ศาลสิทธิมนุษยชน


                                                                    ศาลสิทธิมนุษยชน

      สิทธิมนุษยชน (Human Right) หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ[1]

     ปัจจุบันมีปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนจำนวนมาก วิธีการแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งก็คือ กระบวนการคุ้มครองหรือกระบวนการยุติธรรมในศาล

     โดยศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปตั้งอยู่ที่เมืองสตราส์บูร์ก (Strasbourg) ประเทศฝรั่งเศสซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกของสภายุโรป ทั้ง 47 ประเทศได้เข้าเป็นภาคีและรับหลักการของอนุสัญญาฯ โดยศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปได้เปิดโอกาสให้ปัจเจกชนสามารถยื่นร้องเรียนจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ฝ่าฝืนจากบทบัญญัติที่กำหนดเป็นการคุ้มครองสิทธิในอนุสัญญาได้ ซึ่งการให้สิทธิแก่ปัจเจกชนในการยื่นคำร้องทุกข์ต่อศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปเกิดจากการจัดทำสนธิสัญญาของคณะมนตรีแห่งยุโรป เพื่อเข้ามาให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแก่ประชาชนภายในภูมิภาคดังกล่าว เรียกอนุสัญญานี้ว่า อนุสัญญายุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ค.ศ.1950 (Convention for the Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms)[2]

     ดังนั้นศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป จึงมีความสำคัญอย่างมากในการพิจารณาบรรทัดฐานและเกณฑ์ทางกฎหมายร่วมกันระหว่างรัฐภาคีของรัฐสภาแห่งยุโรป คำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนจึงอาจถือเป็นบรรทัดฐานในการนิยามและกำหนดขอบเขตการคุ้มครองสิทธิต่างๆให้มีความชัดเจนแน่นอนได้

     แต่ถึงแม้ว่าคำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปจะ “ไม่มีผลเหนือศาลภายใน” หรือ “ไม่มีผลลบล้างคำพิพากษาของศาลภายใน” ก็ตาม แต่ผลกระทบของคำพิพากษาที่สำคัญที่สุดก็คือ ทำให้ประเทศสมาชิกได้ปรับกฎหมายภายในของตนให้สอดคล้องกับอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

    ซึ่งคำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปนั้น ได้เป็นที่ยอมรับว่ามีความชัดเจนแน่นอน และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติตามได้ไม่เฉพาะเพียงแต่ในประเทศในภูมิภาคยุโรปเท่านั้น คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(UN Human Rights Committee) ก็ได้นำแนวคำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปไปปรับใช้ในการพิจารณาถึงพันธกรณีของรัฐภาคีองค์การสหประชาชาติ ในกรณีที่มีการร้องเรียนโดยรัฐหรือเอกชนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนโดยรัฐใดรัฐหนึ่งหรือไม่ด้วย

    เมื่อมองภาพโดยรวมแล้ว ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปนับเป็นตัวอย่างหนึ่งของความสำเร็จแห่งกลไกการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาคซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่า กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนก็ทำงานได้ผลในการบังคับใช้สิทธิมนุษยชนข้ามพรมแดน คำพิพากษาของศาลได้ซึมแทรกเข้าสู่ระบบกฎหมายของประเทศที่เป็นภาคีสมาชิก ก่อให้เกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายต่างๆ อันยังประโยชน์แก่คนหรือกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสหรือเสียเปรียบในสังคม รวมทั้งเป็นตัวอย่างบรรทัดฐานในการใช้ตีความสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานต่างๆ ขององค์การต่างๆ ในองค์การสหประชาชาติหรือองค์การในระดับภูมิภาคอื่นๆ[3]


[1] ค้นหาเมื่อ:17 พฤษภาคม 2557 :จากเว็บไซต์: http://kittayaporn28.wordpress.com/

[2] ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป.” [ระบบออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://digi.library.tu.ac.th/thesis/la/1118/03ABSTRACT.pdfสืบค้น 17 พฤษภาคม 2557

[3] Mr. อานันท์ รัตนเจียเจริญ:รู้จักมั้ยศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป:ค้นหาเมื่อ:17 พฤษภาคม 2557 :จากเว็บไซต์: http://www.l3nr.org/posts/465646

หมายเลขบันทึก: 568658เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 06:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 06:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท