ในระหว่างที่นั่งกำหนดลมหายใจนั้น ถ้าเกิดความฟุ้งซ่าน ให้เพ่งจิตมาที่ลิ้นปี่แล้วกำหนด ฟุ้งซ่าน...หนอ
ถ้าเกิดความง่วงเหงาหาวนอน ให้เพ่งจิตมาที่ระหว่างหัวคิ้ว แล้วกำหนด รู้ตัว...หนอ
ถ้าเกิดความเจ็บปวดที่ขา ให้เพ่งจิตมาที่บริเวณที่เจ็บปวด แล้วกำหนด เจ็บ..หนอ
ถ้าได้ยินเสียงแว่ว ทำให้จิตไม่นิ่ง ให้กำหนดฟังเสียงนั้น แล้วกำหนดว่า เสียง...หนอ
ในระหว่างที่กำหนดนี้ จิตใจจะต้องเป็นกลางไม่มีอารมณ์ความรู้สึกใดๆ กำหนดเพื่อการรับรู้ และดูตามให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด แต่ถ้ากำหนดแล้วทุกอย่างก็ยังเป็นเหมือนเดิม ให้เลิกสนใจในสิ่งนั้นแล้วหันกลับมาเริ่มกำหนดลมหายใจใหม่
ยากจัง -_-" ถึงว่าคนส่วนหนึ่งไม่อยากไปวัด...เรวทั้งผมด้วย...
แต่ว่าได้มีโอกาสได้ฟังธรรมบางครั้ง หัวใจของการนี้มีอยู่ว่า
"จะมีอาการอะไรเกิดขึ้นกับร่างกาย ให้รับรู้เฉยๆไม่ต้องบังคับอะไร ไม่ต้องควบคุม แค่รับรู้ว่ามันเกิด นี่การการดูกาย"
"และมีอาการอะไรเกิดขึ้นกับความคิดตอนนั้น ก็รับรู้ว่ากำลังคิด ส่วนจะรู้ว่าคิดดีคิดไม่ดีอย่างไรนั้น ก็ให้รูเห็น ว่ากำลังคิดอย่างนั้น อย่าไปบังคับ อย่าฝืน อย่าต่อต้าน ความคิด แค่รู้ว่าความคิดเกิดก็พอ นี่เป็นการดูจิต"
"คือว่าเราไม่จำเป็นต้องนังสมาธิเสมอไปครับ อาจเดิน นอน วิ่ง กิน ฯลฯ แค่รับรู้ว่าขณะนั้นเกิดอะไรก็พอ"
-_-" รู้อย่างนี้แล้วผมก็ยังไม่เคยปฏิบัติธรรมเลย ฟังเค้าพูดมาอีกที คงไม่มีประโยชน์ถ้าอมเอาไว้...