คนต่างด้าวในประเทศไทย


คนต่างด้าวในประเทศไทย

คนต่างด้าว (aliens)

                 หมายถึง บุคคล ซึ่งพำนักอยู่ในรัฐ ที่ตนมิได้เป็นคนสัญชาตินั้น หรือเป็นพลเมืองของรัฐนั้น พระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 4 บัญญัติว่า "คนต่างด้าว หมายถึง ผู้ซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย" โดยทั่วไปแล้วประชาชน ที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินของรัฐหนึ่งรัฐใด ย่อมประกอบไปด้วยบุคคลสองจำพวก คือ พลเมืองของรัฐนั้นจำพวกหนึ่ง กับอีกพวกหนึ่ง คือพลเมืองของรัฐอื่น ซึ่งเรียกว่า คนต่างด้าว คนต่างด้าว ที่เข้ามาอาศัยในดินแดนของรัฐใด ย่อมอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายของรัฐเช่นเดียวกับพลเมืองของรัฐนั้น แต่โดยทั่วไปแล้วคนต่างด้าวจะถูกจำกัดสิทธิ และหน้าที่บางประการ

                สำหรับประเทศไทยได้รับรองสิทธิในเสรีภาพในการประกอบอาชีพไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ม.43 บัญญัติว่า

                “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม

                 การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ การคุ้มครองประชาชนในด้านสาธารณูปโภค การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การจัดระเบียบการประกอบอาชีพ การคุ้มครองผู้บริโภค การผังเมือง การรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม สวัสดิภาพของประชาชน หรือเพื่อป้องกันการผูกขาดหรือขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน”


                   ดังนั้น ไม่ว่าคนในประเทศนั้น จะเป็นคนสัญชาติของประเทศนั้น หรือเป็นคนต่างด้าว แต่ทั้งหมดทั้งมวล ก็คือ "มนุษย์" รัฐไทยจึงต้องให้ความคุ้มครองคนต่างด้าวด้วย เช่นเดียวกับที่คุ้มครองคนสัญชาติไทย เพราะความเป็นมนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกเลือกปฏิบัติ ไม่ขึ้นอยู่กับสัญชาติแต่อย่างใด และไม่ขึ้นอยู่กับความชอบด้วยกฎหมายของการเข้าเมือง

                  เพื่อความมั่นคงของรัฐ เมื่อคนต่างด้าวกระทำการใดอันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ  ประชาชน รัฐไทยย่อมมีอำนาจที่จะหยุดยั้งการกระทำดังกล่าว ลงโทษคนต่างด้าว หรือแม้กระทั่งเนรเทศออกนอกประเทศไทยตาม กฎหมายการเนรเทศ ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่าแม้คนต่างด้าวจะกระทำการเช่นนั้น เเต่เขาก็ยังเป็นมนุษย์คนหนึ่งอยู่ ดั้งนั้น หากคนต่างด้าวตกเป็นผู้ด้วยโอกาสหรือตกเป็นเหยื่อทางด้านสิทธิมนุษยชน รัฐไทยก็ต้องให้ความคุ้มครอง โดยไม่อาจคำนึงว่าเขาเป็นผู้ร้ายหรือไม่ เพราะ สิทธิมนุษยชน ย่อมเป็นสิทธิที่ มนุษย์ ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ เพราะเหตุของความเป็น มนุษย์ เท่านั้น

                  โดยในปัจจุบันประเทศไทยได้มีแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ แรงงานชาวพม่าที่ข้ามแดนมาทำงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งในอดีตประเทศพม่ามีปัญหาภายในจนทำให้มีการหลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายเพื่อหนีภัยสงคราม และ หารายได้เลี้ยงดูชีวิต ซึ่งในจำนวนคนต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมือง พวกเขาได้หอบหิ้วบุตรของตนเองมาด้วย โดยไม่มีเอกสารรับรองสถานะเป็นคนสัญชาติใดเนื่องจากปัญหาภายในประเทศ ซึ่งต้องเสียเวลาในการพิสูจน์สัญชาติ จนทำให้เกิดปัญหาเรื่องสัญชาติในบุตรของตน ทำให้เด็กกลายเป็นบุคคลไร้สัญชาติ ไร้รัฐ และเสียโอกาสในหลายๆด้านได้


                  ซึ่งการที่คนจะได้รับสัญชาติไทยได้นั้น สามารถพิจารณาได้จาก การเกิด และภายหลังการเกิด 

หากพิจารณาจากการเกิดนั้นสามารถที่จะได้รับสัญชาติไทยจาก

1. หลักสืบสายโลหิต คือ การที่บิดา หรือมารดาคนใดคนหนึ่งมีสัญชาติไทยบุตรที่เกิดมาย่อมได้รับสัญชาติไทย

2. หลักดินแดน คือ การที่บุคคลนั้นเกิดภายในหรือบนผืนแผ่นดินไทย ย่อมจะได้รับสัญชาติไทย

แต่หากพิจารณาจากภายหลังการเกิดนั้น ก็สามารถพิจารณาได้จาก

1. หลักบุคคล คือ การพิจารณาจากการสมรสหรือจากครอบครัวของบุคคลนั้นๆที่ต้องการได้รับสัญชาติไทย

2. หลักดินแดน คือ การแสดงความจงรักภักดีต่อดินแดน กล่าวคือ หลักการนี้ผู้ต้องการได้รับสัญชาติไทยต้องมีความกลมกลืนกับคนภายในรัฐ เช่น การได้อยู่อาศัยภายในรัฐไทยเป็นเวลายาวนานมาก จนเกิดความรัก ซึ่งจะส่งผลต่อความกลมกลืนกับคนภายในชาติได้เป็นอย่างดี อย่างเช่น อยู่อย่างยาวนานจนสามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่ว ย่อมแสดงให้เห็นว่ามีความกลมกลืนกับคนภายในชาติได้เป็นอย่างดี


                    ดังนั้นจึงมีหลายกรณีในปัจจุบันนี้ที่มีปัญหาเรื่องคนต่างด้าวในประเทศไทย ที่ไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ซึ่งจะทำให้เสียสิทธิต่างๆจำนวนมากที่พึงจะได้รับไป และตอนนี้ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข หรือช่วยเหลือใดๆ ซึ่งข้าพเจ้าจึงคิดว่าทุกคนควรจะมีความเสมอภาคกัน แม้เขาจะมาจากนอกประเทศก็ขอให้พิจารณาการให้สัญชาติเค้าผ่านหลักดินแดนก็ได้ ดังนั้นรัฐไทยควรจะเข้ามาช่วยเหลือ และแก้ไข และให้สัญชาติแก่บุคคลเหล่านั้น พวกเขาจะได้ได้รับสิทธิที่รัฐรับรองไว้ให้อย่างเต็มที่



อ้างอิง

-http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t...

คนต่างด้าวสำหรับประเทศไทย : คือใครบ้าง ? รัฐไทยต้องคุ้มครองไหม ? อย่างไรกัน ?

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

-เอกสารประกอบการเรียนในห้องเรียน

หมายเลขบันทึก: 568777เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 22:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท