HR-LLB-TU-2556-TPC-ผู้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพดี


สุขภาพดี เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมวลมนุษยชาติตามปฏิญาณสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่สหประชาชาติได้กำหนดไว้ ประกอบกับสุขภาพเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ผู้อื่นจะหยิบยื่นหรือทำแทนแต่ฝ่ายเดียวไม่ได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนที่จะต้องรับผิดชอบดูแลสุขภาพตนเองไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย และไม่ทำอะไรที่เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น พร้อมทั้งขวนขวายหาความรู้และแนวทางที่เหมาะสมเพื่อให้มีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข

หากพิจารณาถึงคำว่าสิทธิในการมีสุขภาพดีตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 25451

มาตรา 3 บัญญัติว่า "บริการสาธารณสุข หมายความว่า บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งให้โดยตรงแก่บุคคลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ทั้งนี้ ให้รวมถึงการบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ"

มาตรา 5 วรรค 1 บัญญัติว่า "บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดโดยพระราชบัญญัตินี้"

ผู้ทรงสิทธิ คือ ผู้ที่สามารถใช้สิทธิต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิมนุษยชน หรือสิทธิต่างๆ ได้อย่างอิสรเสรี แต่ต้องไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน และจารีตประเพณีของประชาชน

ดังนั้น สิทธิในการมีสุขภาพที่ดี คือ สิทธิที่มนุษย์จะต้องสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้โดยถ้วนหน้า เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและร่างกายของมนุษย์ ดังนั้นจึงเป็นสิทธิลำดับแรกๆที่มนุษย์ทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่จำเป็นว่าผู้ป่วยจะต้องถือสัญชาติไทยเท่านั้นจึงจะมีสิทธิรักษาพยาบาลได้ ผู้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพดีตามความเห็นของนักศึกษาจึงหมายถึงมนุษย์ทุกคนที่เกิดมามีสภาพบุคคล

จากกรณีศึกษาในปัจจุบันพบว่าเกิดปัญหาการละเมิดสิทธิในการมีสุขภาพดีกับทั้งพลเมืองของรัฐ หรือบุคคลผู้ที่มิใช่พลเมืองของรัฐเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญู่ที่ถูกละเมิดในเรื่องนี้ก็มักจะเป็นบุคคลผู้มิได้รับสถานะความเป็นพลเมืองของรัฐเสียมากกว่า อาจกล่าวได้ว่ารัฐมองว่า การดูแลบุคคลผู้ซึ่งมิใช่พลเมืองของตนเป็นเรื่องสิ้นเปลืองงบประมาณ จากสาเหตุนี้ จึงส่งผลกระทบต่อบุคคลไร้รัฐโดยตรง

กรณีศึกษาน้องผักกาด เกิดในโรงพยาบาล แม่สอดจังหวัดตาก มีอาการสมองบวม มารดาซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นชาวพม่า จึงได้ทิ้งน้องผักกาดไว้ในโรงพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลก็ไม่ได้มีการแจ้งเกิดน้องผักกาดแต่อย่างใด เพราะตาดว่าน้องผักกาดไม่น่าจะมีชีวิตรอดอยู่ได้ แต่ก็เกิดปัญหาว่าน้องผักกาด สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ จนปัจจุบันมีอายุถึง 8 ปี กล่าวคือ น้องผักกาด ซึ่งควรจะได้รับการแจ้งเกิด มีสิทธิได้รับการคุ้มครองจากรัฐ ก็ไม่ได้ ทำให้น้องผักกาดอยู่ในสถานะภาพไร้รัฐ ไร้สัญชาติ แม้ว่ากรณีน้องผักกาดจะถือเป็นความโชคร้ายอย่างหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ก็เป็นโชคดีที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ให้ความสนใจกับปัญหาคนไร้รัฐ เข้าไปให้ ช่วยเหลือ

อ้างอิง
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 5 วรรค 1

http://www.esanphc.net/online/people/people01.htm

http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538976332&Ntype=19

http://www.l3nr.org/posts/367042
หมายเลขบันทึก: 568754เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 18:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 18:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท