HR-LLB-TU-2556-TPC-กฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


ในสังคมปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาอาชญากรรมมีแนวโน้มการก่อเหตุในลักษณะทวีความ รุนแรงขึ้นทุกขณะทั้งในด้านสถิติการก่ออาชญากรรมและวิธีการประกอบอาชญากรรมของผู้กระทํา ความผิดดังจะเห็นได้จากการนําเสนอภาพข่าวเกี่ยวกับการกระทําผิดผ่านสื่อต่างๆทั้งจากโทรทัศน์วิทยุ หนังสือพิมพ์และอินเตอร์เน็ตฯลฯรวมทั้ง จํานวนของผู้ถูกคุมขังในเรือนจําเพิ่มสูงขึ้นตามจํานวนคดีที่เข้า สู่กระบวนการยุติธรรมอันส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆตามมามากมายอาทิปัญหาคดีล้นศาล คนล้นคุก สูญเสียงบประมาณค่าใช้จ่ายในการดูแลและการบําบัดฟื้นฟูผู้ถูกคุมขังให้สามารถกลับคืนสู่สังคมได้โดย ปกติสุขเป็นต้นโดยปัญหาอาชญากรรมเป็นสิ่งที่ทําลายความสงบสุขของประชาชนและสังคมโดยรวม เนื่องจากก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินทําให้ประชาชนเกิดความกลัวและหวาดระแวง มี ผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยการกระทําผิดทางอาญานั้น ได้กระทําขึ้นโดย “อาชญากร” เช่น คดีฆ่าผู้อื่น ทําร้ายร่างกาย ข่มขืนกระทําชําเรา ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ และ ปล้นทรัพย์ เป็นต้น
รัฐจึงจําเป็นที่จะต้องมีมาตรการป้องกันสังคมให้สงบสุข โดยมีการตรากฎหมายกําหนด บทลงโทษแก่ผู้กระทําความผิดแต่การลงโทษผู้กระทําความผิดนั้นจะลงโทษหนักหรือเบานั้นขึ้นอยู่กับ พฤติกรรมก่อเหตุและสภาพความผิดที่หนักหรือเบาโดยเชื่อว่าการลงโทษผู้กระทําผิดนั้นจะก่อให้เกิด ผลดีต่อความสงบของสังคมอันจะทําให้อาชญากรรมลดลง 

การลงโทษผู้กระทําความผิดหรืออาชญากรนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายวิธีซึ่งโทษตามประมวล กฎหมายอาญานั้นมีอยู่ 5 ประเภทคือประหารชีวิตจําคุกกักขังปรับริบทรัพย์สินแต่การลงโทษที่ถือว่าเป็น การกําจัดผู้กระทําความผิดหรืออาชญากรออกไปจากสังคมที่รุนแรงที่สุดคือ “โทษประหารชีวิต”

โทษประหารชีวิตถูกบัญญัติเอาไว้เฉพาะการกระทำความผิดร้ายแรงเท่านั้น อาทิเช่น การก่อการร้าย การฆ่าผู้อื่น เป็นต้น ซึ่งหากมาพิเคราะห์ถึงความรุนแรงในการลงโทษประหารชีวิตผู้ต้องหาในคดีต่างๆ หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องสมควรอย่างยิ่งที่ผู้กระทำความผิดจะต้องรับโทษตาย เพราะความผิดที่ได้ทำไว้ร้ายแรงมาก ไม่สมควรที่ผู้นั้นจะมีชีวิตต่อไป ไม่ว่าด้วยเหตุผลเพื่อไม่ให้ไปกระทำความผิดนั้นซ้ำอีก หรือไม่ว่าเพราะเป็นการชดใช้แก่ผู้สูญเสีย ซึ่งไม่ว่าจะด้วยเหตุผลประการใดก็เป็นประเด็นน่าคิดว่าการประหารชีวิตบุคคลนั้นเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ คำตอบของคำถามนี้ อาจะเป็นได้ทั้งสองทางคือ ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน และ ละเมิดสิทธิมนุษยชน

องค์กรสิทธิมนุษยชนทั่วโลกซึ่งไม่เห็นด้วยกับการลงโทษด้วยการประหารชืวิตจึงมีเหตุผลในการคัดค้านการลงโทษประหารชีวิต ที่สำคัญ คือ 1. ไม่มีมนุษย์หรือกลุ่มคนใดที่สามารถอ้างสิทธิทำร้ายคนอื่นหรือคร่าชีวิตผู้อื่นถึงตาย ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด 2. บางครั้งผู้บริสุทธิ์ถูกประหารชีวิตและไม่มีหนทางชดใช้ 3. ข้อโต้แย้งที่ว่า การประหารชีวิตเป็นมาตรการปรามอาชญากรรมร้ายแรงได้นั้น เป็นข้อสันนิษฐานที่ขาดพื้นฐานรองรับ 

แต่แม้การลงโทษประหารชีวิตจะเป็นการขัดต่อสิทธิมนุษยชนก็ตามแต่หากพิจารณาถึงความจำเป็นจะต้องมีหรือไม่นั้น ในความเห็นของข้าพเจ้าคิดว่าประเทศไทยควรจะมีโทษประหารชีวิตต่อไป แม้ในทางการปฏิบัติจริงของประเทศไทยเเล้วจะไม่ได้มีการนำมาใช้ก็ตาม ด้วยเหตุผลที่ว่าการมีโทษประหารชีวิตในกฎหมายนั้นจะเป็นหลักประกัน เป็นบทลงโทษเพื่อประโยชน์ในการบังคับควบคุมให้ผู้ที่จะกระทำผิดเกิดความเกรงกลัวต่อโทษที่มีกำหนดไว้อย่างชัดเจน และเพื่อให้เกิดประโยชน์ตามเหตุผลเบื้องหลังของโทษประหารดังที่ได้กล่าวมาเเล้วข้างต้น

ดังนั้นการจะยกเลิกโทษประหารหรือปรับเปลี่ยนเป็นโทษอะไรแทนนั้นจึงยังเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายจะต้องศึกษาทำความเข้าใจกันรอบด้านสำหรับการหาทางออก เพื่อนำมาซึ่งบทสรุปที่ทุกคนมีความเห็นสมควรตรงกัน และเกิดความยุติธรรมมากที่สุด

อ้างอิง

www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/book.pdf

http://www.elib.coj.go.th/Ebook/data/judge_report/jrp2555_10_25.pdf



หมายเลขบันทึก: 568748เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 18:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท