HR-LLB-TU-2556-TPC-ผู้ประกอบธุรกิจต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนด้วยหรือ


การดำเนินธรุกิจในยุคปัจจุบันที่มีความเป็นโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ที่เป็นผลมาจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศน์ ซึ่งเป็นเหมือนการย่อโลกให้คนทั้งโลกเข้ามาอยู่ใกล้กันมากยิ่งขึ้น การทำธุรกิจในลักษณะนี้นั้นทำให้ผู้ประกอบธุรกิจทั้งหลายจะต้องประสบพบเจอ เกี่ยวพัน และได้ติดต่อสื่อสารกับคนหลากหลายรูปแบบ ซึ่งมนุษยเรามีความแตกต่างกันได้ในหลายรูปแบบ เช่น เพศ อายุ วัย สัญชาติ เชื่อชาติ เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือ ความต่างทางด้านประเพณีวัฒนธรรม วิธีทางการใช้ชีวิต แม้กระทั่งวิธีคิดในปัจจุบันสังคมได้มีการพัฒนาจากในอดีตไปมาก กล่าวคือในสมัยก่อนบุคคลอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัยกัน หากมีความจำเป็นหรือต้องการสิ่งของเครื่องใช้ใดก็จะใช้การเเลกเปลี่ยนสิ่งของต่อกัน แต่เมื่อเวลาผ่านไปเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในการใช้เงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเกิดขึ้น อีกทั้งกระเเสโลกาภิวัฒน์ก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุกๆด้าน ทั้งทางเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ และความต้องการของแต่ละคนก็เริ่มมากขึ้นตามมา จึงก่อให้เกิดการแสวงหาผลกำไรหรือผลประโยชน์เกิดขึ้น จนกลายมาเป็นสังคมธุรกิจ สังคมลักษณะนี้จะยึดถือผู้บริโภคว่ามีความต้องการสินค้าหรือบริการแบบใด โดยผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจซึ่งเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตก็จะผลิตสินค้าออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และในการค้าจึงจำเป็นจะต้องมีการแข่งขันกันระหว่างผู้ประกอบการหลายราย เพื่อดึงดูดความสนใจให้ผู้บริโภคหันมาสนใจในสินค้าของตน ซึ่งการที่จะทำให้สินค้าเป็นที่สนใจได้นั้นต้องอาศัยการโฆษณาแก่ผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เกิดการโฆษณาที่อาจมีการนำเรื่องสีผิว เพศ และชาติพันธุ์เข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งการกระทำดังกล่าวถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนบางกลุ่มได้ โดยผู้ซึ่งจัดทำโฆษณาอาจไม่ได้มีวัตถุประสงค์ไปในทางนั้น แต่ผลลัพธ์ที่ออกมาเนื่องจากการมองข้ามในจุดเล็กๆ อาจนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งและความไม่พอใจในสังคมได้

 สิทธิมนุษยชน (Human Rights)หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความเท่าเทียมกันในแง่ศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์และสิทธิ เพื่อดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ อายุ ภาษาศาสนา และสถานภาพทางกายและสุขภาพรวมทั้งความเชื่อทางการเมือง หรือความเชื่ออื่นๆที่ขึ้นกับพื้นฐานทางสังคม สิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถถ่ายทอดหรือโอนให้แก่ผู้อื่นได้สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่ เกิดและการดำเนินธุรกิจก็อาจส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนได้ ดังประเทศก็มีความพยายามที่จะให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องคำนึงถึง สิทธิมนุษยชนโดยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติก็ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ รับรองการก่อตั้งมาตรฐานตามความสมัครใจที่ชื่อว่า “UN Guiding Principles on Business and Human Rights”[vi] ซึ่งเป็นการแปลความกรอบนโยบาย “Protect Respect and Remedy Framework” ให้เป็นขั้นตอนวิธีการปฏิบัติเพื่อให้ภาคธุรกิจและภาครัฐเอาไปใช้

                      เนื้อหาสำคัญของเอกสารทั้งสองฉบับประกอบด้วยแนวคิดที่มองเห็นว่า องค์กรธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อการเคารพ สิทธิมนุษยชน และรัฐบาลมีหน้าที่ต้องป้องกัน การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยบุคคลที่ 3 ซึ่งรวมถึงองค์กรธุรกิจด้วย รวมทั้งควรสนับสนุนให้เหยื่อผู้ถูกละเมิดเข้าถึงช่องทางการเยียวยา ได้ดียิ่งขึ้นทั้งในและนอกกระบวนการยุติธรรม ซึ่งจริงๆ ก็เป็นการอธิบายอำนาจและหน้าที่ภายใต้กรอบของกฎหมายระหว่างประเทศเดิมให้ ชัดเจนขึ้น และชี้ระบุความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับธุรกิจที่ต้องร่วมกันดูแลป้องกันการ ละเมิดสิทธิมนุษยชนให้เด่นชัดออกมา

                       โดยสาระสำคัญที่แท้จริงซึ่งไม่ค่อยมีคนกล่าวถึงคือ มาตรฐานแนวปฏิบัติข้อที่ 7 (หน้า 9) ซึ่งมีคำอธิบายมาตรฐานอย่างเป็นทางการระบุว่า ในยามสถานการณ์ขัดแย้งที่ “รัฐประเทศเจ้าบ้าน” ของการดำเนินธุรกิจนั้น ไม่สามารถทำหน้าที่ปกป้องสิทธิมนุษยชนให้กับประชาชนของตัวเองได้ ในกรณีของบรรษัทข้ามชาติ ให้ “รัฐประเทศต้นทาง” มีบทบาทต้องช่วยองค์กรธุรกิจและประเทศเจ้าบ้านดูแลให้บริษัทจากประเทศตนเอง ไม่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในขณะเดียวกันก็ให้ประเทศเพื่อนบ้านสามารถให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมได้ด้วย

ผู้ประกอบการธุรกิจจึงจะต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนด้วย เป็นเพราะจากที่ได้กล่าวมาในบันทึกก่อนหน้านี้นั้น สิทธิมนุษยชนเป็นหลักการที่สำคัญที่สุดหลักการหนึ่งในการดำรงชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่ามันจะเป็นการส่งเสริมให้การประกอบธุรกิจนั้นก้าวหน้าและเป็นวิถีทางที่จะทำให้ธุรกิจนั้นประสบความสำเร็จได้ จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่าโลกาภิวัฒน์นั้น ทำให้คนที่มีความแตกต่างกันในด้านต่างๆต้องมาอยู่ร่วมกัน และทำงานร่วมกัน ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าเป็นผลดีต่อธุรกิจอย่างมาก เนื่องจากอย่างที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นอีกเช่นเดียวกัน คือ คนที่มีความต่างทั้งเรื่องเพศ อายุ สัญชาติ หรือเชื้อชาตินี้ นำมาสู่วิธีคิดความคิดที่แตกต่างกัน มีมุมมองที่แตกต่างกัน ซึ่งการที่จะทำให้ประสบความสำเร็จนั้น การรวบรวมความคิดที่แตกต่าง อาจทำให้เกิดสิ่งใหม่ และอาจเป็นจุดเด่นในการทำธุรกิจก็เป็นได้ และยังอาจเป็นการช่วยเปิดตลาดในส่วนที่เราไม่เคยได้เรียนรู้หรือเข้าไปทำมาก่อน เพราะคนที่มาจากต่างที่อาจมองเห็นลู่ทางที่ต่างออกไป และยังอาจเห็นช่องโหว่ความผิดพลาดที่เรามี แต่การที่จะนำชาวต่างชาติมาอยู่ร่วมกัน ทำงานร่วมกันกับคนของเรานั้น เราจะต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนของเขาด้วย เนื่องจากเขาอาจมีความต่างกับเราในหลายๆด้าน เช่นการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น คนฟิลิปปินส์อาจเป็นคนตรงเวลาอย่างมาก หากเราจะต้องทำงานกับเขาเราก็ควรที่จะให้เกียรติเขา เรียนรู้วิธีทางการทำงานของเขา นอกจากนี้ในด้านความคิดนั้นเขาอาจมีมุมมองที่ต่างออกไป จึงไม่ควรไปจำกัด หรือริดรอนความคิดเขา เพียงแค่คิดว่าเขาเป็นคนต่างถิ่น ไม่น่ารู้จักลูกค้า หรือตลาดธุรกิจดีเท่าเรา ซึ่งนั่นก็คือ การเคารพในสิทธิมนุษยชนของเขา เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น และเป็นผลดีต่อองค์กรมากที่สุด

สิทธิมนุษยชนกับสังคมไทย. oknation. [Website] 2009 Jan www.oknation.net/blog/print.php?id=390434

http://www.thairath.co.th/content/382622. สืบค้นข้อมูลวันที่16พ.ค.2557

หมายเลขบันทึก: 568750เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 18:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท