การวิเคราะห์งบการเงินอย่างง่ายสำหรบส่วนราชการ


ปัญหาส่วนใหญ่ของผู้ทำบัญชีส่วนราชการคือ ผู้จัดทำส่วนใหญ่เรียนมาด้านการทำบัญชีรูปแบบธุรกิจเอกชน แล้วนำหลักการ

การจัดทำบัญชีเหล่านั้นมาปรับใช้กับกาทำงานส่วนงานราชการ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากอยู่พอสมควร ทั้งเรื่องการตีความตามระเบียบ รูปแบบบัญชี ชื่อบัญชีต่าง ๆ ที่ต้องปรับให้เกิดความเหมาะสมกับลักษณะรูปแบบธุรกิจการศึกษาและระบบราชการ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

การวิเคราะห์งบการเงินของส่วนราชการเป็นเรื่องที่ดิฉันมืดแปดด้านอยู่พักใหญ่จนดิฉันได้มีโอกาสเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร การวิเคราะห์งบการเงินอย่างง่ายสำหรับส่วนราชการ ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท กรุงเทพมหานคร จัดโดยศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรเพื่อสังคม : ส.พ.บ  โดยมีประเด็นที่น่าสนใจในการฝึกอบรมพอจะสรุปได้ดังนี้

<p>งบการเงิน ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน/งบดุลงบรายได้และค่าใช้จ่าย/งบกำไรขาดทุนงบกำไรสะสมและงบกระแสเงินสด</p><p>ขั้นตอนการวิเคราะห์งบการเงินประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้</p><p>1.กำหนดวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์</p><p>2.จัดเก็บรวบรวมข้อมูล</p><p>3.จัดวางข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน</p><p>4.เลือกเครื่องมือ(เทคนิค)มาใช้ในการวิเคราะห์</p><p>5.แปลความหมายและประเมินผลที่ได้จากการวิเคราะห์</p><p>เทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน</p><p>1.การย่อส่วนตามแนวดิ่ง (Common size)</p><p>2.การย่อส่วนตามแนวโน้ม (Trend)</p><p>3.การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios)</p><p>4.การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด (Cash Flow)</p><p>ประโยชน์ของการวิเคราะห์งบการเงิน</p><p>1.ช่วยในการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา</p><p>2.ควบคุม/เครื่องมือในการควบคุมผลการดำเนินงาน(ที่ใช้เงิน)</p><p>3.ช่วยเป็นแนวทางในการคาดการณ์ ประมาณการ กำหนดเป้าหมาย อนาคต</p><p>4.ช่วยในการวางแผน</p><p>5.ประกอลการวิเคราะห์ความเสี่ยงทางการเงินที่สำคัญ</p><p>ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิเคราะห์งบการเงิน</p><p>1.เพื่อวางแผนทางการเงิน</p><p>2.เป็นข้อมูลในการบริหารเงินสด ทรัพย์สิน และทุนของหน่วยงาน</p><p>3.นำข้อมูลจากงบการเงินไปจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไปบริหารให้เกิดประโยชน์สูงสุด</p><p>4.วางแผน การพยากรณ์ ในการลงทุนเพื่อดำเนินงาน</p><p>5.ประกอบการตัดสินใจในการดำเนินงาน การพัฒนาองค์กรและการบริหาร</p>

หมายเลขบันทึก: 568721เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 15:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 15:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมชอบ ๒ ประโยคแรก...

..ปัญหาส่วนใหญ่ของผู้ทำบัญชีส่วนราชการคือ ผู้จัดทำส่วนใหญ่เรียนมาด้านการทำบัญชีรูปแบบธุรกิจเอกชน แล้วนำหลักการ การจัดทำบัญชีเหล่านั้นมาปรับใช้กับกาทำงานส่วนงานราชการ...

แสดงให้เห็นว่า นี่คือ ความรู้ฝังลึก หรือ ความรู้ที่ "ตกผลึก" จากการปฏิบัติ ... คนที่เป็นผู้ปฏิบัติเท่านั้นที่จะเขียนได้ 

ขอบคุณมากครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท