สรุปบทเรียนทางไลน์ กลุ่ม การดูพระแท้ 15 มิถุนายน 2557


เมื่อวานผมไปทำนาทั้งวัน และตอนเย็น ก็มีเพื่อนมาจากกรุงเทพ มานั่งรออยู่ที่ร้านอาหาร ผมเลย ต้องรีบ เตรียมตัวไปพบเพื่อน และจะรีบกลับมาเข้าห้อง สอน เวลาประมาณสี่ทุ่ม และสอนจนถึง ประมาณตี 1 



สาระสำคัญ ที่เริ่มต้นไว้เมื่อคืน ก็คือ การดูพระเนื้อโลหะ หรือเนื้อชิน

ที่มี สาระประเด็นสำคัญ ก็คือ โลหะมี 2 ประเภทใหญ่ 

1. ประเภทโลหะมีค่า ได้แก่ ทองคำ เงิน และทองแดง และ

2. โลหะไม่มีค่า ได้แก่ ตะกั่ว สังกะสี ดีบุก และโลหะผสมอื่น ๆ ที่เป็นโลหะพื้นฐานของผิวโลก 


แต่ไม่รวมทองคำและเงิน เพราะโลหะทั้งสองชนิดนี้ ไม่ใช่โลหะปกติของโลก หรือว่าเป็นโลหะหายาก มีอยู่น้อยใจเพราะบางจุด ที่เชื่อกันว่า เกิดจากอุกกาบาต ที่มีแร่ เหล่านี้ตกลงมาบนโลก 

ดังนั้นการถลุงแร่โดยทั่วไป จึงมักจะได้โลหะ ที่อยู่เป็นปกติบนผิวโลกผสมปะปนมาด้วย ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐาน ที่ว่า โลหะโบราณจะไม่บริสุทธิ์ มักมีอย่างหนึ่งอย่างได้ผลเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกระบวนการถลุงแร่ และใช้เศษแร่ มา สร้างพระเครื่อง ในกลุ่มพระเนื้อประเภทที่ 2 อันได้แก่ เนื้อชินเงิน และชินเขียว ที่มีความทนทานจากการเป็นแร่โลหะผสม

เมื่อคืนได้เริ่มอธิบาย เรื่องการผสมโลหะต่างๆ โดยเฉพาะโลหะเงิน เข้าไปใน กลุ่มของโลหะ ทีไม่มีค่า ซึ่งน่าจะเป็น การใช้โลหะเศษเหลือเพื่อการสร้างพระเป็นหลัก ซึ่งในกรณีของชินเขียว จะมีสนิมไข่แมงดา มีลักษณะสีดำอยู่ในเนื้อ ที่คาดว่าจะเป็นโลหะเงิน และ ในกรณีของ ตะกั่วสนิมแดงก็จะพบ เนื้อเงิน สนิมสีดำ อยู่ที่ผิวชั้นใน ทั้งนี้เพราะ เนื้อเงินเกิดสนิมได้ง่าย จึงเกิดก่อนและอยู่ชั้นใน ตะกั่วหรือโลหะอื่น ที่เกิดสนิมช้ากว่า ก็จะเป็นสนิมอยู่ชั้นนอก ตามลำดับ

นี่คือหลักการพื้นฐาน ในการพิจารณา พระเนื้อชิน ที่มีอายุ หรือพระกรุ และลักษณะพิเศษที่จะพบในพระเนื้อชิน ก็คือการเคลือบยางไม้หรือที่เรียกว่า "ลงรัก" หรือจะพบในพระเนื้อชินทุกยุคทุกสมัย แม้กระทั่ง พระเนื้อโลหะสมัยใหม่ ก็ยังมีการชุบรัก เคลือบโลหะไว้ ทั้งนี้อาจจะทำเพื่อการรักษาผิวโลหะ ให้ยั่งยืนอยู่นาน เนื่องจากผิวโลหะส่วนใหญ่จะเกิดสนิมผุกร่อนได้โดยง่าย หลัการชุบรักจึงเป็นหลักการ ที่สำคัญ เช่นเดียวกับการ พ่นสีรถยนต์ เพื่อรักษาโครงสร้างของรถยนต์เอาไว้

ดังนั้นหลักการที่ให้ไว้เมื่อคืนนี้เป็นเบื้องต้น ก็คือ การดูชนิดสนิมหลากหลาย ทับซ้อนตามอายุ ตามเงื่อนไขของการเกิดสนิม และที่สำคัญ จะต้องมีสนิมทั้งใต้และเหนือยางไม้ ที่จะทำให้ ผิวของยางไม้หรือที่รัก มีลักษณะย่น ไปตามลักษณะ ของ ผิวสนิมที่เกิดขึ้นในโลหะแต่ละชนิด ซึ่งคาดว่า จะทำได้ยากมากกรณีของพระเก๊ และส่วนใหญ่ที่พบ จะไม่มียางไม้หรือแม้จะพยายามทำให้มีก็ไม่เป็นคลื่นตามลักษณะและชนิดของสนิม จึงเป็นวิธีการแบบง่ายๆในการดู ว่าพระแท้หรือพระเก๊

และในกรณีของพระที่ผ่านการล้างมา ก็จะ ดูได้จาก ความเหี่ยวของชั้นผิวที่เกิดสนิม ที่จะต้องมีการกร่อน หายไป ผิวพระเก๊ ที่แกล้งทำให้เหมือนพระล้างนั้น จะไม่มีการกร่อน ผิวจะเรียบตึง และมักจะมีสี ทาทับไว้ ให้ดูเป็นสนิม ซึ่งจะมี ทั้งลักษณะและสีเพี้ยนไปจากสนิมจริง ๆ ซึ่งอาจจะต้องจำ ลักษณะเหล่านี้ให้ได้

ลักษณะพระเก๊เนื้อชิน ที่ทำได้ใกล้เคียงที่สุด คือพระเนื้อชินเงิน ทำจากตะกั่ว ซึ่งสามารถทดสอบได้โดยนำไปขีดบนกระดาษขาว จะ เห็นลักษณะเส้นสีดำ แบบเดียวกับดินสอดำ ซึ่งเป็นพระเก๊อย่างแน่นอน เพราะถ้าเป็นตะกั่วนั้ ต้องมีสนิมแดง ไม่ใช่ผิวดำดำอย่างที่เห็น ถ้าเป็นเนื้อเงิน หรืเนื้อชินเงินอื่นอื่น เนื้อจะแข็งกว่าตะกั่ว และไม่ออกสีดำบนกระดาษขาว นี่คือหลักการง่ายๆ ที่ให้ไว้ เมื่อคืนนี้ที่ผ่านมา และจะต่อในวันนี้ครับ

ยินดีต้อนรับนักเรียนทุกท่านครับ

หมายเลขบันทึก: 570512เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2014 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2014 12:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ภาพชัดเจนจริงๆ ครับ  ของคุณมากครับ

ขอบคุณมากครับอาจารย์เรียนกับแบบนี้ก็ได้ครับ

ก่อนอื่นขอสวัสดีครับอาจารย์ผมเป็นสมาชิกใหม่ อยากถามเรื่องพระเนื้อชินสนิมแดงกรุวังเพิ่มที่ผมมีอยู่ ผมลงรูปให้อาจารย์ดูไม่รู้ใช่หรือเปล่า ไม่รู้ผมเข้าถูกห้องหรือเปล่าถ้าผิดก็ขออภัยครับผม แล้วเข้ายังใงครับห้องไหนถามและเรียนรู้เรื่องพระ

ไม่มีที่ถาม มีแต่ที่เรียนครับ อิอิอิ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท