ปวดเอว อาการแป้บๆ ที่ไม่โป่งโล่ง


          ปวดเอว อาการแป้บๆที่ไม่ไโป่งโลง ก็คงหลายๆประการ ส่วนใหญ่เป็นท่าทางที่มาจากการทำงาน ทั้งสิ้น หรือ เรียกว่า "โรคที่มาจากการทำงาน" ไม่ว่าจะเป็น ท่าทางทำงาน ท่าทางขับรถ ท่านั่ง ท่านอน ท่ายืน

          หลายๆคน คงคิดว่า เป็นแล้วไม่ต้องกังวล แต่หากอายุ 40 ปีขึ้นไป ต้องบอกว่า ให้ระมัดระวังร่างกายตัวเองให้ดี เพราะอย่าลืมว่า ในยามที่กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นมีความยืดหยุ่นน้อยลง อาการปวดเริ่มมีมาก ปวดเนิ่นนาน กว่าจะคืนตัวหรือกว่าจะเป็นปกติต้องใช้เวลา นี่แหละเรียกว่า ปวดเอวแป้บๆไม่โป่งโลง 

ลองๆมาดูภาพเส้นเอ็นบริเวณเอวและกันกบ ครับ      

          อาการปวดก็จะมี ไม่ซ้ายก็ขวา เช่น คนถนัดซ้าย ปวดขวา ถนัดขวาก็ปวดซ้าย

 

          บาง ครั้งปวด ปวดจนนอนไม่หลับ ปวดแป้บๆ บางวันเริ่มๆร้าวไปขา หากคิดมากๆ หรือว่า จะต้องไปผ่าตัด หรือทำอะไรสักอย่าง

แต่ผมเองมีวิธีแก้ไข คือ

การอบอุ่นร่างกาย - warm up cool down strcching

การออกกำลังกาย ให้ปลอดภัย และ ได้ผลดี ท่านผู้อ่านจะต้องรู้จักเลือกวิธีการออกกำลังกาย ให้เหมาะสมกับสุขภาพของตัวท่าน และ ยังต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของการออกกำลังกายซึ่งประกอบไปด้วย

  • การอบอุ่นร่างกายใช้เวลา 5-10 นาที
  • การยืดกล้ามเนื้อควรจะทำอย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ครั้งละ 20นาที
  • ความทนทานของกล้ามเนื้อ ควรจะออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ เช่น การยกน้ำหนัก situp pushup ควรจะออกครั้งละ 30 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์
  • การออกกำลังกายเพื่อให้หัวใจแข็งแรง ควรจะออกประมาณ 30-60 นาทีต่อวันสัปดาห์ละอย่างน้อย 3 ครั้ง ตัวอย่างการออกกำลังได้แก่ การเดินเร็ว การวิ่ง การขี่จักรยาน การว่ายน้ำ การเดินขึ้นบันได
  • การยืดหยุ่นเพื่อความคล่องตัว
  • การอบอุ่นร่างกาย

ข้อแนะนำในการอบอุ่นร่างกาย

  1. การอบอุ่นร่างกายเป็นการเพิ่มการเต้นของหัวใจ เพิ่มอุณหภูมิของร่างกาย และเพิ่มการหายใจอย่างช้าๆ การอบอุ่นที่ได้ผลดีร่างกายจะต้องมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น มีเหงื่อออก
  2. การอบอุ่นร่างกายที่ดีจะต้องมีการเคลื่อนไหวของข้อ โดยเฉพาะข้อที่ใช้ในการออกกำลัง เช่นข้อเท้า ข้อเข่า สะโพก หลัง ไหล่
  3. ยืดกล้ามเนื้อที่ใช้ในการออกกำลังกายข้อแนะนำในการยืดกล้ามเนื้อ
  • การยืดกล้ามเนื้อควรจะทำหลังจากการอบอุ่นร่างกายแล้ว
  • การยืดกล้ามเนื้อควรยืดเฉพาะกล้ามเนื้อที่ใช้เท่านั้น และไม่ควรมากไป เพราะจะทำให้หัวใจเต้นลดลง
  • ควรจะเลือกท่ายืนเป็นหลักเพราะจะทำได้เร็ว


ตัวอย่างการยืดกล้ามเนื้อหลังจากการอบอุ่นร่างกาย

การยืดกล้ามเนื้อน่อง

 

   

 

 

ก้าวเท้าไปข้างหลัง 1 ก้าวส้นเท้าติดพื้น น่องเหยียดตึง เท้าหน้างอเล็กน้อย หลังตรง มือไขว้หลังยืดกล้ามเนื้อหลัง ไหล่ และน่อง

การยืดกล้ามต้นขาด้านหลัง


ยืนตรง ก้าวเท้ามาข้างหน้าหนึ่งก้าวและเหยียดเท้าตรง เงาเข่าเท้าหลัง ย่อตัวลงให้น้ำหลังลงบนเท้าที่เงา ประสานมือยืดไปข้างหน้าเพื่อยืดกล้ามเนื้อหลัง

การยืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า

   
ยืนบนเท้าข้างเดียว งอเข่า มือจับปลายเท้าให้ส้นเท้าติดก้น เข่าชิดกัน หากไม่สามารถทรงตัวก็ให้มองตรงจุดใดจุดหนึ่ง หรืออาจจะเกาะพนักพิงเก้าอี้

การยืดกล้ามเนื้อ

ยืนห่างกำแพงประมาณ1 ฟุตถอยเท้าข้างหนึ่งมาด้านหลัง ส้นเท้าติดพื้น โน้มตัวไปด้านหน้าเอาศีรษะวางไว้บนมือที่วางไว้บนกำแพง

อาจเป็นหนทางให้เราปวดเจ็บจากการทำงาน และยังทำให้เรากระชุ่มกระชวย มากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 568898เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2014 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กรกฎาคม 2014 15:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณครับ ผมได้พบว่าเพียงการออกกำลังกายและยืดเส้นอาจยังไม่เพียงพอสำหรับคนที่เป็นออฟฟิศซินโดรม

ซึ่งเมื่อได้ฝึกโยคะและนวดแผนไทยช่วยด้วยจะช่วยให้เส้นได้เหยียดยืดอย่างลึก ก็จะมีอาการทุเลาลงได้มากทีเดียวครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท