ไม่ใช่ใจร้าย ..แต่..ปลูกฝังจิตสาธารณะให้นักเรียน


วันที่ 19  พฤษภาคม  2557 ชั่วโมงแรกในภาคเรียนนี้  ห้องคอมพิวเตอร์เต็มไปด้วยฝุ่นเพราะไม่มีงบประมาณติดแอร์ นักเรียนชั้น ป.4 เข้าเรียนเป็นห้องแรก  (สอนตั้งแต่ ป.1 - ม.3) ช่วยกันทำความสะอาด ไม่ใช่ใจร้ายใช้เด็กตัวเล็ก ๆและครูไม่ได้คาดหวังเรื่องความสะอาดมากมายนัก   แต่เป็นการปลูกฝังจิตสาธารณะของเจ้าตัวน้อยต่างหาก 



จิตสาธารณะมีความสำคัญอย่างไร?

การที่มนุษย์ในสังคมจะแสดงออกซึ่งการมีจิตสาธารณะนั้นเป็นเรื่องที่ยาก หากไม่ได้รับการเลี้ยงดูมาแบบส่งเสริมหรือเอื้อต่อการเกิดพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะ สังคมก็จะเป็นไปแบบเห็นแก่ตัว คือ ตัวใครตัวมัน ไม่สนใจสังคมรอบข้างคิดแต่ประโยชน์แห่งตนเท่านั้น ชุมชนอ่อนแอ ขาดการพัฒนา เพราะต่างคนต่างอยู่ สภาพชุมชนมีสภาพเช่นไรก็ยังคงเช่นนั้น ไม่เกิดการพัฒนา และยิ่งนานไปก็มีแต่เสื่อมทรุดลง อาชญากรรมในชุมชนอยู่ในระดับสูง ขาดศูนย์รวมจิตใจ ขาดผู้นำที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เพราะคนในชุมชนมองปัญหาของตัวเองเป็นเรื่องใหญ่ ขาดคนอาสานำการพัฒนา เพราะกลัวเสียทรัพย์ กลัวเสียเวลา หรือกลัวเป็นที่ครหาจากบุคคลอื่น ดังนั้น การศึกษาแนวทางและความสำคัญของการมีจิตสาธารณะเพื่อให้เกิดในจิตสำนึกของเด็กและเยาวชนนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรกระทำ เพื่อสังคมที่น่าอยู่ต่อไป ทั้งนี้เพราะเด็กช่วงแรกเกิดจนถึงก่อน 10 ขวบ เป็นช่วงที่เด็กมีความไวต่อการรับการปลูกฝัง และส่งเสริมจริยธรรมเป็นอย่างยิ่ง เพราะเด็กยังเป็น “ไม้อ่อนที่ดัดง่าย” ฉะนั้นการปฏิบัติต่อเด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการด้านสังคมและด้านจิตใจของเด็กจะเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น เพื่อที่จะได้เป็นพลเมืองที่ดีของสังคม ก่อให้เกิดความเข้มแข็งของสังคม จะส่งผลให้ การเมือง เศรษฐกิจ ศีลธรรมในสังคมนั้นดีขึ้น


จิตสาธารณะ หมายถึง ความรู้สึกตระหนักของบุคคลถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ทำให้เกิดความรู้สึกที่ปรารถนาจะร่วมและมีส่วนช่วยเหลือสังคม โดยรับรู้ถึงสิทธิควบคู่ไปกับหน้าที่และความรับผิดชอบ สำนึกถึงพลังของตนว่าสามารถร่วมแก้ไขปัญหาได้ และลงมือกระทำเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่างๆ โดยการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาร่วมกันกับคนในสังคมเพราะการอยู่ร่วมกันในสังคมทุกวันนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยความมีน้ำใจไมตรีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยไม่หวังผลตอบแทน การดำรงชีวิตในสังคมที่มีการช่วยเหลือกันถึงแม้ว่าเรื่องราวหรือเหตุการณ์นั้นไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับเรา หรือเราไม่ได้เดือดร้อนด้วย แต่ก็เต็มใจที่จะแบ่งปันให้การช่วยเหลือเอื้ออาทรกัน นั่นคือ การแสดงความมีจิตสาธารณะนั่นเอง



เกร็ดความรู้เพื่อครู

แนวทางที่สำคัญในการสร้างจิตสาธารณะที่ควรเน้นการส่งเสริม คือ สร้างวินัยในตนเอง ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคม ยึดหลักธรรมในการดำเนินชีวิต


ขอบคุณที่มาของข้อมูลนี้

หมายเลขบันทึก: 568771เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 21:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2014 20:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

น่าสนใจมากๆนะคะ...แนวทางที่สำคัญในการสร้างจิตสาธารณะที่ควรเน้นการส่งเสริม คือ สร้างวินัยในตนเอง ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคม ยึดหลักธรรมในการดำเนินชีวิต...ครูแอ๋มทำอย่างไร?บ้างค่ะ...

จัดทำโครงการปลูกฝังจิตสาธาณะอย่างยั่งยืน  ฝึกเด็กให้รู้จักช่วยเหลือผู้อื่นและช่วยเหลือส่วนรวม เช่น  การทำความสะอาดห้องเรียน  บริเวณโรงเรียน  ช่วยทำความสะอาดบริเวณศาสนสถาน  บางครั้งร่วมกับชุมชนทำความสะอาดหนองน้ำเก็บผักตบ ฝึกการรู้จักช่วยเหลือผู้อื่นให้เป็นนิสัย เป็นต้นค่ะ

เยี่ยมครับ
...จิตสาธารณะ  "รับผิดชอบต่อตัวเองและคนรอบกาย"....

ชื่นชมครับ

เราต้องช่วยปลูกฝังค่ะ  สมัยนี้พ่อแม่ไม่มีเวลา และไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท