กฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


       สิทธิมนุษยชน (Human Right) หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ[1]

      ประเทศไทยนั้นเองก็ได้มีการรับรองสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และกำหนดให้รัฐบาล ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐดำเนินการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์ของประชาชนทุกคน

      ในประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทยนั้น ได้มีการกำหนดโทษทางอาญาไว้คือ การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18 ซึ่งมีแนวคิดที่น่าสนใจว่า การที่มีโทษประหารชีวิตนั้นขัดกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนหรือไม่

      ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันประเทศไทยและอีกหลายประเทศที่ยังไม่ยกเลิกโทษประหาร ยังคงมีการถกเถียงเรื่องโทษประหารอยู่ตลอดเวลาในสังคม โดยฝ่ายที่เห็นด้วย มักมองว่า มาตรการนี้เป็นวิธีการที่สร้างความปลอดภัยและสันติภาพในสังคม แต่ในฝั่งที่ไม่เห็นด้วยมองว่าโทษประหารชีวิตมีลักษณะที่โหดร้าย ขัดกับหลักการพื้นฐานของศาสนา อีกทั้งยังมีการวิจัยในเชิงวิชาการมาแล้วหลายครั้งว่า โทษประหารชีวิตไม่สามารถลดปัญหาการเกิดอาชญากรรมได้ โดยงานวิจัยระบุว่า ปัจจัยที่จะทำให้อาชญากรรมลดน้อยลงนั้นคือเรื่องของความรวดเร็วในการจับกุม และความชัดเจน แต่หากคำนึงถึงความรู้สึกของผู้เสียหายและคนที่ถูกทำร้ายที่ต้องสูญเสียหลาย สิ่งหลายอย่างที่ไม่อาจเรียกคืนมาได้ ประเด็นที่ว่าการยกเลิกโทษประหารมีความจำเป็นจริงหรือไม่จึงเกิดขึ้น พราะ ที่จริงแล้วผู้ที่มีโอกาสถูกลงโทษประหารชีวิตหากรับสารภาพ ศาลก็อาจลงโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิตแทนอยู่แล้ว อีกทั้งโทษประหารชีวิตยังสามารถขออภัยโทษให้เหลือจำคุกตลอดชีวิตได้ ซึ่งนับเป็นการผ่อนหนักเป็นเบาของโทษที่สามารถทำได้อยู่แล้ว

      โดยในเรื่องนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ (ICCPR) เคยวินิจฉัยว่า รัฐภาคีไม่จำเป็นต้องยกเลิกโทษนี้โดยสิ้นเชิง แต่ต้องบังคับใช้อย่างจำกัดเฉพาะหมวดคดีบางประเภท ซึ่งแปลว่าหากประเทศไทยสามารถหาโทษชนิดอื่นมาทดแทนโทษประหารชีวิตได้อย่าง เหมาะสมแล้ว ก็จะสามารถรณรงค์ให้พักการใช้โทษประหารชีวิตได้ แต่หากยกเลิกโทษประหารชีวิตไปแล้วปรับเปลี่ยนเป็นการจำคุกตลอดชีวิตแทนอย่าง ที่หลายฝ่ายต่างมีความเห็นตรงกัน ประเทศไทยอาจต้องปรับเปลี่ยนการให้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต โดยเป็นการลงโทษจำคุกตลอดชีวิตอย่างเคร่งครัด โดยไม่มีการลดโทษและอภัยโทษ เพราะทุกวันนี้โทษจำคุกตลอดชีวิตของประเทศไทยเมื่อถึงเวลารับโทษจริงอาจถูก ผ่อนผันและลดโทษจนเหลือเพียงจำคุกไม่เกิน 20 ปีก็พ้นโทษสู่โลกภายนอกได้แล้ว[2]

                                                                                                                                     ชยากร โกศล

                                                                                                                                 19 พฤษภาคม 2557

อ้างอิง

[1] http://www.dailynews.co.th/Content/Article/127538/ 19 พฤษภาคม 2557

[2] http://kittayaporn28.wordpress.com/%E0%B9%82%E0%B8...

19 พฤษภาคม 2557

หมายเลขบันทึก: 568774เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท