การกู้เงิน ตามพระราชดำรัสพระาบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ


พอพูดถึงคำว่า หนี้ ผู้ที่ไม่เคยจน ไม่เคยเป็นหนี้ มักมองว่าเป็นเรื่องที่น่ากลัว จริงแล้วการเป็นหนี้ใช่ว่าจะน่ากลัวไปเสีึยทั้งหมด หนี้ที่น่ากลัวมักเป็นหนี้เพื่อการบริโภคอุปโภค คือไปกู้มากินมาใช้ ให้มันหมดไปวัน ๆ และไม่มีรายได้กลับคืนมา และมีลักษณธที่เป็นหนี้เรื้อรัง ยืดเยื้อ โอกาสที่จะหมดหนี้หรือมองแทบไม่เห็นหนทางจะปลดหนี้นั้นได้ ยิ่งถ้าลูกหนี้ขาดความซื่อสัตย์ และขยันขันแข็งในการทำมาหารายได้แล้วละก็ ยิ่งไปกันใหญ่ จะเป็นการยิ่งเพิ่มความยากจนที่มีอยู่แล้วให้ยิ่งยากจนมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ สหกรณ์จะต้องดูดี ๆ ว่าสมาชิกที่มาขอกู้หนี้ยืมสินจากสหกรณ์นั้น เขากู้ไปเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหรือกู้ไปเพื่อเป็นการลงทุน แต่ส่วนใหญ่สหกรณ์ก่อนจะให้สินเชื่อมักจะมองที่วัตถุประสงค์ของการให้สินเชื่อ เพื่อที่จะทำให้สมาชิกมีการพัฒนาชีวิตและอาชีพ จะได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ สหกรณ์ก็ควรจะมองที่ตัวผู้กู้ว่ามีความขยัน ตั้งใจทำมาหากินเป็นพื้นฐาน จากประวัติการทำงานที่ดี มีความไว้วางใจและซื่อตรงอย่างแท้จริง สินเชื่อที่ให้จะต้องเน้นหนักไปที่การส่งเสริมสนับสนุน และสอดคล้องกับอาชีพ เช่น การผลิต การแปรรูป การตลาด เป็นต้น และจะต้องมีวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมที่แน่นอน

การให้สินเชื่อของสหกรณ์จะไม่เหมือนกับการให้สินเชื่อ จากแหล่งเงินกู้โดยทั่ว ๆ ไป ที่มักจะเน้นหนักไปที่ความมั่นคง ของหลักประกัน ส่วนวัตถุประสงค์ละการชำระคืนนั้นเป็นเรื่องรองลงมา แต่สำหรับสหกรณ์แล้วการให้สินเชื่อ ก็หวังว่าลูกหนี้จะต้องมีชีวิตที่ดีขึ้น และผู้กู้ได้นำเงินไปใช้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่ เกิดรายได้เลี่้ยงตนเองและครอบครัว พอที่จะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นหรือไม่ จึงมองที่ความขยันขันแข็ง ความตั้งใจในการประกอบอาชีพ มีประวัติเป็นคนซื่อสัตย์ไว้วางใจได้มากน้อยเพียงใด

หมายเลขบันทึก: 572529เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2014 14:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กรกฎาคม 2016 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท