คนต่างด้าวในประเทศไทย


                                                           คนต่างด้าวในประเทศไทย

         คนต่างด้าว หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทยทำงาน หมายถึง การทำงานโดยใช้กำลังกายหรือความรู้ด้วยประสงค์ค่าจ้าง หรือประโยชน์อื่นใดหรือไม่ก็ตาม[1]
        ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 23 บัญญัติว่า (1) ทุกคนมีสิทธิในการทำงาน ในการ เลือกงานโดยอิสระ ในเงื่อนไขที่ยุติธรรมและเอื้ออำนวยต่อการทำงาน และในการคุ้มครองต่อการว่างงาน (2) ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับค่าจ้างที่เท่าเทียมกัน สำหรับงานที่เท่าเทียมกัน โดย ปราศจากการเลือกปฏิบัติใด (3) ทุกคนที่ทำงานมีสิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทนที่ยุติธรรมและเอื้ออำนวยต่อการประกันความเป็นอยู่อันควรค่าแก่ศักดิ์ศรีของมนุษย์สำหรับตนเองและครอบครัว และหากจำเป็นก็จะได้รับการคุ้มครองทางสังคมในรูปแบบอื่นเพิ่มเติมด้วย[2]
        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550มาตรา 43 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
         จากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 ดังนั้นมนุษย์ทุกคน จึงมีสิทธิในการประกอบอาชีพเพื่อหาเลี้ยงตนอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนพึงมี
         ดังนั้นคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยย่อมมีสิทธิเสรีภาพที่จะประกอบอาชีพ ทั้งนี้ได้มีการจำกัดอาชีพบางอาชีพไม่ให้คนต่างด้าวทำ เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ คนต่างด้าวจึงไม่สามารถจะประกอบอาชีพในไทยได้เนื่องมาด้วยสาเหตุที่ว่าเพื่อรักษา ระบบเศรษฐกิจและอัตรางานไว้เพื่อให้พลเมืองของรัฐ โดยได้มีการจำกัดในตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. ๒๕๒๒
          อย่างในกรณีดังเช่น น้องดวงตาได้รับการบันทึกลงในทะเบียนราษฎรไทยประเภทนักเรียนนักศึกษาไร้สัญชาติ ก ซึ่งตอนนี้น้องเป็นนักศึกษาในคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่น้องดวงตายังคงไร้สัญชาติอยู่ แม้ว่าจะมีสิทธิในสัญชาติเมียนมาร์ตามหลักดินแดน คือเกิดในประเทศเมียนมาร์ และตามหลักสืบสายโลหิต คือบุพการีของน้องเป็นคนเมียนมาร์ แต่ทางการเมียนมาร์ยังไม่ได้รับรองสิทธิในสัญชาติของน้องดวงตาแต่อย่างใด
          น้องดวงตาเป็นคนเรียนดี แต่ไม่มีสัญชาติไทย ทำให้น้องอาจขาดโอกาสในการประกอบอาชีพบางอาชีพได้ ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. ๒๕๒๒
         จะเห็นได้ว่า การจำกัดอาชีพคนต่างด้าวบางอชีพเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง การจำกัดเสรีภาพมีได้แต่เท่าที่จำเป็น


[1] ค้นหาเมื่อ 16พฤษภาคม 2557: จากเว็บไซต์: http://115.31.137.49/chumphon/tanagdaw_page1.html

[2] ค้นหาเมื่อ 16พฤษภาคม 2557: จากเว็บไซต์: http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/book.pdf

หมายเลขบันทึก: 568656เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 06:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 06:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท