โครงงาน My Buddy 4/2



โครงงาน
เรื่อง
My buddy 4/2

โดย

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๒

คุณครูที่ปรึกษา

คุณครูทองปาน สระกลาง

คุณครูอุษา ภูหัวดอน

โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๖อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม


บทคัดย่อ

       โครงงานห้องเรียนสีขาวเรื่อง My buddy 4/2 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสามัคคีในห้องเรียน และอยากให้นักเรียนมีความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น มีขั้นตอนดำเนินงานคือวางแผน และหาข้อมูลเกี่ยวกับความขัดแย้ง และการสร้างความสามัคคี และวิธีการแก้ไขความขัดแย้ง โดยการค้นหาจากอินเทอร์เน็ต สอบถามผู้รู้ แล้วนำมาเรียบเรียงและจัดทำเป็นโครงงานขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของบุคคลที่สนใจ


กิตติกรรมประกาศ

        ในการจัดทำโครงงานห้องเรียนสีขาว คณะผู้จัดทำได้รับความรู้ต่างๆมากมายสำหรับโครงงานชิ้นนี้จะสำเร็จผลไม่ได้หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากหลายบุคคล

โครงงานนี้สำเร็จลุลวงไปได้ด้วยความช่วยเหลือดียิ่งของคุณครูทองปาน สระกลาง คุณครูอุษา ภูหัวดอนและคุณครูในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ที่ให้ความรู้คำแนะนำและความช่วยเหลือหลายสิ่งหลายอย่างจนกระทั่งโครงงานนี้สำเร็จลุลวงไปได้ด้วยดีผู้จัดทำขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงณที่นี้

       ขอขอบพระคุณคุณครูทองปาน สระกลาง คุณครูอุษา ภูหัวดอน ที่ให้คำแนะนำการจัดทำรายงานโครงงานฉบับนี้

ขอขอบพระคุณผู้ที่เกี่ยวข้องและบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ ณ ที่นี้

       สุดท้ายนี้ขอกราบขอบพระคุณคุณพ่อและคุณแม่ของคณะผู้จัดทำทุกท่านที่ให้คำแนะนำและให้กำลังใจในการทำโครงงานให้โอกาสการศึกษาอันมีค่าและเป็นผู้อนุเคราะห์ในด้านค่าใช้จ่ายต่างๆด้วยดีตลอดมาทางคณะผู้จัดทำขอขอบคุณอีกครั้งณโอกาสนี้

คณะผู้จัดทำ


คำนำ

ในการจัดทำโครงงานห้องเรียนสีขาว เรื่อง My buddy 4/2 เป็นการแก้ปัญหาความขัดแย้ง และไม่มีความสามัคคีกันในหมู่คณะ เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๒ ได้มีความสามัคคีกันมากขึ้นในหมู่คณะ โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๒ ได้มีความสามัคคี รักใคร่ ปองดองกันมากขึ้น ถ้าหากผิดพลาดประการใดคณะผู้จัดทำก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดทำ


บทที่ ๑

บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

       เนื่องจากนักเรียนห้อง ม.๔/๒เกิดความไม่เข้าใจกันและมีการแบ่งกลุ่ม จึงเกิดความขัดแย้งและไม่สามัคคีกันเกิดขึ้น ถือว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่มากที่เราจะทำการแก้ปัญหา หัวหน้าห้องและสมาชิกจึงประชุม หารือ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหานี้ จึงได้เสนอโครงการ My Buddy 4/2ขึ้นเพื่อให้สมาชิกจับสลากเพื่อหาคู่ Buddy หรือเพื่อนของตนเอง เพื่อให้คนที่เป็น Buddy กันนั้น ทำความคุ้นเคยและสนิทสนมกันมากขึ้น และเวลามีปัญหา สมารถที่จะปรึกษากับคู่ของตนเองได้ และยังมีการจับสลากเพื่อทำรายงาน หรือการทำโครงงานที่ได้รับมองหมายจากอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักเรียนชั้น ม.๔/๒ เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ และได้มีส่วนร่วมในการทำงานของทุกคน ทุกกลุ่ม

วัตถุประสงค์ของโครงงาน

๑.เพื่อให้นักเรียนเกิดความรักใคร่ ปรองดอง ซึ่งกันและกัน

๒.เพื่อให้นักเรียน มีความสามัคคีในหมู่คณะ

ขอบเขตการศึกษา

ระยะเวลาดำเนินการ

๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๖- ๒๐มกราคม ๒๕๕๗

สถานที่ดำเนินงาน

๑.นักเรียนชั้น ม.๔/๒ โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคามจำนวน ๔๐ คน

๒.บุคคลที่คำปรึกษาแนะนำ ได้แก่ คุณครูทองปาน สระกลาง และ คุณครูอุษา ภูหัวดอน


บทที่ ๒ 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ความขัดแย้งในการทำงาน วิธีแก้ไขความขัดแย้งในทีมงาน
      ความขัดแย้งเป็นประเด็นอมตะเพราะตั้งแต่เกิดเป็นมนุษย์ขึ้นมาเราย่อมเจอความขัดแย้งเสมอเพราะเมื่อมีคนที่มีความแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมกันโดยเฉพาะมาทำงานร่วมกันมักเกิดความขัดแย้งขึ้น หากเอ่ยถึงความขัดแย้ง จะมีมุมมองด้วยกัน ๒มุมมองคือ
๑. มองว่าตัวความคิดคือตัวเรา ถ้าใครคิดไม่เหมือนก็ไปอยู่ฝ่ายตรงข้ามเป็นศัตรูกับเราโดยตรงมุมมองลักษณะอย่างนี้จะทำให้การบริหารความขัดแย้งเป็นไปด้วยความยากลำบากและเป็นมุมมองของการต่อสู้ ฟาดฟันกัน
๒.ความจริงอันนี้ก็จริงอันนั้นก็จริงไม่มีอะไรถูกทีสุด เพราะฉะนั้นเวลามีปัญหากันก็แค่เอามาแสดงออกแล้วสามารถทะเลาะกันบนโต๊ะได้ พอจบจากโต๊ะไปก็สามารถนั่งกอดคอ กินข้าวกันได้

สาเหตุของความขัดแย้งมีด้วยกันหลากหลาย ตัวอย่างเช่น
๑. ความขัดแย้งในเรื่องของผลประโยชน์ทั้งส่วนบุคคล ส่วนสถาบัน
๒. ความขัดแย้งในการยึดมั่นกับความคิดของตัวเองมากเกินไป
๓. ความขัดแย้งที่เกินจากการแยกไม่ออกระหว่างเรื่องส่วนตัวและเรื่องส่วนรวม
๔. ความขัดแย้งเรื่องไม่สามารถเข้าใจในวิธีคิดระเบียบวิธีคิด และบุคลิกลักษณะนิสัยของแต่ละคนที่แตกต่างกัน
๕. ความขัดแย้งที่เกิดจากการขาดสติเวลาเกิดความผิดก็พยายามปกป้องหน้าตาตัวเองด้วยการแสดงออก สร้างความถูกต้องยกเหตุผลต่างๆ นานามาอ้างมากมายเพื่อให้ตัวเองถูก

วิธีการแก้ไขความขัดแย้ง

๑.เป้าหมายต้องชัด ต้องมากำหนดเป้าหมายกันใหม่ว่าจริงๆแล้วเราจะเอาอะไรกันแน่ ว่าที่เราทะเลาะกันไปมานี่จริงๆแล้วกลายเป็นเราเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ จนลืมเป้าหมายที่แท้จริงขององค์กรไปเลย
๒. กำหนดบทบาทของแต่ละคนให้ชัดเจนขึ้นจะได้รู้ว่าคนแต่ละคนในองค์กร ในทีมทำอะไร มีหน้าที่อะไรกันบ้างแบ่งให้ทราบกันชัดๆ ไปเลย และผู้บริหารคาดหวังอะไร
๓. กำหนดหลักปฏิบัติพื้นฐานร่วมกัน คือเป็นกฎขั้นต้นเช่น เวลามีความขัดแย้งเกิดขึ้น ห้ามโยนความขัดแย้งนี้ให้บุคคลที่ 3 ตัดสิน เพราะเขาจะตัดสินความคิดของเขาเพราะใครจะมารู้ดีเท่าตัวเราและอาจทำให้กลายเป็นเรื่องทีร้ายแรงกว่าเดิม และต้องไม่หันไปหาพวกเพื่อหากำลังเสริมถ้าเป็นอย่างนี้องค์กรจะเริ่มแตกเป็น 2 ส่วนแล้วหากเกิดปัญหาแล้วต้องไปปล่อยทิ้งไว้นาน ต้องแก้ให้เสร็จใน 2-3 วันอย่าทิ้งไว้นานจนเกินปัญหาเรื้อรัง จนแก้ไม่ทันแล้ว
๔. ห้ามพูดพาดพิงถึงบุคคลอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่กำลังขัดแย้งกับเรา ในที่ประชุมตอนเขาไม่อยู่ ถ้าจะพูดก็ต้องพูดกันต่อหน้า
๕. ห้ามทำให้ความขัดแย้งทางความคิดกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล

ความสามัคคี
       ความสามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพรียงกัน ความกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง วิวาทบาดหมางซึ่งกันและกัน
ความสามัคคี มีด้วยกัน ๒ ประการ
๑. ความสามัคคีทางกาย ได้แก่ การร่วมแรงร่วมใจกันในการทำงาน
๒. ความสามัคคีทางใจ ได้แก่ การร่วมประชุมปรึกษาหารือกันในเมื่อเกิดขึ้น
      สามัคคีที่สำคัญที่สุดคืออะไร ก็คือสามัคคีในชาติ ไม่ใช่ว่าความสามัคคีในคณะไม่ดี แต่ต้องระวัง ถ้าสามัคคีกัน แต่ว่าไป ก้าวก่ายหรือไปทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ในสถาบันก็เป็นความผิด ถ้าสามัคคีในสถาบันไปทำให้คนอื่นเสียหายหรือเดือดร้อนก็ไม่ดี เพราะทำให้เสียหายต่อสามัคคีของชาติ (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: ๓ เมษายน ๒๕๐๓สามัคคีกัน ปรองดองกัน นี่ความหมายของความสามัคคีใครๆ ก็บอกว่า ให้สามัคคีปรองดองกัน ช่วยเหลือเพื่อประเทศชาติ แต่แปลว่าอะไรก็ไม่รู้ถ้าคนหนึ่งคนใดในที่ประชุมนี้ เรียกร้องพื้นที่สำหรับยืนเกินจำเป็นโดยอ้างความสุขส่วนตัว คนอื่นก็ต้องประท้วง เราทั้งหลายอยู่ได้ก็เพราะว่ามีความสามัคคีปรองดองกัน


บทที่ ๓
อุปกรณ์และการดำเนินงาน

อุปกรณ์
       ในที่นี้เราได้แบ่งอุปกรณ์การทำงานออกเป็น ๒ ประเภทคือประเภทเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์
เครื่องมือ
1.คอมพิวเตอร์
2.อินเตอร์เน็ต
3.เครื่องปริ้นท์
4.กล้องถ่ายรูป
5.โทรศัพท์เคลื่อนที่

วัสดุอุปกรณ์

1.กระดาษ
2.อุปกรณ์รวมรูปเล่มรายงานเช่นปกใส และกระดาษสี
การดำเนินงาน



๑. ประชุมสมาชิกและวางแผน (๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๖)
๒.สืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต (๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๖)
๓.รวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่สืบค้น   (๑๓ – ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖)
๔.ลงมือปฏิบัติ (๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๖ – ๑๕ มกราคม ๒๕๕๗)
๕.สรุปข้อมูลและสิ่งที่ได้รับ (๑๕ มกราคม ๒๕๕๗)
๖.จัดลำดับและเรียบเรียงข้อมูล (๑๗ มกราคม ๒๕๕๗)
๗.จัดทำเอกสาร/นำเสนอ (๑๘-๒๐ มกราคม ๒๕๕๗)


บทที่ ๔
ผลการศึกษาค้นคว้า


การทำโครงงานห้องเรียนสีขาวเกี่ยวกับ ความสามัคคี(Mybuddy4/2)คณะผู้จัดทำสรุปได้ว่า
๑.นักเรียนชั้น ม.๔/๒ มีความสามัคคีกันมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ มีความเข้าใจกันในห้องเรียนรักใคร่ปรองดอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

๒.นักเรียนชั้น ม.๔/๒ ได้มีการจับคู่หู และคู่หูนั้น ก็เข้ากันได้ดีตามเกณฑ์ของผู้จัดทำกำหนดไว้ คือมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พูดคุยกันมากขึ้น บางคนในห้องไม่ถูกกัน เราได้จับคู่หูแล้วปรากฏว่าช่วยให้คนที่ไม่ถูกกันได้เข้าใจเหตุผลของกันและกันมากขึ้น


บทที่ ๕
สรุปผลและอภิปรายผล

สรุปผลการทำงาน
      นักเรียนห้อง ม.๔/๒มีความเข้าใจกันและรักใคร่ปรองดองกันมากกว่าที่เป็นอยู่ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่๔/๒ ได้มีการร่วมงานกันได้เป็นอย่างดี และก็มีความคุ้นเคยสนิทสนมกันดี เวลามีงานต่างๆ ก็ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง
       สมาชิกในห้องทุกคนก็ให้ความร่วมมือกันดีมาก แบ่งหน้าที่กันทำ มีน้ำใจเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน ใครเสร็จก่อนก็มาทำงาน ทำหน้าที่ช่วยเพื่อนจนเสร็จสิ้น
       ดังนั้น การทำโครงงานนี้ มีประโยชน์ต่อห้องเรียนเรามาก ความสามัคคีทำให้ นักเรียนมีความรับผิดชอบ ไม่แบ่งแยก ไม่มีความขัดแย้ง ซึ่งเป็นผลดีในการทำงานต่างๆ
ประโยชน์ที่ได้รับ
-นักเรียนเกิดความรักใคร่ ปรองดอง ซึ่งกันและกัน
-นักเรียน มีความสามัคคีในหมู่คณะ
ข้อเสนอแนะ
- ควรปรึกษาคุณครูที่ปรึกษาเรื่องการทำรูปเล่มโครงงานก่อน
- ควรเตรียมอุปกรณ์ การทำงานให้พร้อม


อ้างอิง


- บทความธรรมะ Dhamma Articles>Review รายการ DMC
- “ความสามัคคี” เขียนโดยนิรันตรี เต่าทอง


ภาคผนวก

ก่อนทำโครงงาน


หลังทำโครงงาน


       โครงงานนี่เป็นโครงงานที่ภาคภูมิใจที่สุดเพราะเพื่อนๆทุกคนต่างร่วมแรงร่วมใจในการทำโครงงานนี้และทำให้โครงงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ทำให้เพื่อนๆคนที่เคยมีปัญหากันหรือไม่ค่อยได้คุยกัน ปรึกษาหารือกัน หันเข้ามาคุยและปรึกษากันในเรื่องต่างๆ จากที่นักเรียนชั้น ม.4/2 ที่เคยแบ่งพรรคแบ่งฝ่ายเป็นหลายๆฝ่ายหลายๆกลุ่ม ทำให้เพื่อนๆทุกคนรวมกันเป็นหนึ่งเดียว จึงทำให้การทำกิจกรรมต่างๆทั้งงานที่โรงเรียนจัดขึ้น และงานที่ได้รับมอบหมายแต่ละรายวิชา สำเร็จไปอย่างเรียบง่ายและทำให้คุณภาพของงานที่ทำดีมากกว่าที่คาดหวังไว้ และเป็นที่สนใจต่อนักเรียนและคณะครูที่เข้าชมโครงงานของเรา…

     และในปีการศึกษา 2557 ซึ่งตอนนี้เปลี่ยนจาก ม.4/2 เป็น ม. 5/2 แล้ว ห้องของพวกเรายังสานต่อโครงงานนี้เพื่อสร้างความสัมพันธ์จากสมาชิกในห้อง ขยายผลไปสู่เพื่อนๆนักเรียนทุกห้องเรียนในระดับชั้น ม.5 ด้วย…


By : James_Nuttawut

คำสำคัญ (Tags): #โครงงาน My Buddy 4/2
หมายเลขบันทึก: 570599เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2014 20:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2014 07:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

รอดูผลงานดีๆของกิจกรรมดีๆนี้ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท