มนุษย์ที่ข้ามชาติ


         มนุษย์ที่ข้ามชาติหมายถึงบุคคล ที่มีการกระทำในลักษณะที่ข้ามชาติ คือมีถิ่นที่อยู่หรือเคยอยู่อาศัยในประเทศประเทศหนึ่งอยู่แล้ว แต่ได้มีการข้ามหรือเคลื่อนย้ายมายังอีกประเทศหนึ่ง ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม บุคคลเหล่านี้ได้แก่ นักท่องเที่ยว แรงงานข้ามชาติ นักลงทุนข้ามชาติ นักศึกษา และผู้หนีภัยความตาย เป็นต้น[1]

         มีในหลายกรณีที่เกิดขึ้น ก็คือมนุษย์ที่ข้ามชาตินั้น กลายเป็นบุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ทำให้เกิดปัญหาและเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้นอย่างมากมาย

         ประการแรก : ปัญหาความไร้สัญชาติ หรือ Nationalityless กล่าวคือเป็นสภาพที่บุคคลไม่มีสัญชาติของประเทศใดในโลกเลยแม้แต่ประเทศเดียว ซึ่งหากจะว่ากันตามหลักกฎหมายเเล้วคนไร้สัญชาติมีสถานะเป็นคนต่างด้าวในทุก ประเทศของโลก

         ประการที่ 2 : ปัญหาความไร้รัฐ หรือ Stateless กล่าวคือเป็นสภาพที่ปัญหาความไร้สัญชาติมีความรุนแรงมากขึ้น โดยบุคคลที่ประสบปัญหาไม่ได้รับการยอมรับให้มี "สิทธิในการอาศัย" อยู่ในรัฐใดก็ตามในโลก ซึ่งในทางผลทางกฎหมายบุคคลเหล่านี้จึงมีสถานะเป็น "คนต่างด้าวผิดกฎหมาย" ไม่สามารถอยู่ที่ใดได้เลยในโลกเพราะถือว่าผิดกฎหมายทุกที่จึงตกเป็น "บุคคลไร้รัฐ"

         โดยกฎหมายไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คนต่างด้าวหรืออีกนัยหนึ่ง “บุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย” จะมีสิทธิอาศัยอยู่ในประเทศไทยโดยไม่ถูกส่งกลับ ก็คือ บุคคลที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเมืองและอาศัยอยู่ในประเทศไทยตามกระบวนการที่ กำหนดในกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ดังนั้น เพื่อให้สถานะบุคคลที่เอื้อต่อความเป็นมนุษย์แก่คนไร้สัญชาติ จึงจำเป็นที่จะต้องให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อนุญาตให้บุคคลดังกล่าวเป็น “คนเข้าเมืองและอาศัยอยู่” ในประเทศไทยในขณะที่รอการพิสูจน์ความเป็นคนไร้สัญชาติ ทั้งนี้ ขอให้ตระหนักว่า มีกฎหมายให้อำนาจแก่รัฐบาลเพื่อการนี้อยู่แล้ว

         ข้อสังเกตอีกประการ ก็คือ คนไร้สัญชาติจำนวนไม่น้อยได้รับสิทธิอาศัยในประเทศไทยโดยข้อกฎหมายข้างต้น อยู่แล้ว ดังจะเห็นจากข้อเท็จจริงที่ว่า บุคคลดังกล่าวมีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎรประเภทคนอยู่ชั่วคราว (ทร.๑๓) และถือบัตรประจำตัวที่กรมการปกครองออกให้ บุคคลดังกล่าวจึงมีสถานะเป็น “ราษฎรไทย” อยู่แล้วเพียงแต่ไร้สัญชาติ

         ดังนั้น เฉพาะแต่คนไร้สัญชาติซึ่งยังไม่มีมีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎรไทยเท่านั้น ที่จะต้องร้องขอให้คณะรัฐมนตรีใช้อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองให้ “สิทธิอาศัย” แก่บุคคลดังกล่าว ในระหว่างอยู่ในกระบวนการพิสูจน์ความไร้สัญชาติ[2]

                                                                                                                                            ชยากร โกศล

                                                                                                                                       19 พฤษภาคม 2557

อ้างอิง

[1] http://www.l3nr.org/posts/535656  19 พฤษภาคม 2557

[2] http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=278&d_id=277 19 พฤษภาคม 2557

หมายเลขบันทึก: 568781เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 22:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 22:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท