นำเสนอผลงาน กล้าที่จะสอน


ครูกล้าที่จะสอน คือ ครูกล้าที่จะเปิดใจ กล้าที่จะเปราะบาง กล้าที่จะแสดงความรู้สึกภายใน

หลังจากที่ผมได้นำหลักการจากหนังสือ "กล้าที่จะสอน" ไปดำเนินการจริงในโรงเรียน ๖ โรงเรียน

ผมก็ได้นำผลดำเนินการไปนำเสนอ โดยครั้งแรก เป็นการนำเสนอโดยซักซ้อมการนำเสนอให้มาฟังกันเองก่อน จากผู้นำเสนอ ทั้งหมด ๘ ท่าน จาก หนังสือ ๔ เล่ม คือ ๑. กล้าที่จะสอน ๒. อะไรทำให้คุณไม่ใช่พุทธ ๓. ไล่คว้าแสง ๔. ซีเอสเอ เกษตรแบ่งปัน สานสัมพันธ์ชีวิต

นำเสนอในวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ที่ เสมสิกขาลัย กรุงเทพฯ


หลังจากนั้น จึงได้มานำเสนอจริง ในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ที่ สวนโมกข์ กรุงเทพฯ

ประเด็นการนำเสนอของผม คือ ผมตีความหลักคิดที่สำคัญ จาก หนังสือ "กล้าที่จะสอน" ไว้สองประเด็น ประเด็นแรก ผมตีความว่า ครูกล้าที่จะสอน คือ ครูกล้าที่จะเปิดใจ กล้าที่จะเปราะบาง กล้าที่จะแสดงความรู้สึกภายใน ประเด็นที่สอง กล้าที่จะเปิดใจ มาจากความไว้วางใจตัวเอง และ ความไว้วางใจตัวเอง ซึ่งการไว้วางใจตัวเอง มาจากการสำรวจภายในของตัวเอง ดังชื่อหนังสือที่ว่า "กล้าที่จะสอน : การค้นหาศักยภาพด้านในของชีวิตครู ดังนั้น การพัฒนาครู จึงพัฒนาเพื่อให้ครูสำรวจศักยภาพด้านใน






การทำงานขั้นแรก คือ นำคุณครูมาประชุมพัฒนาสามวัน เพื่อค้นหาศักยภาพด้านใน โดยเชิญกระบวนกรด้านจิตใจ มาพัฒนา เริ่มตั้งแต่ การทบทวนชีวิตตนเองที่ผ่านมา การย้อนกลับไปวัยเด็ก สำรวจชีวิตวัยเด็ก วาดรูปวัยเด็กที่สดใส นำเรื่องเล่าวัยเด็กมาเล่าสู่กันฟังด้วยสุนทรียสนทนา ให้รู้จักทฤษฎีไข่แดงไข่ขาว ไข่แดง หยุดเรียนรู้ ไข่ขาว เป็นพื้นที่เรียนรู้ ให้ก้าวข้ามตัวเอง ออกมาจากไข่แดงบ้าง ให้รู้จักตัวเอง ผ่านสัตว์สี่ทิศ ผลจากการพัฒนาสามวัน คุณครูค้นพบว่า ตัวเองยังอยู่ในไข่แดง ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองมาอยู่ในไข่ขาว ด้วยการ เปิดใจฟังเด็กให้มากขึ้น






การทำงานขั้นที่สอง ได้นำคุณครูที่ประชุมพัฒนา มาทดลองสอนจริง แบบ Team teaching ใน ๘ กลุ่มสาระหลัก นำคุณครูมาราวม นำเด็กมารวม ทั้ง ๖ โรงเรียน ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผมได้นิเทศติดตามผลตลอด ทั้ง ๘ ห้องเรียน โดยเสริม ให้คุณครูเพิ่มเติมการฟังเด็กให้มากขึ้น ให้เด็กพูดให้มากขึ้น ผลก็คือ คุณครูสามารถสื่อสารสองทางกับเด็กได้มากขึ้น


การทำงานขั้นที่สาม ก็ให้คุณครูไปแยกสอนชั้นเรียนตัวเอง แล้วให้เขียนบันทึกมาส่ง มีบันทึกหนึ่ง ที่ผมได้นำมาอ่านให้ที่ประชุมฟังในการนำเสนอ


“ คำพูดเชิงบวก เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่จะพูดจากับเด็กๆพวกเราต้องเข้าใจว่าอำนาจของถ้อยคำนั้นสำคัญขนาดไหน สิ่งเหล่านี้ จะทำให้เด็กคนหนึ่ง กลายเป็นอะไรก็ได้ ตามคำพูดนั้นๆ เพราะฉะนั้น เราจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้คำพูดรุนแรงกับเด็กเพราะสิ่งนี้ จะเป็นการตีตราเด็ก ให้เด็กกลายเป็นแบบนั้นจริงๆวิธรการ คือ จะไม่ว่าเด็กขึ้เกียจแต่จะพูดว่าครูรู้ว่าเธอสามารถทำได้คอยให้กำลังใจ “


พอผมนำเสนอเสร็จ ก็มึผู้ฟัง ที่เป็นอดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎแห่งหนึ่ง ใด้เสนอความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวว่า

ในอดีตครูหลายท่านรวมทั้งตัวเอง ใช้คำพูดดุด่า ว่ากล่าว สั่งสอน บ่น บังคับ แล้วเราก็อ้างว่าเรารักเด็กอยากให้เด็กได้ดี แต่จริงๆ แล้ว เราไม่ได้รักเด็ก เรารักตัวเองมากกว่า เราสอนแล้วเรา “กลัว” ว่าเด็กจะไม่ได้ความรู้ไปจากเรา เราห่วงตัวเองจะเสียหน้า ไม่ได้ห่วงเด็กจะไม่ได้ความรู้
ผมก็ไม่ได้ตอบอะไร เพราะคงเป็นการแสดงความคิดเห็น หลังจากนั้น ผมได้ไปพูดคุยกัยท่านต่อนอกรอบ
ก็ผ่านพ้นไปด้วยดีครับ

คำสำคัญ (Tags): #กล้าที่จะสอน
หมายเลขบันทึก: 569002เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2014 11:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มิถุนายน 2015 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ชื่นชมกล้าที่จะสอนมากค่ะ....

ประเด็นแรก คือ  ครูกล้าที่จะเปิดใจ  ....  กล้าที่จะเปราะบาง .... กล้าที่จะแสดงความรู้สึกภายใน

ประเด็นที่สอง .... กล้าที่จะเปิดใจ มาจากความไว้วางใจตัวเอง และ ความไว้วางใจตัวเอง ซึ่งการไว้วางใจตัวเอง มาจากการสำรวจภายในของตัวเอง


ดีค่ะพัฒนาการศึกษามากๆๆ นะคะ

ขอบคุณมากครับสำหรับกำลังใจ ท่าน Dr.Ple

ท่านรองฯ พัฒนาการทำงานไปมาก

ชอบใจการบรรยาย

คำ พูดเชิงบวก เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่จะพูดจากับเด็กๆพวกเราต้องเข้าใจว่าอำนาจของถ้อยคำนั้นสำคัญขนาดไหน สิ่งเหล่านี้ จะทำให้เด็กคนหนึ่ง กลายเป็นอะไรก็ได้ ตามคำพูดนั้นๆ เพราะฉะนั้น เราจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้คำพูดรุนแรงกับเด็กเพราะสิ่งนี้ จะเป็นการตีตราเด็ก ให้เด็กกลายเป็นแบบนั้นจริงๆวิธีการ คือ จะไม่ว่าเด็กขึ้เกียจแต่จะพูดว่าครูรู้ว่าเธอสามารถทำได้คอยให้กำลังใจ “

มาให้กำลังใจ

ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะครับ

ขอบคุณมากครับ ท่าน อ.ขจิต  ที่มาแวะทักทายเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจ

 ยังระลึกถึงอยู่เสมอ ครับ

ขอบพระคุณที่แบ่งปันค่ะ ติ๊กได้หนังสือเล่มนี่้มานานพอสมควร แต่ยังอ่านไม่จบ ได้เห็นท่านนำสิ่งที่อยู่ในหนังสือไปปรับใช้จริง ทำให้มีแรงฮึด อ่านอีกครั้งค่ะ ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ

จิตศิริน

ขอบคุณครับ อ.ติ๊ก   ที่กรุณามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

ผมเห็นภาพกระบวนการชัดเจนเลยครับ

ลำดับเป็นฉากๆ...เยี่ยมยุทธ และขอชื่นชม ครับ

 ขอบคุณมากครับ อ.แผ่นดิน  ที่เข้ามาเยี่ยมชมให้กำลังใจ  และ ช่วยสะท้อนการทำงานของผม ทำให้มีกำลังใจเพิ่มขึ้นครับ
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท