คุณค่างานวิจัยของ NSTDA Chair Professor ต่อสุขภาวะของมนุษยชาติ


เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ศกนี้ ข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปร่วมงานพิธีมอบทุน NSTDA Chair Professor ประจำปี ๒๕๕๖ และการรายงานความก้าวหน้าทุน NSTDA Chair Professor ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บริษัทปูนซิเมนต์ไทยฯ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่แห่งชาติ (สวทช.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง "ศาสตราจารย์ที่เป็นผู้นำกลุ่ม" ในด้านการวิจัย พัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี อันเชื่อมโยงกับภาคการผลิตและบริการ ซึ่งจะเป็นการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

ศ.ดร.วันเพ็ญ ชัยคำภา และทีมวิจัย จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับทุน NSTDA Chair Professor ประจำปี ๒๕๕๖ ได้ทำการวิจัยเพื่อต่อยอดองค์ความรู้และสร้างนวัตกรรมด้านโรคติดเชื้อชนิดเฉียบพลัน เรื้อรัง และโรคภูมิแพ้ โดยการผลิตแอนติบอดี้ หรือภูมิคุ้มกันของคนที่พร้อมใช้สำหรับรักษาโรคไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนก ในผู้ที่ติดเชื้อไวรัสดื้อยา หรือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอาการรุนแรงเมื่อติดเชื้อ และอาจเสียชีวิตได้ เช่น ผู้สูงวัย เด็กทารก หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง ที่ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นภูมิคุ้มกันที่สามารถฉีดให้แก่ผู้ป่วยและออกฤทธิ์ต้านไวรัสทันที โดยไม่ต้องรอให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเอง ต่างจากวัคซีนที่ต้องรอเป็นเวลา ๗-๑๐ วันจนกว่าร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันออกมา ซึ่งอาจไม่ทันการ นอกจากนั้นโดยที่ไวรัสต้นเหตุโรคเปลี่ยนสายพันธุ์ไปทุกปี ทำให้ต้องเตรียมวัคซีนใหม่ทุกปีที่แต่ละคนต้องฉีดวัคซีนอย่างสม่ำเสมอ ส่วนผู้ที่แพ้โปรตีนจากไข่ไม่สามารถรับวัคซีนได้ เพราะไวรัสที่ใช้เป็นวัคซีนต้องเพาะเลี้ยงในไข่ไก่ฟักปลอดเชื้อ ประกอบกับปริมาณวัคซีนที่ผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ โดยประเทศไทยต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ยังไม่สามารถต้านทานไวรัสที่มีสายพันธุ์ใหม่ๆเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย

ในกรณีโรคตับอักเสบชนิดซี ซึ่งมีประชากรโลกติดเชื้อนี้ประมาณ ๒๐๐ ล้านคนรวมทั้งคนไทย โดยแต่ละปีมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอีก ๓-๔ ล้านคน ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นผลให้เกิดมะเร็งตับ ตับแข็ง หรือตับวายได้ ซึ่งในขณะนี้ ไม่มีวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบซี การรักษาจึงใช้ยากินและยาฉีดอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลานานหกเดือนถึงหนึ่งปี ในราคาที่แพง และหมดอายุเร็ว ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และที่สำคัญคือ ยาออกฤทธิ์ และมีผลข้างเคียงทำให้ผู้ป่วยส่วนหนึ่งป่วยมากขึ้นในขั้นรุนแรง เช่น เม็ดเลือดแดงแตก ทำให้เลือดจาง มีอาการทางระบบประสาท และดื้อยา

ทีมวิจัยชุดนี้ ได้มีแนวคิดในการรักษาโรคตับอักเสบซีแบบใหม่ คือ การใช้แอนตีบอดี้สายเดี่ยว หรือ แอนตีบอดี้จิ๋วของคนที่มีความจำเพาะต่อโปรตีนสำคัญของไวรัส เช่น เอนไซม์ โดยแอนตีบอดี้เหล่านี้ สามารถเข้าเซลล์ได้เอง เพื่อไปขัดขวางการเพิ่มจำนวนไวรัสในเซลล์ของตับ และยับยั้งไม่ให้โรคลุกลามกลายเป็นโรคตับระยะสุดท้าย โดยที่ในขณะนี้ ทีมวิจัยมีแอนติบอดี้ที่มีประสิทธิภาพดีเหล่านี้ ในรูปแบบที่สามารถนำไปขยายการผลิตในอุตสาหกรรมได้ เพื่อใช้ทดสอบทางคลีนิคต่อไป




ในกรณีโรคภูมิแพ้แมลงสาบสายพันธุ์อเมริกาที่มีอยู่ชุกชมในประเทศไทย ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคภูมิแพ้แมลงสาบเป็นจำนวนมาก ทีมวิจัยชุดนี้ ได้ทดสอบวัคซีนรักษาโรคภูมิแพ้แบบใหม่ ที่เตรียมจากสารก่อภูมิแพ้บริสุทธิ์ชนิดพ่น หรือหยอดจมูกที่ได้พัฒนาขึ้นเอง และทดสอบมาแล้วว่า ได้ผลดีในสัตว์ทดลองที่เป็นโรคภูมิแพ้ คือสามารถเบี่ยงเบนร่างกายให้ตอบโต้สารภูมิแพ้แบบที่ไม่ทำให้เกิดภูมิแพ้ต่อไป หรือเพื่อให้หายขาด เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย



ปัญหาโรคภูมิแพ้ในพิษของแมลงขาข้อบางชนิด เช่น ผึ้ง มด และตัวต่อหัวเสือ ทีมวิจัยชุดนี้ ได้พัฒนาน้ำยาเพื่อตรวจวินิจฉัยและประเมินสภาวะการแพ้ของผู้ที่ถูกแมลงเหล่านี้กัดต่อย และมีอาการแพ้พิษรุนแรง เช่น ช็อค แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ซึ่งหากได้รับการรักษาไม่ทันการอาจถึงแก่เสียชีวิตได้ แมลงขาข้อที่เป็นพิษเหล่านี้ในประเทศไทย มีความแตกต่างจากที่มีอยู่ในต่างประเทศ จึงต้องมีน้ำยาเพื่อตรวจสอบวินิจฉัย และประเมินสภาวะการแพ้ที่ตรงกับสายพันธุ์ที่คนไทยแพ้ ซึ่งเป็นนวัตกรรมเพื่อพึ่งตนเองของบริการทางการแพทย์ไทย และเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างยั่งยืนด้วย

ต่อมาอีกสองปี ได้มีพิธีมอบทุนประจำปี ๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๘ และลงนามในสัญญาให้ทุน NSTDA Chair Professor(ทุนที่๔) ที่ร่วมกันจัดตั้งโครงการทุนนี้ โดยมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และสำนักงานพัฒนาวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี่แห่งชาติ (สวทช) ที่ห้องเทเวศร์ อาคาร ๔ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พร้อมทั้งมีการรายงานความก้าวหน้าของโครงการบางโครงการที่เคยได้รับทุนนี้ด้วย

ภาพและข้อมูลจากมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

..........................................................................................................................................................................................



ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ พี่ใหญ่ น้องไม่ได้เข้ามาสวัสดีคุณพี่พักใหญ่ๆ หวังว่าคุณพี่คงสบายดีนะคะ 

อ่านบันทึกนี้ ทำให้ทราบว่า มูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้มีส่วนสนับสนุนการวิจัยของชาติด้วย และงานวิจัยของผู้ได้รับทุนก็มีคุณค่ามากนะคะ   

น้องเห็นว่า งานวิจัยด้านวิทยาศาตร์ และเทคโนโลยี ต่างจากงานวิจัยทางการศึกษาที่เห็นได้ชัด คือ ผลผลิตจากการวิจัย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน แต่งานวิจัยทางการศึกษา แม้จะได้ผลผลิตที่เป็นรูปธรรม เช่น นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ แต่เมื่อนำไปใช้ก็จะไม่เห็นผลชัดเจนเพราะการเรียนรู้ของคนมันเป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะเป็นนามธรรมค่ะ 

...เป็นคนหนึ่งที่เป็นโรคภูมิแพ้แมลงสาบค่ะ...ถ้าอยู่ที่ไหนมีแมลงสาบ จามจนเหนื่อยพาลจะมีอาการหอบอีก ต้องหลีกหนีให้ไกล ทำให้เป็นคนรักความสะอาดมากๆไปโดยปริยายค่ะ...

เป็นการวิจัยที่มีประโยชน์มากเลยครับ

ตอนแรกๆได้ติดตามอ่านเรื่องสบู่ดำของโครง การการปรับปรุงพันธุ์เพื่อเร่งการปลูกเลี้ยงสบู่ดำพันธุ์ใหม่สำหรับพลังงาน และอาหารสัตว์ (ศ.ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ ม.เกษตรศาสตร์) ปี 2554

เคยเห็นคนแพ้ผึ้ง แล้วน่ากลัวมาก แต่ที่แปลกคือ บางคนแพ้มดครับ

โดนมดกันแล้วแน่นหน้าอกตาย  น่ากลัวมาก 

ขอบคุณมากๆครับ

ขอบคุณพี่ใหญ่มากค่ะ  สำหรับความก้าวหน้าให้ติดตาม  และเห็นความสำเร็จที่เป็นนวัตกรรมของคนไทยเพื่อการพึ่งตนเอง  เพื่อการรู้เท่าทันและเกิดเป็นความภูมิใจในผลงานของคนไทยที่ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

จันทวรรณ

ขจิต ฝอยทอง

Wasawat Deemarn

ถาวร

tuknarak

Pojana Yeamnaiyana Ed.D.

ไอดิน-กลิ่นไม้

* สวัสดีค่ะ ขอบคุณมากสำหรับกำลังใจมอบแก่นักวิจัยไทยเพื่อสุขภาวะที่ดีของมนุษยชาติค่ะ

* น้องผศ.วิไล...สำหรับทุน NSTDA Chair Professor นี้ได้รับการสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่องจาก 2 โครงการที่แล้ว คือ 1.โครงการการออกแบบและผลิตวัศดุ Nano ที่เป็นประโยชน์อย่างสูงต่ออุตสาหกรรม (ศ.ดร.จำรัส ลิ้มตระกูล ม.เกษตรศาสตร์ ปี2552) 2. โครงการการปรับปรุงพันธุ์เพื่อเร่งการปลูกเลี้ยงสบู่ดำพันธุ์ใหม่สำหรับพลังงานและอาหารสัตว์ (ศ.ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ ม.เกษตรศาสตร์) ปี 2554

* น้อง Dr.Pojana...เป็นกำลังใจให้นะคะสำหรับอาการภูมิแพ้แมลงสาบ ซึ่งเป็นที่หวังว่าโครงการวิจัยข้างต้นนี้ จะเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมในการตรวจสอบวินิจฉัย และประเมินสภาวะการแพ้ที่ตรงกับสายพันธุ์ที่คนไทยแพ้ ซึ่งเป็นนวัตกรรมเพื่อพึ่งตนเองของบริการทางการแพทย์ไทย และเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างยั่งยืนค่ะ

* น้องดร.ขจิต...โครงการสบู่ดำ เป็นผลงานจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งได้รับทุนนี้ และได้มารายงานความคืบหน้า ในขั้นตอนของการผสมพันธุ์กับพืชอย่างอื่น เช่น เข็มปัตตาเวีย เพื่อให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นและจัดรูปทรงที่พัฒนาและง่ายต่อการเก็บผลสบู่ดำค่ะ...

* น้องพานทอง....การช้วยกันสนับสนุนเพื่อการวิจัยต่อยอดเช่นนี้ ช่วยลดการพึ่งพาเวชภัณท์จากต่างประเทศ นับเป็นคุณาปการแก่ผู้ป่วยได้อย่างมากๆค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท