กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธมนุษยชนในสังคมไทย


         ปฏิญญา สากลว่าด้วยสิทธิมนุษชนแห่งสหประชาชาติเป็นข้อตกลงของสหประชาชาติได้กำหนด ขึ้น เพื่อให้ประเทศสมาชิกได้ใช้เป็นแนวทางในการคุ้มครองดูแลสิทธิและ เสรีภาพของพลเมืองประเทศของตน

         แนวคิดเกี่ยวกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเกิดขึ้นหลังจาก สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง เนื่องจากเหตการณ์ดังกล่าวได้นำมาซึ่งคสามสูญเสียชิวิตและทรัพย์ สินของประเทศคู่สงครามอย่างมหาศาล โดยส่วนใหญ่เป็นปลมาจากความทารุณโหดร้าย ของฝ่ายอักษะซึ่งนำโดยอดอร์ฟ ฮิตเลอ ผู้นำประเทศเยอรมันนี และเบนิโต มุสโสลินี ผู้นำประเทศอิตาลีจนทำให้ประเทศต่างๆทั่วโลกหวั่นเกรงเหตุการณ์ในลักษณะดัง กล่าวจะเกิดขึ้นในอนาคต

         ดังนั้นได้มีการจัดตั้งองค์กรสหประชาชาติขึ้น จึงได้มีการผลักดันให้องค์การ สหประชาชาติเร่งกำหนดแนวทางคุ้มครองสิทธิมนุษชนขึ้นมาคุ้มครองมนุษยชาติ

         จนกระทั่งเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2491(ค.ศ.1948) สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติจึงได้มีมติยอมรับและประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วย สิทธิมนุษชนแห่งสหประชาชาติขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรก[1]

         ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่พัฒนามาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนหลัก ๆ มีทั้งสิ้น 9 ฉบับได้แก่

(1) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง(International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR)

(2) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม(International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights-ICESCR)

(3) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบต่อสตรี(Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women-CEDAW)

(4) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child-CRC)

(5) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ(Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination-CERD)

(6) อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี(Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment- CAT)

(7) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities - CRPD)

(8) อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันบุคคลจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ(Convention on the Protection of All Persons from Enforced Disappearance - CED)

(9) อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว (Convention on the Protection of the Rights of Migrants Workers and Member of their Families MWC)[2]

         ในที่นี้จะขอกล่าวถึง อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ CRPD ที่ประเทศไทยได้ลงนาม แต่ก็ยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นอยู่ ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่ นายศิริมิตร บุญมูล ได้ไปสมัครทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ แต่สำนักงานศาลยุติธรรมแจ้งว่า ก.ต. มีมติไม่รับสมัครโดยให้เหตุผลว่าสภาพร่างกายและจิตใจไม่เหมาะสมต่อการ ปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการตุลาการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง (๑๐) จึงมีการยื่นคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญว่า การตัดสิทธิสอบบุคคลด้วยเหตุผลดังกล่าว ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องสภาพ ทางกายหรือความพิการ บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวจึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๐

         ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง (๑๐) เฉพาะในส่วนที่บัญญัติว่า “...มีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตุลาการ...” ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐ วรรคสาม

         โดยมีการให้เหตุผลว่า…การที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาล ยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง (๑๐) ให้ผู้สมัครสอบคัดเลือก ผู้สมัครทดสอบความรู้ หรือผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม “...มีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตุลาการ...” นั้น คำว่า “กายหรือจิตใจไม่เหมาะสม” อยู่ในกรอบความหมายของคำว่า “คนพิการ” ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งสอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการของสหประชาชาติ โดยมีลักษณะเป็นการกำหนดลักษณะทางกายและจิตใจที่ไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้า ราชการตุลาการไว้อย่างกว้างขวางไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน น าไปสู่การใช้ดุลพินิจที่ส่งผลให้เกิดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมได้ในที่ สุด กฎหมายที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลนั้น ต้องมีขอบเขตชัดเจนแน่นอน เช่น อาจกำหนดว่า มีลักษณะทางกายและจิตใจที่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นข้าราชการตุลาการได้ เพียงใด เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนทราบว่ากฎหมายดังกล่าวต้องการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในเรื่อง ใดบ้าง…

         และ..การกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามที่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติโดย ไม่เป็นธรรมต่อคนพิการไว้ในขั้นตอนการรับสมัครบุคคลเพื่อสอบคัดเลือกเป็นข้า ราชการตุลาการ โดยให้เป็นดุลพินิจของ ก.ต. ในการพิจารณาความเหมาะสมของบุคคลที่จะให้มีสิทธิสมัครสอบคัดเลือกเป็นข้า ราชการตุลาการหรือไม่นั้น เป็นการตัดสิทธิคนพิการตั้งแต่ต้น โดยไม่เปิดโอกาสให้คนพิการสามารถสอบคัดเลือกได้อย่างเท่าเทียมกับบุคคลทั่ว ไป และไม่มีโอกาสแสดงความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงาน นั้นเสียก่อน ทั้งภารกิจหลักตามอำนาจหน้าที่ของผู้พิพากษาศาลยุติธรรม คือ การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปโดยยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย และต้องนั่งพิจารณาโดยครบองค์คณะ ความพิการจึงมิได้เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จะเป็นข้าราชการ ตุลาการ ที่จะมีผลต่อการให้ความเป็นธรรมแก่คู่ความหรือผู้เกี่ยวข้อง[3]

         ตามความเห็นของข้าพเจ้านั้นเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาล ว่าการที่มีความพิการทางกาย มิได้กระทบต่อการปฏิบัติงานของผู้พิพากษาแต่ การที่กต. เห็นว่าผู้ป่วยด้วยโรคดังกล่าว มีบุคลิกภาพไม่เหมาะสม เป็นการตีความกฎหมายที่ไม่ถูกต้อง ทั้งยังเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทย ลงนามเป็นภาคี และขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาจักรไทยอีกด้วย

                                                                                                                                    ชยากร โกศล

                                                                                                                               19 พฤษภาคม 2557

อ้างอิง

[1] https://sites.google.com/site/30313panisa/3-khwam-... 19 พฤษภาคม 2557

[2] http://www.mfa.go.th/humanrights/human-rights-conv... 19 พฤษภาคม 2557 

[3] http://sdulaw.dusit.ac.th/newsletter/article_file/... 19 พฤษภาคม 2557

หมายเลขบันทึก: 568776เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 22:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท