กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


                          สนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนมีลักษณะเป็นสนธิสัญญาพหุภาคี กล่าวคือ เป็นสนธิสัญญาที่มีรัฐมากกว่าสองรัฐขึ้นไปเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งกระบวนการในการทำสนธิสัญญามีหลายขั้นตอน นับตั้งแต่การเจรจา การให้ความยินยอมของรัฐเพื่อผู้พันตามสนธิสัญญาโดยการลงนาม การให้สัตยาบัน การภาคยานุวัติ และบางรัฐอาจตั้งข้อสงวน หรือตีความสนธิสัญญา และเมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนในการทำสัญญาครบถ้วนแล้ว ภาคีก็มีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาต่อไป การเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญาก่อให้เกิดพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับสนธิสัญญา มิฉะนั้นอาจต้องรับผิดในทางระหว่างประเทศ ดังนั้น เมื่อประเทศไทยเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน ประเทศไทยก็ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีของสนธิสัญญาดังกล่าว

พันธกรณีระหว่างประเทศเดี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของไทย ในปัจจุบันไทยเป็นภาคีในสนธิสัญญา ด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งสหประชาชาติถือเป็นสนธิสัญญาหลักจำนวน 7 ฉบับได้แก่ 

  1. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child - CRC)
  2. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Woman - CEDAW)
  3. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covernant on Civil and Political Rights - ICCPR)
  4. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covernant on Economics, Social and Cultural Rights - ICESCR)
  5. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination - CERD)
  6. อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment - CAT)
  7. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities - CRPD)

            โดยแม้ว่าอนุสัญญาทั้งหลายเหล่านี้จะมีเนื้อหาที่ต่างกัน แต่ก็มีการคุ้มครองในสิทธิมนุษย์พื้นฐานในแทบทุกฉบับและได้มีการเจาะจงเนื้อหาลงไปเฉพาะจุดในแต่ละฉบับ 

           โดยสิทธิคนพิการที่ไทยได้ลงนามเป็นภาคีทั้งกฎหมายระหว่างประเทศ อย่าง อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities - CRPDโดยระบบความคิดในการทำงานด้านคนพิการต้องประกอบด้วยหลักการสำคัญ 4 ประการ ดังนี้

1.คนพิการทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน - โดยเปลี่ยนสังคมไทยจาก “เวทนานิยม” หรือ “สังคมฐานสงเคราะห์” ไปสู่ “สังคมฐานสิทธิ”ซึ่งคนพิการทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันและเท่าเทียมกับคนทั่วไป เช่น คนพิการทุกคนจะได้ “เบี้ยความพิการ” เดือนละ 500 บาท ตั้งแต่เมษายน 2553 ส่วน “สังคมฐานสงเคราะห์” ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ให้จะให้ใคร เป็นเรื่องของเมตตาธรรม ซึ่งเหมาะกับการดูแลคนแบบปัจเจก หรือเป็นรายบุคคล ซึ่งมักปฏิบัติโดยองค์กรเอกชนแต่ ระดับรัฐต้องปฏิบัติงานโดยใช้ฐานสิทธิ

2. “ความพิการ”เป็นความหลากหลายของมนุษยชาติ คนพิการจึงมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์และสิทธิเท่าเทียมกับคนทั่วไป - การกำหนดนิยามของ “ความพิการ” จึงไม่ให้ความสำคัญต่อความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ หรือสติปัญญา แต่ “ความพิการ” ขึ้นอยู่กับสังคม สภาพแวดล้อม และโอกาส ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยคนพิการให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขเท่าเทียมกับคนทั่วไป ถ้าสภาพแวดล้อมไม่เอื้อ คนพิการยิ่งพิการมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าคนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไป ความพิการก็จะไม่มาก นั่นคือ ความพิการ เกิดจากสภาพร่างกายของคนพิการ กับ อุปสรรคในสภาพแวดล้อม

3. คนพิการต้องไม่ถูกเลือกปฏิบัติ – โดยดำเนินการให้มีการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งระบุว่า การเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อคนพิการจะปฏิบัติมิได้

4. คนพิการและผู้ดูแลคนพิการต้องได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย – ถ้าคนพิการและผู้ดูแลคนพิการได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายต่างๆ ความพิการจะไม่เป็นอุปสรรคและคนพิการจะสามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไปแล้ว[1] ยังมีกฎหมายภายในประเทศรองรับอีก เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

มาตรา 55 ระบุว่า “ บุคคลซึ่งพิการ หรือทุพพลภาพมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็น

สาธารณะ และความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ เป็นต้น

                 แต่อย่างไรก็ดีแม้ว่าประเทศไทยจะได้ลงสัญญาแล้วแต่ก็ยังมีหลายๆกรณีที่เห็นได้ถึงการเลือกปฏิบัติในไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของคนพิการที่มีการเลือกปฏิบัติอยู่มาก เช่นการที่คนเป็นโปลิโอไม่สามารถเป็นผู้พิพากษาได้ โดยอ้างว่ามีบุคลิกไม่เหมาะสม ซึ่งความจริงแล้วก็เป็นเรื่องที่มีเหตุผล เพราะอาจดูไม่น่าเกรงขามแต่หากถามผมแล้ว สำหรับผม ไม่ว่าใครก็ตามมีความสามารถก็ควรสามารถเป็นผู้พิพากษาได้ถ้าความพิการของเขาหรือบุคลิกของเขา ไม่ได้มีผลต่อการตัดสินใจของเขา รวมไปถึงกรณีของการสัก ที่เป็นข้อห้ามของระเบียบกต. ความเห็นส่วนตัวของผมนั้นผมเห็นว่า บางครั้งสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงภาพลักษณ์ภายนอก หาดได้สวมครุยและปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยความสมบูรณ์ด้วยเหตุและผลรวมถึงมีความเป็นธรรมก็ควรเป็นผู้พิพากษาได้ เพราะผมเห็นว่าการที่มีครุยนั้นนอกจากจะสร้างความน่าเกรงขามแล้วก็เป็นสัญลักษณ์ของผู้พิพากษาด้วย เราควรให้สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทำให้คนรับรู้ได้ถึงความเป็นธรรมเมื่อครุยหรือความเป็นผู้พิพากษาได้เห็น ไม่ใช่ที่คนที่ใส่ แต่หากใครก็ตามที่ใส่ชุดนี้ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามมีความรู้ มีความเป็นธรรมและเหตุผล และเกรงขามด้วยความเป็นผู้พิพากษา ไม่ว่าภายนอกจะเป็นอย่างไร น่าจะดูเกรงขามกว่า

                 ดังนั้นเราจึงควรตระหนักว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาเหล่านี้และนำมันมาใช้อย่างจริงจังมากขึ้นกว่านี้นั่นเอง

อ้างอิง

1.พชร วิเชียรสรรค์, สิทธิคนพิการ:http://www.l3nr.org/posts/367092

2.สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ,พันธกรณีระหว่างประเทศhttp://www.nhrc.or.th/2012/wb/th/print_content.php...

หมายเลขบันทึก: 568723เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 15:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 15:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท