ผู้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพดี


สิทธิในการมีสุขภาพดี หรือสิทธิในการรักษาพยาบาล เป็นสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่งซึ่งได้ระบุไว้ใน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 25 ซึ่งเป็นสิทธิที่ทุกคนที่เป็นมนุษย์พึงได้รับไม่ว่าจะเป็น[1] บุคคลที่ไร้สถานะบุคคลตามกฎหมายทะเบียนราษฎร หรือ บุคคลที่ไร้สถานะบุคคลตามกฎหมายสัญชาติ และ บุคคลที่ไร้สถานะบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ต่างก็เป็นมนุษย์จึงมีสิทธิดังกล่าว 

และรวมถึงสิทธิดังกล่าวได้ถูกนำมาบัญญัติในกฎหมายไทยตาม รัฐธรรมนูญไทย ปี 2550 มาตรา 4 บัญญัติว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง” ซึ่งสิทธิในการรักษาพยาบาลก็เป็นสิทธิของบุคคลที่รัฐไทยคุ้มครองตามมาตรานี้และตามมารตรา 15 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

จากกรณีศึกษา น้องผักกาดเกิดในโรงพยาบาล แม่สอดจังหวัดตาก เมื่อปี2549 โดยไม่มีการแจ้งเกิด มีอาการสมองบวม มารดาซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นชาวพม่า ซึ่งโรงพยาบาลก็ไม่ได้มีการแจ้งเกิดน้องผักกาดแต่อย่างใด เพราะคาดว่าน้องผักกาดไม่น่าจะมีชีวิตรอดอยู่ได้ แต่ก็เกิดปัญหาว่าน้องผักกาด สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ จนปัจจุบันมีอายุถึง 8 ปี กล่าวคือ น้องผักกาด ซึ่งควรจะได้รับการแจ้งเกิด มีสิทธิได้รับการคุ้มครองจากรัฐ  ทำให้น้องผักกาดอยู่ในสถานะภาพไร้รัฐ ไร้สัญชาติตลอดจนถือเป็นคนผิดกฎหมายคนเข้าเมืองของทุกรัฐบนโลก และในปัจจุบันมีได้หลักประกันสุขภาพในกองทุนเพื่อบุคคลที่มีปัญหาสถานะตามมติ คณะรัฐมนตรี 

ซึ่งกรณีดังกล่าวน้องผักกาดก็เป็นคนที่มีปัญหาสถานะด้านสัญชาติ น้องจึงเป็นผู้ทรงสิทธิในสิทธิรักษาพยาบาล และควรได้ใช้สิทธิในหลักประกันสุขภาพในกองทุนเพื่อบุคคลที่มีปัญหาสถานะตาม มติ คณะรัฐมนตรีเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ.2553 เพราะเป็นบุคคลที่มีปัญหาสถานะบุคคล แต่น้องผักกาดก็ยังมิได้รับสิทธินั้น ทั้งที่น้องก็เป็นบุคคลที่มีปัญหาสถานะบุคคล  ดังนั้นการที่น้องผัดกาดไม่มีหลักประกันสุขภาพ เพราะเป็นคนไร้สัญชาตินั้นจึงทำไม่ได้ เพราะเป็นบุคคลที่มีปัญหาสถานะบุคคล บุคคลเหล่านั้นควรมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาล เพราะการรักษาพยาบาลเป็นสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีขึ้นจากความเป็นมนุษย์ ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 25 (1) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีในอนุสัญญา ซึ่งเป็นสิทธิที่มนุษย์ทุกคนพึงได้รับโดยไม่แบ่งแยกรัฐ หรือ สัญชาติ รวมถึง มาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญไทยปี 2550 ได้คุ้มครองสิทธิของบุคคล บุคคลทุกคนในประเทศไทยจึงควรได้รับสิทธิการรักษาและการรักษาก็ควรเป็นไปตาม หลักมนุษยชนคือ รักษาให้มีชีวิตรอดเท่าที่จำเป็น

บันทึกเมื่อ 19 พ.ค. 2557

เอกสารอ้างอิง

[1] รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร. แล้วใครล่ะคือ “บุคคลที่มีปัญหาสถานะบุคคลตามกฎหมาย” ในประเทศไทย ?. เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๖. (ออนไลน์). สืบค้นจาก  :https://www.facebook.com/note.php?saved&¬e_id=1… , [19 พฤษภาคม 2557]

[2] ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน Universal Declaration of Human Rights (ออนไลน์), สืบค้นจาก : http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/udhrt.pdf , [19 พฤษภาคม 2557]

หมายเลขบันทึก: 568737เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 17:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 18:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท