HR-LLB-TU-2556-TPC-มนุษย์ที่ข้ามชาติ


มนุษย์ที่ข้ามชาติ  หมายถึง  บุคคลที่มีการกระทำในลักษณะที่ข้ามชาติ คือมีถิ่นที่อยู่หรือเคยอยู่อาศัยในประเทศประเทศหนึ่งอยู่แล้ว แต่ได้มีการข้ามหรือเคลื่อนย้ายมายังอีกประเทศหนึ่ง ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม บุคคลเหล่านี้ได้แก่ นักท่องเที่ยว แรงงานข้ามชาติ นักลงทุนข้ามชาติ นักศึกษา และผู้หนีภัยความตาย เป็นต้น

ปัจจุบัน แรงงานข้ามชาติสัญชาติ ยังเป็นคงเป็นประเด็นที่ถูกกล่าวถึงในประเทศไทยว่า เป็นแรงงานที่อพยพเข้ามาทำงานอย่างไม่สิ้นสุดประกอบกับอุตสาหกรรมการผลิตและภาคบริการต่างๆ ประสบปัญหาความขาดแคลนแรงงานไทย ผู้ประกอบการจึงได้นำเอาแรงงานข้ามชาติเข้ามาทดแทนแรงงานไทย ซึ่งมีทั้งแรงงานข้ามชาติที่เป็นผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กเคลื่อนย้ายมาจากประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง อาทิ ประเทศพม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม จีน เป็นต้น ปัญหาสำคัญที่ตามมา คือการมีจำนวนแรงงานข้ามชาติ เด็กต่างชาติ และผู้ติดตามหลบหนีเข้าเมืองมาจำนวนมากโดยผ่านกระบวนการนายหน้าหลายๆ ประเภท ทั้งที่เข้ามาโดยสมัครใจและไม่สมัครใจ จากกระบวนการนายหน้าค้าแรงงาน และกระบวนการนายหน้าค้ามนุษย์ ซึ่งมีแรงงานจำนวนมากถูกชักจูง หลอกลวง ล่อลวง บังคับค้ามนุษย์ที่ปลายทางประเทศไทย

  ปัญหามนุษย์ที่ข้ามชาตินั้นมีอยู่มากมายหลายกรณี แต่มีอยู่กรณีหนึ่งที่ถูกยกขึ้นมาศึกษาของปัญหานี้คือ เคสของน้อง ดนัย ยื้อบ๊อ 
น้องดนัย เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2542 ที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย เป็นบุตรของนายอาบู ไม่ได้มีสัญชาติไทยที่เป็นถิ่นฐานที่เข้ามาอยู่อาศัย โดยการเข้าเมืองผิดกฏหมาย กับนางหมี่ยื่ม ยื่อบ๊อ ซึ่งทั้งสองเป็นชาวอาข่าที่อพยพมาจากฝั่งเมียนมาร์ ต่อมาในปี 2552 นางหมี่ยื่ม สามารถพิสูจน์และได้รับสัญชาติไทยภายหลังจากทีน้องดนัยเกิด ดังนั้นในขณะที่น้องดนัยเกิด บิดาและมารดาจึงเป็นคนข้ามชาติที่อาศัยในไทย โดยไม่ใช่บุคคลสัญชาติไทย ซึ่งน้องดนัยไม่มีสัญชาติทำให้น้องดนัยไม่สามารถเข้าถึงสิทธิที่ตนควรมี อย่างน้อยที่สุดคือน้องดนัยควรได้รับสัญชาติไทย เพราะเกิดในประเทศไทย และมีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐไทย คือเกิดที่ไทยนั่นเอง ซึ่งจากกม.เรื่องสัญชาติ

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญในปัญหาแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก คือ การบริหารจัดการ ควบคุมและคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ ซึ่งเป็นคนที่มาจากต่างประเทศเหล่านั้น อย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และไม่เป็นการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ละเมิดสิทธิแรงงาน การคุกคามในชีวิตและทรัพย์สิน การเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก ซึ่งได้แก่ การศึกษา สุขภาพ การคุ้มครองเด็ก และการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ในสังคม
หมายเลขบันทึก: 568751เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 18:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท