ้าง ถ้าถามนักวิจัยทางสังคมศาสตร์ก็จะพบเทคนิคการหาว่ามีด้วยกันหลาย ๆ เทคนิค เทคนิคที่นักวิจัยนิยมกันมากก็คือ Delphi Technique นำมาค้นหาบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ก็จะสามารถตอบได้ การให้คนไม่กี่คน (โดยคิดว่าเป็นภาคส่วน หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Steckholder) แล้วบอกว่าเป็นตัวแทนของทุกภาคส่วนแล้วสรุปออกมาว่าเป็นภาพรวมของทุกคน คิดว่ามันไม่น่าจะใช่ ยกเว้นว่าทำการศึกษาวิจัยแล้วค่อยมาทำประชาพิจารณ์น่าจะตรงมากกว่า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท