ฮักนะเชียงยืน 36


ให้ความคิดเด็กเป็นผู้นำเรา ส่วนเราคอยเสริมสิ่งที่เขาขาดไป

ลงติดตามงานเด็กน้อย ปลูกเกษตรอินทรีย์ "มุ่งสู่ตลาดเขียว"


        จากที่ได้จุดประกายสร้างเเรงบันดาลใจให้ผนวกกับหลักคิดในการพัฒนาโครงการ ในค่ายที่เเล้วซึ่ง คือ ค่ายเรียนรู้ร่วมกัน มาถึงคราวนี้ ก็ต้องติดตามงาน ครั้งนี้มาติดตามงานของเด็กกลุ่ม้บานเเบก(มัธยม) ที่เลือกประเด็นปัญหา สารเคมีในชุมชน โดยมีการเเก้ไขปัญหา คือ การปลูกเกษตรอินทรีย์ เพื่อเป็นทางเลือกในการบริโภคผักที่ปลอดภัยเเก่ตนเอง โดยมีกลุ่มที่ปลูกเกษตรอินทรีย์จำนวน 4 กลุ่มด้วยกัน ซึ่งผักสวนครัวก็จะต่างกันออกไปโดยเราคำนึงถึงว่า "จะต้องเลือกผักที่ชาว้บานชอบกินมากที่สุด" เเล้วได้ข้อสรุป จึง "ทำทันที" ลงเเปลงเลย  เเปลงที่จะปลูกนี้ดีหน่อย เพราะเป็นที่สาธารณะ ที่ชาวบ้านทุกๆคนสามารถมาจับมาจองทำกินได้ฟรี จึงเป็นโอกาสสำคัญที่ทำให้ต้องเลือกสถานที่เเห่งนี้  เเล้วอีกอย่างอยู่บนคูสระน้ำ จึงเหมาะสมในการปลูกผักเป็นอย่างยิ่ง  

        ในวันเเรกเห็นเด็กไปติดต่อประสานงานกับผู็ใหญ่บ้านในเรื่องการจับจองที่เเห่งนี้ เเล้ววันที่สอง,สาม เป็นการถางหญ้าเเละเตรียมดินเพื่อทำแปลง วันที่ สี่มา เริ่มเป็นรูปเป็นร่างโดยเป็นเเปลงเเล้ว มีการเอาเเกลบ  เอามูลวัว  มาผสมเข้ากับดินเพื่อเสริมสารอินทรีย์ในดิน เพาะเราปลูกแบบไม่ใช้สารเคมี  ทำเเปลงๆนี้โดยอาศัยเวลาช่วงเลิกเรียนในการทำแปลงเเละพรวนดิน  ในช่วงวันใดที่ทำแปลงไว้เเล้วในเมื่อวันวาน เเต่ฝนตกลงมา ก็ต้องพวนดินใหม่ ให้ดินที่ความเหมาะสมมากที่สุด ให้อากาศเข้าไปให้ดินได้หายใจมากที่สุด เเล้วจึงปลูกที่ได้เมล็ดมาจาก การซื้อตามท้องตลาด เพาะเมล็ดพันธุ์พื้นบ้านเรานั้น "ไม่มี" จึงต้องหาซื้อตามท้องตล่าดเเทน เเต่ก็ไม่เป็นไร ขอเพียงผลที่ได้นั้น เรากิน มันปลอดภัยก็เป็นพอ 

        ตอนนี้เด็กน้อยบ้านเเบก ก็หว่านเมล็ดเเล้ว เหลือเพียงการคอยดูเเลเฝ้าดูความเติบโตของพืชผัก เเต่ในมุมของพี่เลี้ยงนั้น เรายังเฝ้าดูความเติบโตของเด็กเเละผักไปพร้อมกัน  ให้เด็กเรียนรู้เเละฝึกวินัยจากเเปลงผักของตนเอง โดยหวัง ในเชิงคุณธรรมในหลักคิดว่า อยากเสริม  ความรับผิดชอบ  ความเป็นผู้นำ  ความอดทน  ความเอาใจใส่  ความภูมิใจในตนเอง(กับความเป็นเจ้าของในผลงานเชิงประจักษ์)  เเละหวังผลสูงสุป คือ อยากให้เขาซึมซับในการเเก้ไขปัญหาบ้านเกิดเมืองนอนของเขาเอง ตอนนี้พวกเขากำลังจะเริ่มที่จะดูเเลเพราะเมล็ดลงพื้นเเล้ว ปัญหาที่เห็นในตอนนี้ที่ชัดเจน คือ เด็กมาไม่ครบเกือบทุกกลุ่ม อันนี้เป็นปัญหาสำคัญ เเต่เมื่อช่วงเด็กมาไม่ครบนั้น เราในฐานะพี่เลี้ยงฝึกหัด ก็ได้เห็นเด็กที่มีพลังที่ถึงเเม้ว่าเพื่อนจะไม่มาเเต่เขาก็มา เเสดงว่าไม่ได้ตามกระเเสของเพื่อนๆ มาด้วยความคิดของตนเอง 

        โมเดลการทำโครงการของเด็กเหมือนกัน คือ การปลูกเเปลงเกษตรอินทรีย์  เเล้วทำปุ๋ยหรือน้ำหมักสูตรของตนเอง ใช้ในเเปลงผักของตนเอง ซึ่งเเต่ละกลุ่มก็จะมีสูตรปุ๋ยหรือน้ำหมักที่ต่างกันเเต่ ทุกๆกลุ่มจะบูรณาการให้ของกันเเละกันเเละเรียนรู้ไปด้วยกัน  คราวนี้ทำอยู่กับบ้านคงน่าจะดูเเลได้ไม่ยาก  เเต่ในตอนนี้กลุ่มที่ต้องดูเเลเป็นพิเศษ คือ กลุ่มสายเขียว ที่เป็นประเด็น เรื่องขยะในชุมชน ซึ่งในวันนี้ก็ได้ PLC กันระหว่างพี่เลี้ยงว่า น่าจะใช้วิีการกำจัดขยะในชุมชน คือ เราจะต้องเเยกขยะออกเป็น 3 ถัง อันได้เเก่ ขยะเศษอาหาร ขยะทั่วไป  เเละขยะรีไซเคิล  ซึ่งขยะเปียกนั้นเราจะนำไปบูรณาการกับปุ๋ยหมักชีวภาพกับกลุ่มข้างเคียง  ขยะทั่วไปนั้นก็จะส่งที่ทิ้งขยะ   ส่วนขยะรีไซเคิลนั้น ก็จะรับซื้อของเก่าเพื่อนำไปรีไซเคิลต่อไป เเต่ถ้าจะตั้งถังขยะธรรมดาๆ เเน่นอนคนย่อมไม่ทิ้ง เเละไม่สนใจ  เลยมองร่วมกันว่า อยากจะจัดตั้ง สหกรณ์ 0 บาทให้เกิดขึ้นในชุมชน โดยให้ชาวบ้านเอาขยะรีไซเคิล (รีไซเคิลก่อน ถ้าหาตลาดของน้ำหมักได้เเล้วถึงจะเปิดรับซื้อ) เอาขยะที่รีไซเคิลได้มาเเลกสินค้า เช่น นำขวดน้ำมา 1 กก. = 10 บาท ก็สามารถเลือกสินค้าในจำนวนเงิน 10 บาทได้ทั้งร้าน ฯ เเล้วจะมีหุ้นในระยะเริ่มต้นเพื่อหาทุนด้วย เเล้วช่วงเเรกมองร่วมกันว่า น่าจะมีการเดินออกเก็บซื้อประชาสัมพันธ์กับชาวบ้านเสียก่อนค่อยมาปักหลักตั้งร้านอย่างประจักษ์

        ในฐานนะที่เป็นพี่เลี้ยง เราทุกๆคนควรพยายามลงติดตามคอยช่วยเหลือเเละอำนวยความสะดวกให้กับเด็ก ช่วยทำบ้าง ให้การบ้านบ้าง เรียกประชุมปรับความเข้าใจบ้าง ให้ความคิดเด็กเป็นผู้นำเรา ส่วนเราคอยเสริมสิ่งที่เขาขาดไป การติดตามในครั้งนี้ต้องลงอยู่เรื่อยๆจนเห็นกล้าเติบโต...

.

.

.

.

.

.

หมายเลขบันทึก: 570600เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2014 20:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2014 20:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อนาคตของเชียงยืนเลยนะครับเนี่ย...

เมล็ดกำลังงอกงาม เป็นกำลังใจให้นะครับ

ระวัง!!!!  อย่าลืม โอกาสที่จะฝึกทักษะกระบวนการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์  ต้องมีให้รายละเอียดเรื่อง กระบวนการเก็บข้อมูล การสังเกต ทดลอง การกำหนดตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น และตัวแปรตาม และที่สำคัญ ต้องฝึกทักษะการจัดการกับตัวแปรควบคุม ...   ครูวิทยาศาสตร์ ในโรงเรียนบ้านแบก หรือ ที่เชียงยืน น่าจะมีบทบาท...

ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้กำลังใจเเละคำชี้เเนะครับ

ขอขอบคุณ อาจารย์ ฤทธิไกร สูงยิ่งครับ ที่ช่วยเตือนสติผมครับ ... 55

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท