HR-LLB-TU-2556-TPC-กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


กฎหมายที่รับรองสิทธิมนุษยชนเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจนเป็นฉบับแรกคือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ค.ศ. 1948(UDHR) โดยรับรองไว้หลายแง่มุมไว้เป็นหลักการกว้าง เช่น ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์, สิทธิในชีวิตร่างกาย, สิทธิในทรัพย์สิน, สิทธิในสถานะบุคคล, สิทธิทางการเมือง, สิทธิทางเศรษฐกิจและสังคม, สิทธิเสรีภาพ ฯลฯ

 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนฉบับนี้ถือเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ในการวางราก ฐานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับแรกของโลก กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนทุกฉบับในปัจจุบันล้วนมีพื้นฐานและได้รับการพัฒนามาจากปฏิญญาสากลฉบับนี้ทั้งสิ้น และกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนากฎหมายภายในประเทศของประเทศต่างๆ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนในประเทศของตน ทั้งนี้โดยที่ประชาคมโลกตระหนักถึงความสำคัญของปฏิญญาสากลฯ ในฐานะแม่บทของสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจึงได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ มากที่สุดในโลก

ปฏิญญาสากลประกอบด้วยบทบัญญัติทั้งสิ้น 30 ข้อ ซึ่งมีเนื้อหาโดยสรุปคือ

          ข้อ 1 - 3 เป็นเกณฑ์กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเบื้องต้นที่สำคัญ 3 ประการคือ สิทธิในการดำรงชีวิต (right to life) สิทธิที่จะมีเสรีภาพ (right to liberty) และสิทธิที่จะมีความมั่งคง แห่งตัวตน (right to security of person) และเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่มนุษย์เมื่อเกิดมาพึงได้รับโดยเท่าเทียมกันและไม่มีการเลือก ปฏิบัติทางเพศ เชื้อชาติ ภาษา ศาสนา

          ข้อ 4 - 21 ได้กล่าวถึงสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (civil and political rights)

          ข้อ 22 - 27 ได้กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (economic, social and cultural rights) ได้พึงได้รับการยอมรับซึ่งสิทธิทั้งสองด้านได้มีอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกำหนดรายละเอียดและการคุ้มครองไว้

          ข้อ 28 - 30 กล่าวถึงทุกคนมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อระเบียบสังคมและประชาชนระหว่างประเทศที่มีการรับรองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพพื้นฐานกล่าวคือ อยู่ภายใต้กฎหมายที่รับรองสิทธิและเสรีภาพพื้นฐานและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น

สำหรับกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่มีปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นแม่แบบนั้นได้แก่[2]

  1. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 (แม่แบบ)
  2. กฎบัตรสหประชาชาติ ค.ศ. 1945
  3. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ ค.ศ. 1958
  4. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966
  5. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ค.ศ. 1966
  6. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบค.ศ. 1979
  7. อนุสัญญาด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989
หมายเลขบันทึก: 568749เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 18:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท