ศาลสิทธิมนุษยชน


                ศาลสิทธิมนุษยชน เป็นองค์กรที่ให้ความคุ้มครองแก่สิทธิมนุษยชนอันเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ทุกๆคน โดยศาลสิทธิมนุษยชน ที่รู้จักกันดีนั้นคงหนีไม่พ้นศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป หรือ European Court of Human Rights

               ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (The European of Human Rights-ECtHR) ตั้งอยู่ที่เมืองสตราส์บูร์ก (Strasbourg) ประเทศฝรั่งเศส ตามหลักการในอนุสัญญายุโรปว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน ปี 1950 (The European Convention on Human Rights) เพื่อดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติตามอนุสัญญาของประเทศสมาชิก ซึ่งอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า อนุสัญญาเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน (Convention for the Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms) ซึ่งเป็นหนึ่งในอนุสัญญาที่สำคัญที่สุด ที่สภายุโรป (The Council of Europe) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกของสภายุโรป ทั้ง 47 ประเทศได้เข้าเป็นภาคีและรับหลักการของอนุสัญญาฯ 

                ในปัจจุบัน Council of Europe ตั้งอยู่ที่กรุง Strasburg ประเทศฝรั่งเศส มีประเทศสมาชิกอยู่จำนวน 47 ประเทศได้แก่ Albania, Andorra, Armenia, Austria, Azerbaijan, Belgium, Bosnia and Herzegovina, Bulgaria, Croatia, Cyprus, Czech Republic, Denmark, Estonia, Finland, France, Georgia, Germany, Greece, Hungary, Iceland, Ireland, Italy, Latvia, Liechtenstein, Lithuania, Luxembourg, Malta, Republic of Moldova, Monaco, Montenegro, Netherlands, Norway, Poland, Portugal, Romania, Russian Federation, San Marino, Serbia, Slovak Republic, Slovenia, Spain, Sweden, Switzerland, The former Yugoslav Republic of Macedonia, Turkey, Ukraine, United Kingdom และได้มีกฎหมายที่ยกร่างขึ้นโดย Council of Europe ซึ่งใช้บังคับกันระหว่างรัฐสมาชิกคือ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนยุโรป 1950 (European Convention on Human Rights 1950)อนุสัญญานี้มีผลบังคับใช้ในปี 1953 โดยเนื้อหาภายในของอนุสัญญากล่าวถึงในเรื่องของสิ่งต้องห้าม อันได้แก่ การทรมานการทารุณกรรมหรือการปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมรวมถึงการ ลงโทษอย่างไร้มนุษยธรรม การเอาคนลงเป็นทาสและการใช้แรงงานโดยการบังคับ โทษประหารชีวิต การคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือโดยอำเภอใจ การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมในการใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่ได้รับรองไว้ในอนุสัญญาฉบับนี้

                   โดยในส่วนของผู้พิพากษานั้น ผู้พิพากษาศาลสิทธิมนุษยชนประกอบไปด้วยผู้พิพากษาจากแต่ละภาคีจำนวนเท่ากันกับจำนวนรัฐภาคีอนุสัญญาฯ มีทั้งสิ้น47 คน โดยมาจากการเลือกตั้งโดยคณะรัฐมนตรียุโรป มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 9 ปี สำหรับองค์คณะในการนั่งพิจารณานั้น ประกอบด้วยผู้พิพากษา 7 คน ส่วนที่ประชุมใหญ่ประกอบด้วยผู้พิพากษา 17 คน นอกจากนี้รัฐภาคีอาจจะเสนอรายนาม ผู้พิพากษาที่มีสัญชาติอื่นในนามของตนก็ได้

                     ส่วนคู่ความในคดี คู่ความในศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปนั้น ฝ่ายโจทก์คือ ปัจเจกชนบุคคลธรรมดาหรือ นิติบุคคล หรือผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนต่างๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีสัญชาติของรัฐสมาชิก เพียงแต่มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในรัฐสมาชิกแห่งอนุสัญญาหากถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนก็สามารถเป็นโจทก์ก็ได้ ส่วนฝ่ายจำเลยก็คือรัฐสมาชิก ถ้าไม่มีเป็นสมาชิกก็ไม่สามารถถูกฟ้องได้ นอกจากนี้ รัฐสมาชิกก็สามารถฟ้องรัฐสมาชิกได้เช่นกัน เพราะถ้าไม่ใช่รัฐสมาชิกก็ยังไม่ได้ยอมรับในอนุสัญญานี้

                     ส่วนการตัดสินศาลจะต้องทำการตัดสินด้วยการลงคะแนนเสียงข้างมากผู้พิพากษาใดมีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีจะมีเอกสิทธิในการเพิ่มเติมความคิดเห็นของตนลงไปต่างหากจากคำพิพากษาหรือรวมกันก็ได้ รวมทั้งการแสดงความเห็นขัดแย้งหรือขัดแย้งเพียงเล็กน้อยลงไปด้วย

แต่ถึงแม้ว่าคำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปจะ “ไม่มีผลเหนือศาลภายใน” หรือ “ไม่มีผลลบล้างคำพิพากษาของศาลภายใน” ก็ตาม แต่ผลกระทบของคำพิพากษาที่สำคัญที่สุดก็คือ ทำให้ประเทศสมาชิกได้ปรับกฎหมายภายในของตนให้สอดคล้องกับอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

ซึ่งคำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปนั้น ได้เป็นที่ยอมรับว่ามีความชัดเจนแน่นอน และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติตามได้ไม่เฉพาะเพียงแต่ในประเทศในภูมิภาคยุโรปเท่านั้น คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(UN Human Rights Committee) ก็ได้นำแนวคำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปไปปรับใช้ในการพิจารณาถึงพันธกรณีของรัฐภาคีองค์การสหประชาชาติ ในกรณีที่มีการร้องเรียนโดยรัฐหรือเอกชนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนโดยรัฐใดรัฐหนึ่งหรือไม่ด้วย

เมื่อมองภาพโดยรวมแล้ว ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปนับเป็นตัวอย่างหนึ่งของความสำเร็จแห่งกลไกการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาคซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่า กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนก็ทำงานได้ผลในการบังคับใช้สิทธิมนุษยชนข้ามพรมแดน คำพิพากษาของศาลได้ซึมแทรกเข้าสู่ระบบกฎหมายของประเทศที่เป็นภาคีสมาชิก ก่อให้เกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายต่างๆ อันยังประโยชน์แก่คนหรือกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสหรือเสียเปรียบในสังคม รวมทั้งเป็นตัวอย่างบรรทัดฐานในการใช้ตีความสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานต่างๆ ขององค์การต่างๆ ในองค์การสหประชาชาติหรือองค์การในระดับภูมิภาคอื่นๆ

                        โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาเซียนของเรา ที่มีการตั้ง ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights หรือ AICHR ขึ้นเป็นองค์กรพิทักษ์สิทธิมนุษย์ชนของอาเซียน แต่ไม่ได้เป็นศาลซึ่งก็มีข้อปัญหาว่าการที่ไม่ได้เป็นศาลนั้นทำให้องค์กรนี้ไม่มีอำนาจอย่างเด็ดขาดแท้จริงเหมือนศาลสิทธิมนุษย์ชน ทำให้เราควรพิจารณาในอนาคตว่าจะพัฒนา องกรณ์นี้ไปอย่างไร ควรพัฒนาไปเป็นศาลเช่น EU หรือไม่นั่นเอง

อ้างอิง

1.รู้จักไหมศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป.ที่มา http://www.l3nr.org/posts/46556.สืบค้นเมื่อ 19 พ.ค. 57

2.ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป VS เคท มิดเดิลตัน.ที่มา http://www.l3nr.org/posts/466240.สืบค้นเมื่อ 19 พ.ค. 57

หมายเลขบันทึก: 568720เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 15:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 15:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท