ชวนกันบริหารสมอง


         บรรยากาศการเรียนการสอนเคมีในบางครั้งจะเผชิญกับอากาศร้อนจัด  คาบที่ ๘ - ๙ ของวัน  หรือการเรียนอย่างต่อเนื่องมาหลายคาบทำให้เด็กๆ มีสภาพต้องการการกระตุ้นให้สดชื่น
         ครูนกเลยเปิดคลิปวิดีโอบริหารสมองเป็นโฆษณาคั่นระหว่างการเรียน  พร้อมชวนให้เด็กๆ ทำไปพร้อมๆ กัน  ซึ่งดูเด็กๆ จะทุ่มเทตั้งใจที่จะทำกันอย่างถ้วนหน้า  คงอยากเป็นเด็กฉลาดชาติจะได้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป

         การบริหารสมอง (brain activation) หมายถึง การบริหารร่างกายในส่วนที่สมองควบคุมโดยเฉพาะ กล้ามเนื้อ corpus callosum ซึ่งเชื่อมสมอง ๒ ซีกเข้าด้วยกันให้ประสานกัน แข็งแรงและทำงานคล่องแคล่ว จะทำให้การถ่ายโยงข้อมูลและการเรียนรู้ของสมอง ๒ ซีกเป็นไปอย่างสมดุลเกิดประสิทธิภาพ และยังช่วยให้เกิดการผ่อนคลายความตึงเครียด ทำให้สภาพจิตใจเกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้ เกิดความจำทั้งระยะสั้นและระยะยาว มีอารมณ์ขันเพราะคลื่นสมอง (brain wave) จะลดความเร็วลง คลื่นบีตา (beta) เป็นแอลฟา (alpha) ซึ่งเป็นสภาวะที่สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด (จาก http://www.novabizz.com/)


การบริหารปุ่มสมอง

          ใช้มือขวาวางบริเวณที่ใต้กระดูกคอและซี่โครงของกระดูกอก หรือที่เรียกว่าไหปลาร้าจะมีหลุมตื้นๆ บนผิวหนังใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ คลำหาร่องหลุ่มตื้นๆ 2 ช่องนี้ซึ่งห่างกันประมาณ 1 นิ้วหรือมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับขนาดร่างกายของแต่ะละคนที่มีขนาดไม่เท่ากัน ให้นวดบริเวณนี้ประมาณ 30 วินาที และให้เอามือซ้ายวางไปที่ตำแหน่งสะดือ ในขณะที่นวดปุ่มสมองก็ให้กวาดตามองจากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้ายและจากพื้นขึ้นเพดาน

          ประโยชน์ของการบริหารปุ่มสมอง

- เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองให้ดีขึ้น

- ช่วยสร้างให้ระบบการสือสารระหว่างสมอง 2 ซีกที่เกี่ยวกับการพูด การอ่าน การเขียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การบริหารปุ่มสมอง

          ใช้มือซ้ายวางบริเวณที่ใต้กระดูกคอและซี่โครงของกระดูกอก หรือที่เรียกว่าไหปลาร้าจะมีหลุมตื้น ๆ บนผิวหนัง

          ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ คลำหาร่องหลุ่มตื้นๆ 2 ช่องนี้ซึ่งห่างกันประมาณ 1 นิ้วหรือมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับขนาด

ร่างกายของแต่ะละคนที่มีขนาดไม่เท่ากัน ให้นวดบริเวณนี้ประมาณ 30 วินาที และให้เอามือขวาวางไปที่ตำแหน่งสะดือ ในขณะที่นวดปุ่มสมองก็ให้กวาดตามองจากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้ายและจากพื้นขึ้นเพดาน

           ประโยชน์ของการบริหารปุ่มสมอง

-เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองให้ดีขึ้น

-ช่วยสร้างให้ระบบการสือสารระหว่างสมอง 2 ซีกที่เกี่ยวกับการพูด การอ่าน การเขียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ปุ่มขมับ

1. ใช้นิ้วทั้งสองข้างนวดขมับเบาๆวนเป็นวงกลม ประมาณ 30 วินาที ถึง 1 นาที

2. กวาดตามองจากซ้ายไปขวา และจากพื้นมองขึ้นไปที่เพดาน

ประโยชน์ของการนวดปุ่มขมับ

- เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการมองเห็นให้ทำงานดีขึ้น

- ทำให้การทำงานของสมองทั้ง 2 ซึก ทำงานสมดุลกัน

ปุ่มใบหู

1. ให้นิ่วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับที่ส่วนบนสุดด้านนอกของใบหูทั้ง 2 ข้าง

2. นวดตามริมขอบนอกของใบหูทั้ง 2 ข้างพร้อมๆกันให้นวดไล่ลงมาจนถึงติ่งหูเบา ๆ ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ควรทำท่านี้ก่อนอ่านหนังสือเพื่อเพิ่มความจำและมีสมาธิมากขึ้น

ประโยชน์ของการนวดใบหู

- เพื่อกระตุ้นเส้นเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการได้ยินและความจำระยะสั้นให้ดีขึ้น

- สามารถเพิ่มการรับฟังที่เป็นจังหวะได้ดีขึ้น

2. การเคลื่อนไหวสลับข้าง (Cross Crawl)

ท่าที่ 1 นับ 1-10

ประโยชน์ของการบริหารท่านับ 1-10

- เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อค

- เพื่อกระตุ้นสมองที่มีการสั่งการให้เกิดความสมดุลทั้งซ้าย-ขวา

- เพื่อกระตุ้นความจำ

ท่าที่ 2 จีบ L

1. ยกมือทั้งสองข้างขึ้นมาให้มือขวาทำท่าจีบ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือประกบกับนิ้วชี้ส่วนนิ้วอื่นๆให้เหยียดออกไป

2. มือซ้ายให้ทำเป็นรูปตัวแอล (L) โดยให้กางนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ออกไป ส่วนนิ้วที่เหลือให้กำเอาไว้

3. เปลี่ยนเป็นจีบด้วยมือซ้ายบ้างทำเช่นเดียวกับข้อที่ 1 ส่วนมือขวาก็ทำเป็นรูปตัวเเอล (L)เช่นเดียวกับข้อ 2

4. ให้ทำสลับกันไปมา 10 ครั้ง

ประโยชน์ของการบริหารท่าจีบซ้าย-ขวา

- เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อค

- เพื่อกระตุ้นสมองเกี่ยวกับการสั่งการให้สมดุลย์ให้มีการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว

- เพื่อกระตุ้นการทำงานความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา

ท่าที่ 3 โป้ง-ก้อย

1. ยกมือทั้งสองข้างให้มือขวาทำท่าโป้งโดยกำมือและยกหัวแม่มือขึ้นมา ส่วนมือซ้ายให้ทำท่าก้อย โดยกำมือและเหยียดนิ้วก้อยชี้ออกมา

2. เปลี่ยนมาเป็นโป้งด้วยมือซ้ายและก้อยด้วยมือขวา

3. ให้ทำสลับกันไปมา 10 ครั้ง

ประโยชน์ของการบริหารท่าจีบโป้ง-ก้อย

- เพื่อกระตุ้นการสั่งการของสมองให้สมดุลทั้งซีกซ้ายและซีกขวา

- เพื่อกระตุ้นสมองส่วนการคิดคำนวณกะระยะ

- เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหัวไหล่เกิดการติดยึด

ท่าที่ 4 แตะจมูก-แตะหู

1. มือขวาไปแตะที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายให้ไปแตะที่จมูก (ลักษณะมือไขวักัน)

2. เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายแตะที่หูขวา ส่วนมือขวาไปแตะที่จมูก (ลักษณะมือไขวักัน)

ประโยชน์ของการบริหารท่า แตะจมูก-แตะหู

- ช่วยให้มองเห็นภาพด้านซ้ายและขวาดีขึ้น

ท่าที่ 5 แตะหู

1. มือขวาอ้อมไปที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายอ้อมไปจับหูขวา

2. เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายอ้อมไปจับหูขวาส่วนมือขวาอ้อมไปจับหูซ้าย

ประโยชน์ของการบริหารท่าโป้ง-ก้อย,แตะจมูก-แตะหู,แตะหู

- เพื่อกระตุ้นการสั่งการของสมองให้สมดุลทั้งซีกซ้ายและซีกขวา

- เพื่อกระตุ้นสมองส่วนการคิดคำนวณกะระยะ

- เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหัวไหล่เกิดการติดยึด

3. การผ่อนคลาย

ยื่นใช้มือ ทั้ง 2 ข้างประกบกันในลักษณะพนมมือเป็นรูปดอกบัวตูม โดยให้นิ้วทุกนิ้วสัมผัสกันเบา ๆ พร้อมกับหายใจเข้า-ออก ทำท่านี้ประมาณ 5-10 นาที

ประโยชน์ของการบริหารท่าผ่อนคลาย

- ทำให้เกิดสมาธิเป็นการเจริญสติ
ที่มา  http://www.novabizz.com/
      ครูนกฝากให้เด็กๆ ได้ทดลองนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต แล้วมาติดตามผลการทำงานของสมองกันต่อไปว่าจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด  

คำสำคัญ (Tags): #การบริหารสมอง
หมายเลขบันทึก: 569858เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2014 21:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2014 21:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ขออนุญาตลองนำไปปฎิบัติบ้างน๊ะครับ

ได้ทดลองแล้วสนุกมากครับพี่

ชอบท่าแตะหู

555

  • ยินดีค่ะ คุณสามสัก(samsuk)
  • ขอบคุณเช่นกันค่ะคุณครูtuknarak
  • เด็กๆ ก็สนุกค่ะอาจารย์ขจิตขจิต ฝอยทอง พี่นกจะชอบนับหนึ่งถึงสิบมากกว่า
  • สนุกค่ะคุณDr. Ple
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท