แนวทางในการแก้ไขปัญหางานการเงินและพัสดุ


ดิฉันได้มีโอกาสได้เข้ารับการอบรมหลักสูตร แนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานด้านการเงินและพัสดุสำหรับส่วนราชการ ณ โรงแรมแกรนด์ เดอ วิล์ล กรุงเทพมหานคร จัดโดยศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรเพื่อสังคม : ส.พ.บ  ซึ่งเป็นหลักสูตรที่น่าสนใจมากและอยากนำมาแลกเปลี่ยนกับทุก ๆ คน เผื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานค่ะ

<p>จากประเด็นปัญหาในการปฏิบัติงานต่าง ๆ ส่วนใหญ่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในการวิเคราะห์วินิจฉัยตีความตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ เนื่องจาก กฎ ระเบียบ ดังกล่าวมีจำนวนมากเกินไปบางครั้งเกิดความขัดแย้งหรือความเสี่ยงต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ หรืออาจไม่สอดคล้องกับสภาพแวดคล้องของระบบเศรษฐกิจ/สังคม/และการเมือง ที่เปลี่ยนแปลงไป การเปิดโอกาสให้มีการใช้ดุลยพินิจมากขึ้น โดยต้องถือปฏิบัติตาม พ.ร.ฎ. ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 ประชาชนและผลลัพธ์ของการบริหารราชการโดยมี หลักกฎหมาย หลักคุณธรรม หลักความคุ้มค่า หลักความโปร่งใส่ หลักการตรวจสอบ หลักความรับผิดชอบ ในการปฏิบัติตาม แต่ก็มีบางส่วนที่กระทำผิดที่เกิดจากความตั้งใจ ทุกการกระทำผิดไม่ว่าจะเกิดจากความตั้งใจหรือไม่ต่างก็ต้องได้รับโทษทางกฎหมายหนักเบาตามการกระทำผิดที่เกิดขึ้นจากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการบริหารงานด้านการเงินและพัสดุนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการควบคุมภายในการบริหารงานด้านการเงินและพัสดุอย่างเคร่งครัด ดังนี้</p><p>1.แต่งตั้ง มอบหมายหน้าที่ให้กับผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและพัสดุอย่างชัดเจน ถูกต้องและจำนวนบุคลากรมีความเหมาะสมกับตำแหน่งงาน โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่อย่างชัดเจน</p><p>2.ควบคุมการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของแต่ละฝ่ายอย่างเคร่งครัด</p><p>3.ปฏิบัติงานโดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ถูกต้อง ชัดเจน สามารถตรวจสอบได้</p><p>4.มีการกระจายอำนาจ มอบอำนาจให้อนุมัติจ่ายเพื่อควบคุมอย่างถูกต้องเหมาะสม</p><p>5.สร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรซึ่งมีภาระงานหนักและความเสี่ยงสูงจากการปฏิบัติงาน</p><p>6.บริหารจัดการระบบการดำเนินงานให้ถูกต้องชัดเจนตามเจตนาระเบียบ</p><p>7.มีการติดตามประเมินผลที่รัดกุมมากที่สุด และมีการควบคุมกำกับที่เหมาะสม และอย่างใกล้ชิด</p><p>8.การศึกษากฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับด้านการเงิน การคลังและพัสดุ ซึ่งมีเงื่อนไขที่สำคัญดังนี้</p><p>8.1ระเบียบที่มีความคล่องตัวสูง ควรตรวจสอบป้องกันที่เหมาะสม</p><p>8.2การใช้ดุลยพินิจที่ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง</p><p>8.3การตรวจสอบก่อนจ่าย ก่อนอนุมัติ ที่มีคุณภาพเท่าที่ควร</p><p>8.4ควรมีระบบบริหารความเสี่ยงด้านการเงิน การบัญชี งบประมาณ และพัสดุที่เป็นรูปธรรม เช่น คู่มือการทำงาน</p><p>9.การใช้ดุลยพินิจอย่างรอบครอบ ซึ่งควรพิจารณาจาก</p><p>9.1กฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับกำหนดให้ใช้ดุลยพินิจได้โดยใคร</p><p>9.2เพื่อประโยชน์ของทางราชการ ไม่ว่าจะทางตรง หรือทางอ้อม</p><p>9.3ผ่านกระบวนการปฏิบัติราชการที่เหมาะสมโดยชอบ</p><p>10.ควบคุมวินัยการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ในเรื่องภาระงานที่มาก เจ้าหน้าที่ขาดทักษะ การตรวจสอบ ควบคุม กำกับ ปัญหาต่าง ๆ </p><p>11.มีการว่างแผนการใช้จ่ายเงินที่ดี</p><p>12.กำหนดนโยบายอย่างชัดเจน เหมาะสม ด้านการเงิน การบัญชี และการพัสดุ </p><p>13.การกำหนดนโยบาย การแต่งตั้ง การมอบหมาย การอนุมัติ การกำกับติดตาม การควบคุม ควรเป็นลายลักอักษร</p>

หมายเลขบันทึก: 568719เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 15:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 15:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จับได้ว่า ปัญหาคือ "ความไม่เข้าใจระเบียบ"

...ปัญหาในการปฏิบัติงานต่าง ๆ ส่วนใหญ่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในการวิเคราะห์วินิจฉัยตีความตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ เนื่องจาก กฎ ระเบียบ ดังกล่าวมีจำนวนมากเกินไปบางครั้งเกิดความขัดแย้งหรือความเสี่ยงต่อการ ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ หรืออาจไม่สอดคล้องกับสภาพแวดคล้องของระบบเศรษฐกิจ/สังคม/และการเมือง ที่เปลี่ยนแปลงไป...

 ...  เหตุที่ไม่เข้าใจเพราะ  "ไม่อ่านระเบียบ" ... เพราะคนไทยไม่ชอบอ่าน เราชอบคุยมากกว่า หากเราคุยกันเรื่องนี้บ้าง จะ "เข้าใจ" ได้ดี ไม่ยาก ... ผมมั่นใจว่าเป็ฯแบบนี้ครับ 

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท