ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย


                                         ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย

       ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์หมายถึง ความมีคุณค่าในตัวตน คุณสมบัติของชีวิตที่มีเหนือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ สำหรับผมแล้วเห็นว่าความสามารถที่จะเลือกและตั้งใจเป็นของตนเอง ถือว่าเป็นศักดิ์ศรีอันสูงส่ง[1]

 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2540 และ ปี 2550

มาตรา 4 “ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง ”
มาตรา 26 “ การใช้อำนาจ โดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ สิทธิและ
เสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ “
มาตรา 28 “ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิ และ
เสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือ ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน “[2]

    จากกรณีศึกษา น้องนิก หรือนายนิวัฒน์ จันทร์คำอายุราว 19ปี ปัจจุบันพักอาศัยอยู่ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งยังไม่ได้รับการรับรองสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรของรัฐใดเลย น้องนิกจึงเป็นคนไร้รัฐโดยสิ้นเชิง น้องนิกเข้ามาในประเทศไทยเมื่ออายุประมาณ 3-4 ขวบ มารดาของน้องนิกเป็นคนไทยลื้อไร้รัฐไร้สัญชาติ ในเวลาที่เดินทางเข้าประเทศไทย บิดามารดาและน้องนิกไม่มี   หนังสือเดินทางหรือได้รับการตรวจลงตราใดๆทั้งสิ้น จึงเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย แต่ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองไม่สามารถดำเนินคดีกับน้องนิกได้ เนื่องจากน้องนิกยังไม่มีเจตนาในการเข้าเมืองผิดกฎหมาย เนื่องจากอายุเพียง3-4 ปีเท่านั้น ได้แต่เพียงติดสอยห้อยตามพ่อแม่เท่านั้นทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสิทธิที่น้องนิกจะได้รับจากรัฐไทย โดยเฉพาะสิทธิในการศึกษา เนื่องจากน้องนิกต้องการที่จะศึกษาต่อในประเทศไทย[3]

   เมื่อน้องนิกเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย หรือเป็นคนต่างด้าวโดยไม่มีสัญชาติไทย รัฐจึงปฎิเสธการรับน้องนิก ในการเข้าศึกษาในประเทศไทย การกระทำของรัฐดังกล่าว เป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานตามปฏิญญาสากล ข้อที่ 26 ที่วางหลักไว้ว่า

(1) บุคคลมีสิทธิในการศึกษา การศึกษาจะเป็นสิ่งที่ให้เปล่าโดยไม่คิดมูลค่า อย่างน้อยที่สุดในขั้นประถมศึกษาและขั้นพื้นฐาน ขั้นประถมศึกษาให้เป็นการศึกษาภาคบังคับ ขั้นเทคนิคและขั้นประกอบอาชีพเป็นการศึกษาที่จะต้องจัดมีขึ้นโดยทั่วๆ ไป และขั้นสูงเป็นขั้นที่จะเปิดให้ทุกคนเท่ากันตามความสามารถ

(2) การศึกษาจะมุ่งไปในทางพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์อย่างเต็มที่และเพื่อเสริมพลังเคารพต่อสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นมูลฐานให้แข็งแกร่ง ทั้งจะมุ่งเสริมความเข้าใจ ขันติ และมิตรภาพในระหว่างประชาชาติ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา และจะมุ่งขยายกิจกรรมของสหประชาชาติเพื่อการธำรงสันติภาพ[4]

    จึงสรุปได้ว่า ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นคนต่างด้าว หรือมีสัญชาติใด หรือการเป็นคนเข้าเมืองที่ผิดกฎหมาย ดังกรณีของน้องนิก หรือนายนิวัฒน์ จันทร์คำ รัฐต้องปฎิบัติโดยคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียมตามรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทยและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


[1] ค้นหาเมื่อ 14 พฤษภาคม 2557:เว็บไซต์: http://www.romyenchurch.org/

[2] ค้นหาเมื่อ 14 พฤษภาคม 2557:เว็บไซต์: http://www.ongkarn-leio.org/knonwlege.php

[3] ค้นหาเมื่อ 14 พฤษภาคม 2557:เว็บไซต์: http://www.baanjomyut.com/library/childright/

[4] ค้นหาเมื่อ 14 พฤษภาคม 2557:เว็บไซต์: http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/book.pdf

หมายเลขบันทึก: 568657เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 06:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 06:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท