โรคกระดุกพรุนคืออะไร


 

จากโครงสร้างของกระดูกที่เคยหนาแน่นประสานกันเป็นโยงใยในการรับน้ำหนักได้ดีขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดการโปร่งบาง เป็นภาวะที่ความหนาแน่นเนื้อกระดูกลดลง จากโครงสร้างของกระดูกที่เคยหนาแน่นประสานกันเป็นโยงใยในการรับน้ำหนักได้ดีขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดการโปร่งบางของโครงสร้างกระดูกไม่สามารถรับน้ำหนักได้ดีเท่าเดิม อีกทั้งยังมีโอกาสเปราะหักเกิดการบาดเจ็บได้ง่ายอีกด้วย


มีภาวะใดบ้างที่ก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุน

-  เพศหญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าเพศชายเนื่องจากโครงกระดูกในเพศหญิงมีความหนาแน่นน้อยกว่า

- เมื่อมีอายุสูงขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออายุเกินกว่า 40 ปี

- ภาวะหมดประจำเดือนในเพศหญิงที่เกิดการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน

- ผู้ที่รับแคลเซียมและวิตามินดี ในปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

- ทำอย่างไรจึงจะรักษาความหนาแน่นของกระดูก เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน?

กระดูกคนเราจะมีความหนาแน่นสูงสุดในอายุ 30 ปี ดังนั้นการเสริมสร้างกระดูกให้มีความหนาแน่นมากที่สุด

เมื่ออายุ 20-30 ปี เป็นช่วงที่สำคัญที่สุด และระยะสำคัญรองลงมาก็คือในช่วงก่อนหมดประจำเดือน

เสริมสร้างกระดูกให้มีความหนาแน่นมากที่สุด ตั้งแต่ในช่วงอายุ 20-30 ปี ด้วยการรับประทานอาหาร

ที่มีแคลเซียมสูงและวิตามินดีให้เพียงพอ 

นอกจากนี้อาจใช้ยาช่วยได้ ซึ่งแบ่งกลุ่มยาเป็น 2 กลุ่มคือ

1.ยาระงับการทำลายกระดูก ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนแคลซิโตนิน 

   ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนทและแคลเซียม เป็นต้น

2. ยากระตุ้นการสร้างกระดูก ได้แก่ วิตามินและฟลูออไรด์

มีวิธีป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุนได้อย่างไร?

ในผู้ที่มีเนื้อกระดูกมากตั้งแต่แรกจะมีโอกาสเกิดการกระดูกพรุนได้น้อยกว่าผู้ที่มีเนื้อกระดูกน้อย ดังนั้น “การสะสมเนื้อกระดูกอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วัยหนุ่มสาวก็จะเป็นวิธีการป้องกันกระดูกพรุนได้ดีที่สุด รวมถึงการได้รับการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกซึ่งสามารถตรวจพบการลดลงของเนื้อกระดูกตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นได้ ตรวจวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนได้อย่างไร?

จากการใช้เครื่องตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (Bone Densitometer) ที่ใช้เทคนิคการเรดิเอชั้น ซอร์ส (Radiation Source) โดยใช้หลักการจากการดูความหนาแน่น (Thickness) และส่วนประกอบของเนื้อ (Composition) แล้วนำไปเปรียบเทียบกับค่าปกติ

บุคคลที่ควรได้รับการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่อง Bone Densitometry

- หญิงทุกคนที่มีอายุมากกว่า 65 ปี

- หญิงวัยหมดประจำเดือน แม้ว่าอายุน้อยกว่า 65 ปี แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน

- หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีประวัติกระดูกหัก หรือมีภาพเอกซเรย์กระดูกผิดปกติ 

  หญิงที่ต้องการรักษาโรคกระดูกพรุน การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกจะช่วยในการตัดสินใจ

- หญิงที่ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน มาเป็นระยะเวลานาน ๆ

- บุคคลที่มีภาวะกระดูกสันหลังผิดปกติ

- บุคคลที่ได้รับยาสเตียรอยด์ เป็นเวลานาน

- บุคคลที่ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ

- เพื่อติดตามการรักษากระดูกพรุน

- บุคคลที่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา

- บุคคลที่ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ

ผู้หญิงอายุเท่าไหร่ ที่ควรรับประทานแคลเซียมเสริม?

ผู้หญิงควรรับประทานแคลเซียมในช่วงอายุ  20-30 ปี และในช่วงก่อนหมดประจำเดือน

การรักษา

เป็นการรักษาที่มุ่งเน้นเพื่อให้มีผลยับยั้งการทำลายกระดูกและเพื่อเป็นการเสริมสร้างให้กระดูกหนาแน่นและมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น

จะติดตามผลการรักษาภาวะกระดูกพรุนได้อย่างไร?

จากการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่องตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (Bone Densitometry) 

เป็นระยะสม่ำเสมอตามแผนติดตามการรักษาของแพทย์

การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่อง Bone Densitometry

 ต่างจากการตรวจด้วยเครื่อง Ultrasound อย่างไร?

การตรวจด้วยเครื่อง Bone Densi-tometry 

เป็นวิธีการตรวจที่จะได้รับความหนาแน่นของกระดูกมาตรฐาน ถูกต้องและแม่นยำมากที่สุดในขณะนี้

ข้อมูลจาก ศูนย์กล้ามเนื้อกระดูกและข้อ โรงพยาบาลพญาไท 1 / http://www.phyathai.com

นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์

( ขอบคุณโรคกระดุกพรุน จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ คอลัมน์ชีวิตและสุขภาพ โดย นพ. สุรพงษ์ อำพันวงษ์ )

การได้รับการตรวจความหนาแน่นของกระดูก ผู้ที่ได้รับการตรวจก็จะระวังป้องกันไม่ชะล่าใจ แต่ก็มีจำนวนมากที่ไม่มีโอกาสได้รับการตรวจ ซึ่งความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน ฯ ได้เมื่ออายุมากขึ้นหรือช่วงเข้าสู่วัยทอง ซึ่งวัยทองนี้ไม่ได้เป็นเฉพาะผู้หญิงนะคะ ผู้ชายก็เป็นวัยทองได้เช่นเดียวกับผู้หญิง  การกินอาหารที่มีแคลเซียมสำคัญไม่น้อยรวมทั้งการออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ ได้รับแสงแดดบ้าง ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรงได้ นะคะ

ด้วยความปรารถนาดี  กานดา แสนมณี

วันอาทิตย์ที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ ๒๕๕๗

หมายเลขบันทึก: 569099เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2014 21:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2014 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การยกน้ำหนักช่วยรักษาโรคนี้และรวมถึงโรคอื่นๆได้ด้วยครับ http://www.gotoknow.org/posts/564055

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท