ศาลสิทธิมนุษยชน


ศาลสิทธิมนุษยชน

เป็นเรื่องที่มีความน่าสนใจว่า ในปัจจุบันมีข้อความคิด มีกฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องของสิทธิมนุษยชนต่างๆออกมาอย่างมากมาย แล้วในการบังคับใช้นั้นจะมีวิธีการไหนที่จะสามารถคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของบุคคลทุกคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะท้อนออกมาจากการที่หลายๆประเทศทั้งที่มีการยอมรับในหลักการของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน แต่ก็ยังคงมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้เห็นอยู่ อย่างเช่นประเทศไทย ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าองค์กรที่ทำหน้าที่คุ้มครองในปัจจุบันไม่สามารถทำหน้าที่ในการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ จึงเป็นที่มาของบทความนี้ที่มุ่งเน้นที่จะศึกษา แบบอย่างของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป ว่ามีประสิทธิภาพ และความเหมาะสมมากน้อยเพียงใดนั่นเอง

ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป ตั้งอยู่ที่เมืองสตราส์บูร์ก ประเทศฝรั่งเศส ตามความในอนุสัญญายุโรปว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน ปี1950 เพื่อดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติตามอนุสัญญาของประเทศสมาชิก ซึ่งอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า อนุสัญญาเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ซึ่งเมื่อเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามอนุสัญญาดังกล่าวขึ้น ทั้งรัฐบาล หรือ บุคคลธรรมดาสามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลได้ ซึ่งรัฐที่ได้รับคำตัดสินมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลด้วย

ประโยชน์ของการมีศาลที่ตัดสินเรื่องสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะมีหลายประการด้วยกัน อย่างเช่นในเรื่องของการตีความบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องของสิทธิมนุษยชน ที่เป็นเสมือนมาตรฐานกลาง เพราะเนื่องจากว่า คำที่บัญญัติในกฎหมายเหล่านี้มักมีความหมายกว่าและสามารถตีความไปได้หลายนัย โดยรัฐอาจตีความแคบ ส่วนปัจเจกชนอาจตีความกว้าง คำพิพากษาที่ออกมาจึงถือเป็นบรรทัดฐาน ร่วมกันของประเทศภาคีสมาชิกในการตีความบทบัญญัติ และเนื่องจากคำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปนั้นมีความน่าเชื่อถือ สหประชาชาติยังนำเอาคำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป ไปปรับใช้ในการพิจารณากรณีพิพาทอื่นๆด้วย

ซึ่งนับว่าศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปเป็นแบบอย่างแห่งความสำเร็จ ในการนำกฎหมานสิทธิมนุษยชนมาใช้ข้ามพรมแดน และเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ๆร่วมกันระหว่างรัฐภาคีสมาชิก รวมถึงคนภายในรัฐด้วย และยังได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ระหว่างองค์กรระหว่างประเทศด้วยกันอีกด้วย

ในโอกาสอันดีที่ประเทศของเรากำลังจะเข้าร่วมกับ AEC ควรจะมีการเสนอร่างการตั้งศาลสิทธิมนุษยชนขึ้นมาในภูมิภาคของเราเช่นกันเพราะเนื่องจากว่าภูมิภาคของเรานับว่าหลายๆประเทศยังคงมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่มาก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยของเรา การที่มีศาลสิทธิมนุษยชนที่มีประสิทธิภาพแบบยุโรป ย่อมสามารถทำให้คนในภูมิภาคได้รับความคุ้มครองและนำไปสู้คุณภาพฃีวิตที่ดียิ่งขึ้นไปอีก

อ้างอิง

รู้จักมั้ยศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป แหล่งที่มา: http://www.l3nr.org/posts/465646 15พฦษภาคม 2557

EUROPEAN COURT OF HUMAN RIGHTS แหล่งที่มา: http://library.nhrc.or.th/Dictionary/search_dic.php?Search=E&page=215 พฦษภาคม 2557

หมายเลขบันทึก: 568756เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 18:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 18:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท