สิทธิในเสรีภาพของคนต่างด้าว


เสรีภาพคือสภาวะที่ปัจเจกชนมีความคุ่มกันต่อการใช้อำนาจหน้าที่ตามอำเภอใจ หรือความอิสระทางกายภาพในการดำรงชีวิตอยู่เป็นมนุษย์ปกติ นับตั้งแต่การปฏิสนธิออกจากครรภ์มารดา โดยไม่ละเมิดความอิสระทางกายภาพของบุคคลผู้อื่นควรจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมเช่นกัน[1]ซึ่งสิทธิในการที่จะมีเสรีภาพที่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนรับรองนั้นบุคคลต่างก็มีจากการเป็นมนุษย์ ดังนั้นคนทุกคนจึงเป็นผู้ทรงสิทธิในเสรีภาพ

คนต่างด้าวหมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย[2]

กรณีศึกษา นายสาธิต เซกัลป์ ซึ่งเป็นนักธุรกิจสิ่งพิมพ์ชาวอินเดียที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เคยดำรงตำแหน่งประธานหอการค้าอินเดีย-ไทย หอการค้าไทย-อิสราเอล และประธานสมาคมนักธุรกิจอินเดีย-ไทย

เซกัลเกิดที่กรุงเดลี ประเทศอินเดีย เข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่อายุ 5 ปี ครอบครัวเป็นชาวไทยฮินดูเชื้อสายอินเดียจากรัฐปัญจาบจบการศึกษาจากวิทยาลัย Hans Raj มหาวิทยาลัยเดลี เคยทำงานที่หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ก่อนจะมาเปิดธุรกิจนิตยสารภาษาอังกฤษเป็นของตัวเอง โดยที่นายสาธิตนั้นยังถือสัญชาติอินเดียอยู่[3]

การที่ สาธิต เซกัล ถือสัญชาติอินเดียอยู่ในประเทศไทยนั้น จึงถือได้ว่าเขาเป็นคนต่างด้าวในประเทศไทย แต่ก็ยังคงมีสิทธิมนุษยชนเหมือนกับมนุษย์ทุกคน สืบเนื่องจากศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) ประสานไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ให้เนรเทศ นายสาธิต เซกัล นายกสมาคมธุรกิจอินเดีย-ไทย ย่านสีลม ซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าวออกจากประเทศโดยให้เหตุผลว่า นายสาธิต เข้าร่วมเป็นแกนนำ กปปส. กระทำความผิดฝ่าฝืนพระราชกำหนดฉุกเฉินนั้น

เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557 นายสาธิต เซกัล นายกสมาคมธุรกิจอินเดีย-ไทย กล่าวถึงประเด็นนี้ว่าตั้งแต่มีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินตนเองก็ไม่เคยไปร่วมชุมนุมทางการเมืองอีกเลย จึงไม่เข้าใจว่าตนเองทำผิดอะไร ทั้งนี้ แม้ตนจะถือพาสปอร์ตอินเดีย แต่ก็อยู่เมืองไทยมากว่า 50 ปีแล้ว อยู่มาตั้งแต่อายุ 5 ขวบ ถึงจะไม่ได้โอนมาสัญชาติไทย แต่ที่เมืองไทยก็คือบ้านและแผ่นดินของตน และตนก็เทิดทูนในสถาบันพระมหากษัตริย์[4]

เมื่อพิจารณาจากกรณีดังกล่าว สามารถแบ่งแยกประเด็นออกมาได้ 2 ประเด็น กล่าวคือ อำนาจในการเนรเทศคนต่างด้าว และเนรเทศโดยอาศัยบทกฎหมายใดรองรับ

ประเด็นที่ หนึ่ง อำนาจในการเนรเทศคนต่างด้าว

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปจากนักกฎหมายระหว่างประเทศและทางปฎิบัติของรัฐว่า อำนาจ (หรือนักกฎหมายหลายคนใช้คำว่า “สิทธิ”ที่ติดตัวมากับรัฐ หรือ inherent right) ในการเนรเทศคนต่างด้าวออกนอกประเทศตนนั้นเป็นของรัฐกล่าวอีกนัยหนึ่ง การเนรเทศเป็นการแสดงออกซึ่งอำนาจอธิปไตยของรัฐสมัยใหม่ หลักที่ว่า รัฐมีอำนาจเนรเทศคนต่างด้าวได้นั้นมิใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ซึ่งการเนรเทศ เป็นการใช้อำนาจทางบริหาร เท่านั้นมิใช่เป็นอำนาจของ นิติบัญญัติและตุลาการ การเนรเทศจึงทำในรูปแบบ คำสั่งทางปกครอง

จากหลักการอำนาจของรัฐข้างต้นจะเห็นได้ว่า รัฐ ยังคงมีอำนาจในการเนรเทศบุคคลที่มิใช่พลเมืองของตนออกนอกประเทศได้ ซึ่งในกรณีของคุณสาธิต เซกัลป์ ซึ่งมิใช่พลเมืองของรัฐไทยก็เช่นกันที่รัฐไทยก็ดำรงไว้ซึ่งอำนาจในการเนรเทศคุณสาธิต ออกนอกประเทศได้เช่นกัน แต่ถึงอย่างไรก็ดี การเนรเทศคนต่างด้าวออกจากรัฐมิใช่ว่าจะทำยังไงก็ได้ การเนรเทศจำต้องเป็นไปอย่างมีเหตุมีผล ไม่สามารถใช้อำนาจเนรเทศตามอำเภอใจโดยปราศจาก เหตุอันเหมาะสม มิได้ ดังนั้นประเด็นที่ว่า รัฐมีอำนาจในการเนรเทศคุณสาธิตหรือไม่นั้น คำตอบคือมีอำนาจสามารถทำได้ จึงจำเป็นต้องไปพิจารณาในประเด็นถัดไป ประเด็นที่สอง เนรเทศโดยอาศัยบทกฎหมายใดรองรับ

ข้อเท็จจริงปรากฏว่า กรณีของคุณสาธิต เป็นการเพิกถอนการอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เป็นการพิจารณาตามหลักเกณฑ์และกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดย พรก.ฉุกเฉินบัญญัติให้ใช้กฎหมายคนเข้าเมืองโดยอนุโลม กล่าวคือ ตามความหมายที่แท้จริงของการเพิกถอนการอนุญาตให้ที่พักพิงในราชอาณาจักรก็คือการส่งตัวกลับ มิใช่การเนรเทศ ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติถึงการเนรเทศเป็นเฉพาะอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม แม้เป็นการส่งตัวกลับ ก็ต้องพิจารณาว่า การกระทำของคุณสาธิต เข้าเหตุที่จะต้องถูกส่งตัวกลับหรือไม่ด้วย

การที่คุณ สาธิต เซกัล ได้มีการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของตน โดยการเป็นแกนนำ กลุ่ม กปปส. ปราศรัย และ พูดในที่สาธารณะ เพื่อวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล นายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะถือได้ว่าเป็นการทำผิด เข้าข้อกำหนดในการส่งตัวกลับหรือไม่? ซึ่งตาม รัฐธรรมนูญไทย มาตรา 45 ก็ได้วางหลักถึงสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นไว้อย่างชัดเจน

มาตรา 45 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นการจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัว หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน[5]

ประกอบกับปฏิญญาสากล ข้อ 18 -20 ก็ด้วางหลักให้เห็นชัดถึง การแสดงความคิดเห็นส่วนตัวที่อยู่เหนือการควบคุมจากผู้ใด แม้ว่าจะมิใช่พลเมืองของรัฐนั้นก็ตาม

ข้อ 18 บุคคลมีสิทธิในเสรีภาพแห่งความคิด มโนธรรม และศาสนา สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะเปลี่ยนศาสนา หรือความเชื่อถือ และเสรีภาพ ที่จะแสดงให้ศาสนาหรือความเชื่อถือประจักษ์ในรูปของการสั่งสอน การปฏิบัติกิจความเคารพสักการะบูชา สวดมนต์ และการถือปฏิบัติพิธีกรรม ไม่ว่าโดยลำพังตนเอง หรือร่วมกับผู้อื่นในประชาคมและในที่สาธารณะหรือส่วนตัว

ข้อ 19 บุคคลมีสิทธิในเสรีภาพแห่งความเห็นและการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะยึดมั่นในความเห็นโดยปราศจากการแทรกสอดและที่จะแสวงหารับ ตลอดจนแจ้งข่าว รวมทั้งความคิดเห็นโดยผ่านสื่อใดๆ และโดยมิต้องคำนึงถึงเขตแดน

ข้อ20 (1) บุคคลมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการชุมนุม และการสมาคมโดยสงบ (2) การบังคับให้บุคคลเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมจะทำมิได้[6]

จากข้อมูลข้างต้นที่ว่า แม้นายสาธิต เซกัลจะเป็นคนต่างด้าวที่ออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองโดยการเป็นแกนนำ กปปส. แต่จากทั้งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 19 รวมทั้งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา45นั้น ทำให้เห็นว่าเขาก็สามารถแสดงออกทางได้ความคิดได้เท่าเทียมกับคนทั่วไป จากกรณีนี้รัฐบาลไทยควรต้องทบทวนการใช้กฎหมายเกี่ยวกับการเนรเทศอีกครั้ง เพราะจะส่งผลถึงึรต่างด้าวในอนาคตด้วย


[1] th.wikipedia.org/wiki/เสรีภาพ

[2] http://www.mol.go.th/academician/basic_alien

[3] th.wikipedia.org/wiki/สาธิต_เซกัล

[4] http://hilight.kapook.com/view/97428

[5] http://www.ombudsman.go.th/10/documents/law/Constitution2550.pdf

[6] http://www.l3nr.org/posts/367042

หมายเลขบันทึก: 568618เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 01:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท